AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกไม่มีผนังหน้าท้อง กับความพิการแต่กำเนิด

มีคุณแม่คนหนึ่งโพสต์ภาพลูกน้อยที่มีความผิดปกติ ไม่มีผนังหน้าท้อง ลำไส้บวม เนื่องจากคลอดก่อนกำหนด หัวอกคนเป็นแม่ก็สงสารลูก และสงสัยว่าลูกน้อยจะกลับมาแข็งแรงได้เหมือนเดิมหรือไม่ อาการ “เด็กไม่มีผนังหน้าท้อง” นี้ เป็นความพิการแต่กำเนิด เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อย

อาการของ เด็กไม่มีผนังหน้าท้อง

อาการที่เด็กทารกแรกเกิดไม่มีผนังหน้าท้องนั้น เป็นความพิการแต่กำเนิด คือความพิการของผนังลำตัวด้านหน้า อาจครอบคลุมไปที่ผนังหน้าอก ผนังหน้าท้อง ไปจนถึงบริเวณหัวเหน่า มีความพิการของผนังกระเพาะปัสสาวะ หรือมีความพิการซับซ้อน เกิดจากการก่อรูปที่ไม่สมบูรณ์

อ่านต่อ “ลูกไม่มีผนังหน้าท้อง กับความพิการแต่กำเนิด” คลิกหน้า 2

อาการนี้พบในเด็ก 1 คน ต่อเด็ก 5,000 คน ซึ่งพบมากในเด็กทารกแรกเกิดที่เป็นเด็กผู้ชาย มากกว่าเด็กผู้หญิง และพบบ่อยกว่า 50% ความพิการเหล่านี้มักจะรุนแรง และเกิดกับอวัยวะสำคัญ เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ กล้ามเนื้อและกระดูก สมองและไขสันหลัง ทางเดินอาหาร เป็นต้น

สำหรับเด็กทารกที่ไม่สามารถรอดชีวิตได้ เนื่องจากมีความพิการรุนแรงของสมอง และระบบอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ และหลอดเลือด ทำให้ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ โดยอาการคือจะมีหัวใจที่ต่ำกว่าปกติ หรืออยู่นอกลำตัว หรือมีความผิดปกติภายในหัวใจ และเป็นความผิดปกติที่รุนแรง ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 75% ส่วนความพิการเฉพาะทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ รวมถึงกระดูกเชิงกราน จะมีความรุนแรงน้อยกว่า

สาเหตุที่เด็กไม่มีผนังหน้าท้อง

เด็กจำนวนมากที่มีอาการเหล่านี้มักจะเป็นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีอาการผิดปกติของโครโมโซม ประกอบไปด้วย ร่างกายที่ใหญ่โตกว่าทารกธรรมดา ลิ้นโต และมีความผิดปกติของสะดือ หรือมีอวัยวะภายในโต และอาจเกิดเนื้องอกของอวัยวะภายในสูงขึ้นในเวลาต่อมา

อ่านต่อ “ลูกไม่มีผนังหน้าท้อง กับความพิการแต่กำเนิด” คลิกหน้า 3

การตรวจวินิจฉัยโรคจะตรวจเมื่อถึงระยะที่ 2 ในครรภ์มารดา ทำให้สามารถให้คำแนะนำกับคุณแม่ และวางแผนการคลอดสำหรับลูกน้อยอย่างเหมาะสม หรือส่งตัวคุณแม่ไปคลอดที่ศูนย์การแพทย์ที่มีศักยภาพในการผ่าตัดรักษา และดูแลลูกน้อยแรกคลอด

