เจ็บท้องหลอก เจ็บท้องจริง จะรู้ได้อย่างไร ? - amarinbabyandkids.com

เจ็บท้องหลอก เจ็บท้องจริง แม่ท้องใกล้คลอดจะรู้ได้อย่างไร ?

Alternative Textaccount_circle
event

เจ็บท้องหลอก เจ็บท้องจริง : เจ็บท้องหลอก (เจ็บลวง) จะรู้ได้อย่างไร…

การเจ็บท้องหลอก หรือเรียกว่า เจ็บท้องลวง (False Labor) คือ การเจ็บท้องที่ไม่มีการคลอดลูกตามมา ซึ่งจะมีการหดตัวของมดลูกที่ไม่สม่ำเสมอประมาณวันละ 2-3 ครั้ง ไม่มีเลือดออก และถุงน้ำคร่ำแตกไหลออกมาจากช่องคลอด แม่ท้องอาจรู้สึกว่าปวดท้อง ปวดหลังได้

สำหรับอาการเจ็บครรภ์หลวงจะเป็นได้ตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ ซึ่งการเจ็บครรภ์หลอกคุณแม่ท้องจะเจ็บถี่ขึ้น 6-8 ครั้ง/วัน เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น แต่หากเจ็บครรภ์และมีมดลูกหดรัดตัวอย่างสม่ำเสมอทุก 10 นาที หดรัดตัวนานครั้งละมากกว่า 30 วินาที ถือว่าเข้าข่ายเจ็บท้องจริง2

 

Good to know… “การเจ็บท้องจริง คุณแม่ท้องจะปวดหลัง และปวดท้องมากขึ้นเรื่อยๆ มีอาการปวดสม่ำเสมอ  ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง เจ็บท้อง 5 ครั้งขึ้นไป คือ เจ็บท้องทุก ๆ  10 – 15 นาที ปวดท้องถี่ ๆ สม่ำเสมอ  มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ปวดแต่ละครั้งนาน 30 – 70 วินาที”

 เจ็บท้องหลอก เจ็บท้องจริง

เจ็บท้องจริง จะรู้ได้อย่างไร ?…

เมื่อถึงครรภ์ครบกำหนดคลอด การปวดท้องจะคลอดลูกเป็นเรื่องที่คนท้องใกล้คลอดเกิดความสับสนกันอยู่บ้าง จริงๆ แล้วการเจ็บท้องจริงมีสัญญาณการสังเกตง่ายๆ คือ มดลูกจะมีการหดรัดตัวเป็นพักๆ จนรู้สึกได้ว่าท้องแข็ง ในช่วงแรกมดลูกจะหดตัวห่างๆ ชั่วโมงละครั้ง และจะค่อยๆ หดรัดตัวถี่ขึ้นเรื่อยๆ อาการปวดจะเพิ่มขึ้น และหากมดลูกมีการหดรัดตัวทุก 10 นาทีอย่างสม่ำเสมอ แบบนี้จะเรียกว่า “เจ็บท้องจริง” (True labor pain) ควรที่ต้องไปนอนรอเพื่อทำคลอดที่โรงพยาบาลอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว

อาการแสดงเตือนอื่นๆ ของการเจ็บท้องจริง ก็เช่น มีมูกเลือดออกมาจากช่องคลอด มีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด (น้ำคร่ำ) การที่มีน้ำคร่ำไหลออกมาถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการเจ็บท้อง ก็ควรต้องไปโรงพยาบาลนะคะ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยค่ะ

 

Good to know… “กว่า 80% ของผู้หญิงตั้งครรภ์ จะคลอดก่อนวันคาดคะเนคลอดประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ก็มีผู้หญิงตั้งครรภ์อีกจำ นวนหนึ่งซึ่งไม่มากนัก ที่ไม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดเมื่อถึงวันนัดคลอด”

 

วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างการรอคลอด

  1. การฉีดยาแก้ปวดเข้ากล้ามเนื้อที่สะโพก (เช่น ยา pethidine 50 มก.) ข้อควรระวังในการใช้ยาตัวนี้คือ ยาสามารถผ่านกระแสเลือดเข้าไปกดการหายใจของทารกได้เมื่อคลอดออกมา หากฉีดในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม
  2. การฉีดยาชาที่เหนือช่องไขสันหลัง (Epidural block) วิธีนี้ลดความปวดได้ดี แต่ต้องให้วิสัญญีแพทย์เป็นผู้ทำหัตถการนี้ และหลังการทำ ต้องมีการเฝ้าระวังระหว่างที่รอคลอดอย่างใกล้ชิด
  3. การบีบนวดบริเวณหลัง สามารถช่วยลดความปวดได้บ้าง
  4. การจัดท่าต่างๆ ให้คุณแม่ท้องที่นอนรอคลอด ให้อยู่ในท่าที่สบาย ก็ช่วยลดความปวดได้บ้าง4การสังเกตอาการ เจ็บท้องหลอก เจ็บท้องจริง มีการดูสัญญาณเตือนที่ไม่ยากเลยค่ะ และเมื่อถึงวันกำหนดคลอด ขอให้ว่าที่คุณแม่คนใหม่ตัดความเครียด ความกลัว และความกังวลต่างๆ ออกไปให้หมดนะคะ เพื่อที่จะได้มีแรงพลังในการคลอดลูกกัน …ด้วยความห่วงใยค่ะ

 

อ่านต่อบทความน่าสนใจคลิก !!
ตกขาวแบบไหนอันตราย
น้ำคาวปลา หลังคลอดลูก คืออะไร ?
ฤกษ์คลอดตามช่วงเวลา คลอดลูกเวลาไหนให้นิสัยดี?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ สูตินรีแพทย์.การคลอด การคลอดบุตร (Childbirth).http://haamor.com/th/การคลอด/

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up