AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รักษาหาย-ป้องกันได้!

ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รักษาหาย-ป้องกันได้

ปากแหว่งและเพดานโหว่ หรือมักเรียกรวมกันว่า ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่  (Cleft lip and cleft palate) ไม่ใช่โรคติดต่อแต่เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด ของบริเวณช่องปากและใบหน้าของเด็ก คือเป็นลักษณะมีรอยแยกบริเวณริมฝีปาก บริเวณเพดานปาก หรือบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก

ภาวะปากแหว่งอาจเกิดควบคู่กับการมีรอยแยกกระดูกกรามบน และ/หรือเหงือกบน ส่วนภาวะเพดานโหว่เกิดขึ้นเมื่อเพดานปากทั้งสองด้านเชื่อมต่อกันไม่สนิท ทำให้เกิดรอยแยกระหว่างเพดานปาก ซึ่ง ภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสองข้างหรือข้าวเดียว และสามารถเกิดภาวะทั้งปากแหว่งและเพดานโหว่ได้ในคนๆ เดียวกัน โดยพบบ่อยเป็นอันดับ 4 ของความผิดปกติในเด็กแรกเกิดหรือประมาณ 1 ต่อ 700 ของเด็กเกิดใหม่

ปากแหว่ง

ถ้ารอยแยกนั้นไม่ถึงส่วนเพดานปาก จะเรียกความผิดปกตินี้ว่าปากแหว่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

– ปากแหว่งแบบไม่สมบูรณ์ (Unilateral incomplete) คือ แหว่งเฉพาะที่ริมฝีปาก

– ปากแหว่งแบบสมบูรณ์ (Unilateral complete) คือ แหว่งเข้าไปถึงรูจมูก

– ปากแหว่งข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง (Bilateral complete)

ซึ่งกรณีปากแหว่งรูปแบบหนึ่งเรียกว่า microform cleft จะมีความรุนแรงน้อยกว่า มีลักษณะเป็นรอยเล็กๆ บนริมฝีปากหรือมีลักษณะคล้ายแผลเป็นจากริมฝีปากไปยังจมูก ในบางรายกล้ามเนื้อหูรูดปากใต้แผลเป็นนั้นอาจผิดปกติซึ่งต้องได้รับการผ่าตัด ทารกที่เกิดมามีความผิดปกติดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการประเมินความรุนแรงจากแพทย์ด้านใบหน้าและปากทันที

เพดานโหว่

เป็นภาวะที่แผ่นกระดูกของกะโหลกศีรษะที่ประกอบเป็นเพดานแข็ง2 แผ่นไม่เชื่อมกัน อาจมีช่องโหว่ของเพดานอ่อนได้ด้วยเช่นกัน แต่ผู้ป่วยส่วนมากมักมีปากแหว่งร่วมด้วย แบ่งออกเป็น

– เพดานโหว่แบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete cleft palate) คือ โหว่เฉพาะส่วนเพดานอ่อนด้านหลังเท่านั้น

– เพดานโหว่แบบสมบูรณ์ คือ โหว่ตั้งแต่ลิ้นไก่ถึงเพดานแข็งด้านหน้าและถึงเหงือกด้านหน้า ซึ่งกรณีนี้อาจโหว่ได้ข้างเดียว (Unilateral complete lip and palate) และสองข้าง (Bilateral complete lip and palate)

  1. ปากแหว่งเพดานโหว่ที่ร่วมกับความผิดปกติของส่วนอื่น ๆ ของใบหน้า เช่น กลุ่มความพิการใบหน้า ชนิดต่าง ๆ ความพิการของโรคที่เกี่ยวข้องกับขากรรไกรเล็กผิดปกติ เป็นต้น

อ่าน >> สาเหตุของโรค และวิธีรักษา-ป้องกัน คลิกเลย!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เกิดขึ้นเมื่อใด

ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นความพิการแต่กำเนิด และเกิดขึ้นในช่วงพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์มารดาในระหว่างสัปดาห์ที่สี่และหกของการตั้งครรภ์ ในระหว่างที่โครงสร้างบนใบหน้าของตัวอ่อนกำลังพัฒนา หากกระดูกไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์ก็จะเกิดความผิดปกติขึ้น

สาเหตุของการเกิด ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

มาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมภายในครรภ์มารดาเป็นสาเหตุร่วมกันของความผิดปกติ

♣ พันธุกรรม การถ่ายทอดลักษณะจาก พ่อ แม่ ไปยังลูก

1.1 เกิดความผิดปกติของยีน ซึ่งยีนทำหน้าที่นำข้อมูลทางพันธุกรรมจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์ หนึ่ง เพื่อควบคุมภาวะการแบ่งตัวและการเจริญเติบโต ของเซลล์

