ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รักษาหาย-ป้องกันได้! - amarinbabyandkids
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ รักษาหาย-ป้องกันได้!

event
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่
ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

ปากแหว่งและเพดานโหว่ หรือมักเรียกรวมกันว่า ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่  (Cleft lip and cleft palate) ไม่ใช่โรคติดต่อแต่เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด ของบริเวณช่องปากและใบหน้าของเด็ก คือเป็นลักษณะมีรอยแยกบริเวณริมฝีปาก บริเวณเพดานปาก หรือบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก

ภาวะปากแหว่งอาจเกิดควบคู่กับการมีรอยแยกกระดูกกรามบน และ/หรือเหงือกบน ส่วนภาวะเพดานโหว่เกิดขึ้นเมื่อเพดานปากทั้งสองด้านเชื่อมต่อกันไม่สนิท ทำให้เกิดรอยแยกระหว่างเพดานปาก ซึ่ง ภาวะปากแหว่งและเพดานโหว่ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสองข้างหรือข้าวเดียว และสามารถเกิดภาวะทั้งปากแหว่งและเพดานโหว่ได้ในคนๆ เดียวกัน โดยพบบ่อยเป็นอันดับ 4 ของความผิดปกติในเด็กแรกเกิดหรือประมาณ 1 ต่อ 700 ของเด็กเกิดใหม่

ปากแหว่ง

ถ้ารอยแยกนั้นไม่ถึงส่วนเพดานปาก จะเรียกความผิดปกตินี้ว่าปากแหว่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

– ปากแหว่งแบบไม่สมบูรณ์ (Unilateral incomplete) คือ แหว่งเฉพาะที่ริมฝีปาก

– ปากแหว่งแบบสมบูรณ์ (Unilateral complete) คือ แหว่งเข้าไปถึงรูจมูก

– ปากแหว่งข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง (Bilateral complete)

ปากแหว่ง

ซึ่งกรณีปากแหว่งรูปแบบหนึ่งเรียกว่า microform cleft จะมีความรุนแรงน้อยกว่า มีลักษณะเป็นรอยเล็กๆ บนริมฝีปากหรือมีลักษณะคล้ายแผลเป็นจากริมฝีปากไปยังจมูก ในบางรายกล้ามเนื้อหูรูดปากใต้แผลเป็นนั้นอาจผิดปกติซึ่งต้องได้รับการผ่าตัด ทารกที่เกิดมามีความผิดปกติดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการประเมินความรุนแรงจากแพทย์ด้านใบหน้าและปากทันที

เพดานโหว่

เป็นภาวะที่แผ่นกระดูกของกะโหลกศีรษะที่ประกอบเป็นเพดานแข็ง2 แผ่นไม่เชื่อมกัน อาจมีช่องโหว่ของเพดานอ่อนได้ด้วยเช่นกัน แต่ผู้ป่วยส่วนมากมักมีปากแหว่งร่วมด้วย แบ่งออกเป็น

– เพดานโหว่แบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete cleft palate) คือ โหว่เฉพาะส่วนเพดานอ่อนด้านหลังเท่านั้น

– เพดานโหว่แบบสมบูรณ์ คือ โหว่ตั้งแต่ลิ้นไก่ถึงเพดานแข็งด้านหน้าและถึงเหงือกด้านหน้า ซึ่งกรณีนี้อาจโหว่ได้ข้างเดียว (Unilateral complete lip and palate) และสองข้าง (Bilateral complete lip and palate)

เพดานโหว่

  1. ปากแหว่งเพดานโหว่ที่ร่วมกับความผิดปกติของส่วนอื่น ๆ ของใบหน้า เช่น กลุ่มความพิการใบหน้า ชนิดต่าง ๆ ความพิการของโรคที่เกี่ยวข้องกับขากรรไกรเล็กผิดปกติ เป็นต้น

อ่าน >> สาเหตุของโรค และวิธีรักษา-ป้องกัน คลิกเลย!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up