ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รักษาหาย-ป้องกันได้! - amarinbabyandkids
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รักษาหาย-ป้องกันได้!

event
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

♥ รักษา ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ อย่างไร?

เนื่องจากเด็กปากแหว่งเพดานโหว่มีปัญหาต่างๆหลายด้านดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ ปัญหาของเด็ก การรักษาบำบัดจึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก สหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ ศัลยแพทย์ตกแต่ง, กุมารแพทย์และพยาบาล, นักแก้ไขการพูด, ทันตแพทย์, นักโสตสัมผัสวิทยา/โสต ศอ นาสิกแพทย์, วิสัญญีแพทย์ และจิตแพทย์/นักจิตวิทยา เป็นต้น โดยการดูแลรักษาของทีมสหสาขาวิชาชีพ จะเริ่มตั้งแต่ทราบว่าเด็กมีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ จากวินิจฉัยขณะเด็กอยู่ในครรภ์ หรือ แรกคลอด โดยมีวัตถุประสงค์ในการรักษาเพื่อให้เด็กมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งด้านโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่างๆ มีการเจริญเติบโต จิตใจ และสังคมที่ดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

√ ป้องกัน ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ อย่างไร?

การป้องกันการเกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ทำได้โดยหลีกเลี่ยงสาเหตุที่เป็นปัจจัยภายนอก โดยขณะมารดาตั้งครรภ์ควรงดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาระหว่างตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร ทุกครั้ง การออกกำลังกายพอควรกับสุขภาพการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การลดความเครียด และที่สำคัญคือ ต้องรับประทานอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม ตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ โดยเฉพาะอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ และเน้นอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง เช่น บรอคโคลี เมล็ดธัญพืช ตับ เป็นต้น

คุณแม่ ควรได้รับวิตามิน บี 6 วิตามินบี 12 ธาตุสังกะสี และกรดโฟลิค ก่อนการปฏิสนธิในครรภ์ หรือก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 2 เดือน จนกระทั่ง 3 เดือนหลังการตั้งครรภ์ หรือตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล เพื่อให้การเกิดการสร้างอวัยวะของโครงสร้างเพดานในตัวอ่อนของทารกในครรภ์ได้สมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ได้

ดังนั้นหากวางแผนจะตั้งครรภ์ มารดาควรปรึกษาแพทย์ในการใช้ยาวิตามินต่างๆ และกรด โฟลิคตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ สำหรับพ่อแม่ที่มีลูกที่เป็นปากแหว่งเพดานโหว่อยู่แล้ว การมีลูกคนต่อไปควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์โดยตรงอีกทางหนึ่งด้วย


ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่ มีคำถามเกี่ยวการดูแลรักษาในเรื่องของภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ สามารถสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ “ศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้า”  หรือสนใจบริจาคทุนสนับสนุนผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่ด้อยโอกาสได้ที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการตะวันฉาย (ศูนย์ตะวันฉาย) หรือ มูลนิธิตะวันฉาย เพื่อผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่และพิการทางศีรษะและใบหน้า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ. เมือง จ.ขอนแก่น 40002, โทร. 043-363123 หรือ 081-1851151 Fax: 043-202558 หรือ Website: http://www.tawanchai-foundation.org/


ขอบคุณข้อมูลจาก www.learners.in.th , haamor.com , healthfood.muslimthaipost.com , www.operationsmile.or.th

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up