วิวัฒนาการการรักษาเด็กที่ไม่มีผนังหน้าท้อง

ในโรงพยาบาลทั่วไปจะพบภาวะนี้บ่อย และต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน Ambroise  Pare  ศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศสเป็นคนแรกที่รายงานภาวะนี้ในปี ค.ศ.1634 ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าเสียชีวิต จนกระทั่ง ค.ศ.1873  Visick เป็นคนแรกที่เย็บปิดผิวหนังทารกได้สำเร็จคนแรก เมื่อวิวัฒนาการทางการแพทย์พัฒนาขึ้นอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยจึงเพิ่มขึ้น เมื่อ Dudrick และคณะค้นพบวิธีการให้อาหารทางหลอดเลือดดำในปี ค.ศ. 1965 และมีการพัฒนาให้สามารถรักษาเด็กทารกที่มีปัญหาในการหายใจ หลังปิดหน้าท้องแล้ว

อ่านต่อ “ลูกไม่มีผนังหน้าท้อง กับความพิการแต่กำเนิด” คลิกหน้า 4

การวินิจฉัยโรคถูกพัฒนาขึ้นหลังจากนั้น โดยการวินิจฉัยโรคลูกน้อยตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ของแม่ พร้อมกับความก้าวหน้าในการดูแลเด็กๆ ที่มีปัญหาเหล่านี้ ทั้งการดูแลระบบทางเดินหายใจ การให้อาหารทางหลอดเลือด ทำให้เด็กทารกมีชีวิตรอดสูงขึ้น

วิธีการรักษา และดูแลเด็กที่ไม่มีผนังหน้าท้อง

การวินิจฉัยสามารถทำได้อย่างแม่นยำด้วยการอัลตร้าซาวด์ จะเห็นลักษณะของลำไส้ที่อยู่ด้านนอก ทำให้สามารถดูแลลูกน้อยได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา การแพทย์ในสมัยนี้มีศักยภาพมาก สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด และดูแลลูกน้อยแรกเกิด ทำให้สามารถผ่าตัดรักษาได้เร็วขึ้น ช่วยป้องกันอาการบวมของลำไส้จากการแช่ในน้ำคร่ำนานเกินไป เด็กที่ไม่มีผนังหน้าท้อง จะสูญเสียความร้อน จนเกิดภาวะสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรง จึงต้องได้รับการป้องกัน และดูแลอย่างถูกวิธี ดังนี้

1.สวมถุงพลาสติกที่สะอาด ปราศจากเชื้อโรค ตั้งแต่ปลายเท้า ถึงหน้าอก และรักแร้ เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และความร้อน ป้องกันการปนเปื้อน และลดอัตราการติดเชื้อ และสามารถประมาณน้ำที่เสียไปได้ เพื่อหาน้ำมาทดแทนอย่างเหมาะสม

2.ให้ความอบอุ่น เช่น ห่อตัวให้มิดชิด หรือเข้าตู้อบ เป็นต้น

3.ให้สารละลายเกลือแร่ทางหลอดเลือดดำ ปรับตามความต้องการของร่างกาย

4.ให้ยาปฏิชีวนะ และรีบส่งลูกน้อยไปยังโรงพยาบาลที่มีศูนย์เฉพาะทางโดยเร็วที่สุด

โดยทั่วไป เด็กๆ ที่ไม่มีผนังหน้าท้องจะสามารถได้รับการผ่าตัดปิดหน้าท้องได้สำเร็จในครั้งเดียวถึง 80-85% แต่ในกรณีที่ไม่สามารรถปิดหน้าท้องได้ เนื่องจากมีอาการลำไส้บวมมาก และผนังหน้าท้องเล็กเกินไป เด็กจะมีปัญหาหายใจไม่พอ จึงต้องรอเวลา 7-10 วัน หรือรอเวลา ค่อยๆ แก้ไขภายหลัง

หลังจากผ่าตัด เด็กทารกส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการช่วยหายใจจนกว่าความดันในช่องท้องจะลดลง และหายใจเองได้ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 1-3 วัน การถอดท่อช่วยหายใจเร็วเกินไป จะทำให้เสี่ยงต่อภาวะหายใจล้มเหลว ทำให้มีโอกาสสำลักจากทางเดินอาหารซึ่งถูกดันย้อนสู่หลอดอาหาร

เครดิต: http://dynamic.psu.ac.th/kidsurgery.psu.ac.th/Pediatric%20surgery/KID/LESSON7.HTM

Save

Save