ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รักษาหาย-ป้องกันได้! - amarinbabyandkids
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รักษาหาย-ป้องกันได้!

event
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เกิดขึ้นเมื่อใด

ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ เป็นความพิการแต่กำเนิด และเกิดขึ้นในช่วงพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์มารดาในระหว่างสัปดาห์ที่สี่และหกของการตั้งครรภ์ ในระหว่างที่โครงสร้างบนใบหน้าของตัวอ่อนกำลังพัฒนา หากกระดูกไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์ก็จะเกิดความผิดปกติขึ้น

สาเหตุของการเกิด ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

มาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมภายในครรภ์มารดาเป็นสาเหตุร่วมกันของความผิดปกติ

♣ พันธุกรรม การถ่ายทอดลักษณะจาก พ่อ แม่ ไปยังลูก

1.1 เกิดความผิดปกติของยีน ซึ่งยีนทำหน้าที่นำข้อมูลทางพันธุกรรมจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์ หนึ่ง เพื่อควบคุมภาวะการแบ่งตัวและการเจริญเติบโต ของเซลล์

1.2 เกิดความผิดปกติของโครโมโซม โดยปกติมนุษย์จะมี 46 โครโมโซม แบ่งเป็นโครโมโซมร่างกาย 44 โครโมโซม และโครโมโซมเพศ 2 โครโมโซม ซึ่งถ้าหากมี จำนวนโครโมโซมลดลงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต แต่หากมี โครโมโซมเพิ่มขึ้นอาจจะทำให้เกิดความผิด ปกติแต่กำเนิดได้

♣ ปัจจัย ทางสิ่งแวดล้อม

หมายถึง ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกตัวทารกที่มีผลต่อพัฒนาการของทารกขณะอยู่ในครรภ์ มารดา ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ เช่น ความเจ็บป่วยของมารดาขณะตั้งครรภ์ ภาวะขาดวิตามินและสารโฟเลท การได้รับยาบางชนิด (เช่น ยากันชัก) การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ ปัจจัยเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดปากแหว่งเพดานโหว่ แก่ทารกในครรภ์ได้มากขึ้นเป็น 1.5-3 เท่า

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ผลกระทบกับเด็ก

♠ ด้านร่างกาย

  • จะมีปัญหาด้านการดูดกลืน ทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  • โอกาส ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจง่ายเนื่องจากขณะที่เด็กดูดอาจสำลักน้ำนมเข้าทาง เดินหายใจทำให้เกิดการปอดบวม นอกจากนี้ยังติดเชื้อในหูชั้นกลางได้ง่ายเพราะกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เปิด – ปิด ท่อที่ต่อระหว่างจมูกและหูไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างปกติ
  • จะมีความผิดปกติทางด้านการพูดเด็กจะออกเสียงสระและพยัชนะไม่ชัดเวลาพูดเสียงมักขึ้นจมูก
  • จะ มีโครงสร้างของใบหน้าที่ผิดรูปการเรียงตัวของฟัน การสบฟัน  และการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรผิดปกติ  รวมทั้งสุขภาพอนามัยช่องปากไม่ดี

♠ ด้านจิตใจ

เมื่อเด็กโตขึ้นจะรู้สึกว่าตัวเองมีปมด้อยไม่กล้าที่จะไปโรงเรียนหรือเล่นกับเพื่อน ๆ กลัวเพื่อนล้อ  จึงเก็บตัวอยู่บ้าน  หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องอาจทำให้ปัญหาอื่นตามมา  เช่นโรคซึมเศร้า  รู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ  ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง

คลิกชมคลิป >> การวินิฉัยโรค จากห้องตรวจโรงพยาบาลศิริราชโดยผศ.นพ.ประภัทร ซึ่งอัลตราซาวนด์พบทารกในครรภ์มีอาการปากแหว่ง

และ ข้อมูลการรักษา พร้อมวิธีการป้องกัน คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up