1.2 เกิดความผิดปกติของโครโมโซม โดยปกติมนุษย์จะมี 46 โครโมโซม แบ่งเป็นโครโมโซมร่างกาย 44 โครโมโซม และโครโมโซมเพศ 2 โครโมโซม ซึ่งถ้าหากมี จำนวนโครโมโซมลดลงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต แต่หากมี โครโมโซมเพิ่มขึ้นอาจจะทำให้เกิดความผิด ปกติแต่กำเนิดได้

♣ ปัจจัย ทางสิ่งแวดล้อม

หมายถึง ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวทารกที่มีผลต่อพัฒนาการของทารกขณะอยู่ในครรภ์ มารดา ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ เช่น ความเจ็บป่วยของมารดาขณะตั้งครรภ์ ภาวะขาดวิตามินและสารโฟเลท การได้รับยาบางชนิด (เช่น ยากันชัก) การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดปากแหว่งเพดานโหว่ แก่ทารกในครรภ์ได้มากขึ้นเป็น 1.5-3 เท่า

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ผลกระทบกับเด็ก

♠ ด้านร่างกาย

♠ ด้านจิตใจ

เมื่อเด็กโตขึ้นจะรู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อยไม่กล้าที่จะไปโรงเรียนหรือเล่นกับเพื่อน ๆ กลัวเพื่อนล้อ  จึงเก็บตัวอยู่บ้าน  หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องอาจทำให้ปัญหาอื่นตามมา  เช่นโรคซึมเศร้า  รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ  ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง

คลิกชมคลิป >> การวินิฉัยโรค จากห้องตรวจโรงพยาบาลศิริราชโดยผศ.นพ.ประภัทร ซึ่งอัลตราซาวนด์พบทารกในครรภ์มีอาการปากแหว่ง

และ ข้อมูลการรักษา พร้อมวิธีการป้องกัน คลิกหน้า 3

♥ รักษา ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ อย่างไร?

เนื่องจากเด็กปากแหว่งเพดานโหว่มีปัญหาต่างๆหลายด้านดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ปัญหาของเด็ก การรักษาบำบัดจึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก สหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ ศัลยแพทย์ตกแต่ง, กุมารแพทย์และพยาบาล, นักแก้ไขการพูด, ทันตแพทย์, นักโสตสัมผัสวิทยา/โสต ศอ นาสิกแพทย์, วิสัญญีแพทย์ และจิตแพทย์/นักจิตวิทยา เป็นต้น โดยการดูแลรักษาของทีมสหสาขาวิชาชีพ จะเริ่มตั้งแต่ทราบว่าเด็กมีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ จากวินิจฉัยขณะเด็กอยู่ในครรภ์ หรือ แรกคลอด โดยมีวัตถุประสงค์ในการรักษาเพื่อให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งด้านโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่างๆ มีการเจริญเติบโต จิตใจ และสังคมที่ดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

√ ป้องกัน ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ อย่างไร?

การป้องกันการเกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ทำได้โดยหลีกเลี่ยงสาเหตุที่เป็นปัจจัยภายนอก โดยขณะมารดาตั้งครรภ์ควรงดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาระหว่างตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร ทุกครั้ง การออกกำลังกายพอควรกับสุขภาพการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การลดความเครียด และที่สำคัญคือ ต้องรับประทานอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม ตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ โดยเฉพาะอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ และเน้นอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง เช่น บรอคโคลี เมล็ดธัญพืช ตับ เป็นต้น

คุณแม่ ควรได้รับวิตามิน บี 6 วิตามินบี 12 ธาตุสังกะสี และกรดโฟลิค ก่อนการปฏิสนธิในครรภ์ หรือก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 2 เดือน จนกระทั่ง 3 เดือนหลังการตั้งครรภ์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล เพื่อให้การเกิดการสร้างอวัยวะของโครงสร้างเพดานในตัวอ่อนของทารกในครรภ์ได้สมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ได้

ดังนั้นหากวางแผนจะตั้งครรภ์ มารดาควรปรึกษาแพทย์ในการใช้ยาวิตามินต่างๆ และกรด โฟลิคตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่อยู่แล้ว การมีลูกคนต่อไปควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์โดยตรงอีกทางหนึ่งด้วย


ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่ มีคำถามเกี่ยวการดูแลรักษาในเรื่องของภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ สามารถสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ “ศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า”  หรือสนใจบริจาคทุนสนับสนุนผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่ด้อยโอกาสได้ที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการตะวันฉาย (ศูนย์ตะวันฉาย) หรือ มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ. เมือง จ.ขอนแก่น 40002, โทร. 043-363123 หรือ 081-1851151 Fax: 043-202558 หรือ Website: http://www.tawanchai-foundation.org/


ขอบคุณข้อมูลจาก www.learners.in.th , haamor.com , healthfood.muslimthaipost.com , www.operationsmile.or.th

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล