คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรกอาจมี เลือดออกตอนท้อง คล้ายกับวันแรก หรือวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน ว่าที่คุณแม่บางคนจึงเข้าใจไปว่า ประจำเดือนไม่ได้ขาด แต่เลือดนี้จะไหลออกมาเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่แล้วไม่เป็นสัญญาณบ่งชี้อันตรายจริงหรือไม่? มาหาคำตอบกันค่ะ
เลือดออกตอนท้อง เกิดจากอะไร?
1.สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์
การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อรา ทำให้ช่องคลอดอักเสบ หรือติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคที่เกิดจากเชื้อพยาธิไตรโคโมนิเอซิส โรคหนองใน โรคหนองในเทียม หรือโรคเริม ทำให้บริเวณปากมดลูกเกิดการระคายเคืองหรืออักเสบ จนมีเลือดไหลออกมาหลังจากมีเพศสัมพันธ์หรือตรวจภายใน นอกจากนี้ หากมีติ่งเนื้อในช่องคลอด ก็อาจทำให้มีเลือดไหลหลังจากมีเพศสัมพันธ์หรือตรวจภายในได้เช่นเดียวกัน
2.สัญญาณการตั้งครรภ์
เมื่อตัวอ่อนฝังตัวในโพรงมดลูก อาจทำให้มีเลือดจำนวนหนึ่งไหลออกมาจากช่องคลอดได้ ในทางการแพทย์เรียกว่า Implantation bleeding หรือที่คนไทยโบราณเราเรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” คุณแม่บางท่านหลงเข้าใจว่าเป็นประจำเดือนและคิดว่าตนเองไม่ได้ท้อง วิธีสังเกตก็คือ เลือดนี้จะไหลออกมาเร็วกว่าประจำเดือนปกติเล็กน้อย และมาน้อยกว่า อาจจะมาเพียงวันเดียวแล้วหายไป หากเป็นเช่นนี้ ก็ควรหาซื้ออุปกรณ์ตรวจการตั้งครรภ์มาตรวจดูได้แล้วค่ะ
3.สัญญาณอันตราย
หากมีเลือดออกพร้อมอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หรือเป็นตะคริวที่ช่วงท้อง ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะแท้งบุตร หรือภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
อ่าน “สัญญาณอันตรายเลือดออกตอนท้อง” คลิกหน้า 2
สัญญาณอันตราย เลือดออกตอนท้อง
การเลือดออกในระหว่างตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสแรก และโดยทั่วไปแล้วจะไม่มีสัญญาณเตือน แต่ในบางครั้งการตกเลือดก็อาจจะเป็นสัญญาณของสิ่งที่ร้ายแรงได้ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่คุณแม่ต้องสังเกตหาสาเหตุ และพบแพทย์ เพื่อให้คุณแม่แน่ใจว่าลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรง
เลือดออกในไตรมาสแรก
20% ของคุณแม่บางคนที่มีเลือดออกในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ สาเหตุของการตกเลือดในช่วงไตรมาสแรก ได้แก่
1.เลือดล้างหน้าเด็ก
คุณแม่อาจพบอาการผิดปกติภายในช่วง 6-12 วันแรกหลังจากที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากไข่ที่ผสมกับอสุจิฝังตัวอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก คุณแม่หลายคนไม่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ ซึ่งโดยทั่วไปเลือดที่ออกมาจะมีระยะเวลาสั้นๆ คือตั้งแต่เพียงไม่กี่ชั่วโมง ไปจนถึง 2-3 วัน
2.การคลอดก่อนกำหนด หรือแท้งบุตร
การแท้งบุตรเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ จึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากที่สุดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม การตกเลือดในช่วงไตรมาสแรกไม่ได้หมายความว่าคุณแม่เพิ่งเสียทารกไปแล้ว หรือแท้งลูก ในความเป็นจริงถ้ามีการเต้นของหัวใจในอัลตราซาวนด์กว่า 90% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงไตรมาสแรกจะไม่เกิดอาการแท้ง
อาการอื่นๆ ของการแท้งบุตร คือ ปวดบริเวณต่ำกว่าช่องท้อง และพบเนื้อเยื่อหลุดออกมาทางช่องคลอด
3.ตั้งครรภ์นอกมดลูก
ในการตั้งครรภ์นอกมดลูก การปลูกถ่ายตัวอ่อนที่ฝังอยู่นอกมดลูกโดยปกติจะอยู่ในท่อนำไข่ หากตัวอ่อนเจริญเติบโตขึ้นอาจทำให้ท่อนำไข่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของคุณแม่ ถึงแม้ว่าการตั้งครรภ์นอกมดลูกอาจเป็นอันตราย แต่ก็เกิดขึ้นในประมาณ 2% ของการตั้งครรภ์เท่านั้น
อาการอื่นๆ ของการตั้งครรภ์นอกมดลูก คือ ปวดเกร็ง หรือปวดที่ท้องส่วนล่าง และความรู้สึกเวียนศีรษะ
4.การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
นี่คือภาวะที่หายากมาก เป็นความผิดปกติในเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตภายในมดลูกแทนที่จะเป็นทารก ในบางกรณีเนื้อเยื่ออาจพัฒนากลายเป็นมะเร็ง และสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้
อาการอื่นๆ ของการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก คือ อาการคลื่นไส้ อาเจียน และมดลูกขยายตัวอย่างรวดเร็ว
อ่าน “สาเหตุอื่นๆ และการป้องกัน” คลิกหน้า 3
สาเหตุเพิ่มเติมของการมีเลือดออกในขณะตั้งครรภ์
1.การเปลี่ยนแปลงของมดลูก
ในระหว่างตั้งครรภ์จะมีเลือดไหลไปที่ปากมดลูก การมีเพศสัมพันธ์หรือการทดสอบ Pap test ซึ่งทำให้เกิดการสัมผัสกับปากมดลูกอาจทำให้เลือดไหลได้ การไหลเวียนโลหิตชนิดนี้ ไม่ใช่สาเหตุที่ก่อให้เกิดความวิตกกังวล
2.การติดเชื้อ
การติดเชื้อที่ปากมดลูกช่องคลอด หรือการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในเทียม หนองใน หรือเริม อาจทำให้เลือดออกในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ได้
การป้องกันการมีเลือดออกในขณะตั้งครรภ์
ส่วนใหญ่การแท้งบุตร จะไม่สามารถระบุสาเหตุได้ ทำให้ไม่มีการป้องกันที่แน่นอน คุณแม่ตั้งครรภ์จึงต้องรักษาสุขภาพของตนเอง และลูกน้อยให้แข็งแรง จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการแท้งบุตรได้ ดังนี้
1.ไม่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์
2.ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดขณะตั้งครรภ์
3.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ โดยเน้นผัก และผลไม้ให้มากๆ
4.พยายามหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในช่วงตั้งครรภ์ เช่น เชื้อหัดเยอรมัน
5.หลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย หรือเป็นอันตรายต่อลูกน้อย เช่น อาหารดิบ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น
6.ควบคุมน้ำหนักตัวในอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อให้สุขภาพดีก่อนการตั้งครรภ์
7.หมั่นไปพบสูตินรีแพทย์
8.รับประทานวิตามินรวม เพื่อบำรุงให้ครรภ์แข็งแรง และได้รับสารอาหารครบถ้วนเป็นประจำทุกวัน
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์แล้ว และพบว่ามีเลือดออกจากช่องคลอด ก็ควรไปพบสูติแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้มั่นใจอีกครั้งค่ะ
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม คลิก!!
โรคขาดวิตามินเค ทำลูกเลือดไหลไม่หยุด อาการสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้
ความเชื่อของคนไทย แม่ท้องให้นมลูกเสี่ยงแท้ง!?
คนท้องขาบวม ไม่ใช่เรื่องปกติ! เสี่ยงแท้งจากโรคลิ่มเลือดอุดตัน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่