โรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องระวัง - amarinbabyandkids

โฉมหน้า 15 โรคแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์

event

สำหรับคนที่กำลังกำลังตั้งครรภ์นั้นเวลา จำเป็นที่ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะอาจเกิด โรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแม่และลูกได้

เมื่อคุณแม่มีการตั้งครรภ์ ร้อยทั้งร้อยต่างก็ต้องการให้การตั้งครรภ์และการคลอดจบลงอย่างสมบูรณ์แบบที่สุดในลักษณะที่พูดง่ายๆว่า “ลูกเกิดรอด….แม่ปลอดภัย” แต่ในความเป็นจริงไม่ง่ายอย่างที่ต้องการหรอกครับ มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่เมื่อมีการตั้งครรภ์กลับมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นสารพัดโรค บางโรคก็รุนแรงไม่มาก ในขณะที่บางโรคก็รุนแรงมากจนอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้…

และในช่วงท้องอย่างนี้มีภาวะแทรกซ้อนอะไรที่อาจจะเกิดกับคุณแม่ได้บ้าง และจะดูแลป้องกันตัวเองเอาไว้ก่อนได้หรือไม่ Amarin Baby & Kids จึงนำข้อมูลของจริงเกี่ยวกับ โรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ ที่อาจเกิดขึ้นได้กับแม่ท้อง  ต่างๆ ที่คุณแม่ควรรู้ไว้เพื่อจะได้ระวังดูแลตัวเองและลูกน้อยให้ปลอดภัย จะมีโรคได้ใดบ้างดูกันเลย

15 โรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์

1. อาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างมากระหว่างตั้งครรภ์

อาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ จะพบได้ 1 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด มักจะเกิดระหว่างอายุครรภ์ 6-12 สัปดาห์ และจะหายไปเองภายหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ แต่บางรายอาจเป็นนานกว่านั้นก็ได้

ถ้าอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นมาก และเป็น ตลอดทั้งวัน จนกระทั่งร่างกายได้รับอาหารและน้ำไม่เพียงพอ ทำให้มีผลร้ายอื่นๆ ตามมาจนอาจเป็นอันตรายได้ ถ้าได้รับการช่วยเหลือและดูแลไม่ทัน

การป้องกันภาวะแทรกซ้อนกับอาการนี้ ควรกระทำโดยรีบปรึกษาแพทย์ เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าว เพื่อหาสาเหตุ และรับการรักษาอย่างถูกวิธี รวมทั้งป้องกันอาการแทรกซ้อนอันตรายอื่นๆ ที่จะตามมา

2. ท้องนอกมดลูก

โดยปกติแล้วคนเราเวลาตั้งครรภ์ก็จะตั้งครรภ์ในมดลูก แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ไข่ที่ได้รับการผสมกับอสุจิแล้วไปฝังอยู่ที่ท่อนำไข่ บางคนไปฝังในรังไข่เลยก็มี หรือบางคนก็ในช่องท้อง แต่กรณีที่พบบ่อยที่สุดคือท้องในท่อนำไข่ การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ ส่วนมากเด็กโตไปได้ระยะหนึ่งก็มักจะเสียชีวิต

สาเหตุ : ท้องนอกมดลูกมักพบบ่อยๆ ในคนที่มีประวัติเคยมีปีกมดลูกอักเสบ เคยทำแท้งบ่อยๆ การขูดมดลูกอาจจะมีการอักเสบติดเชื้อ ทำให้ท่อนำไข่หรือมดลูกไม่เรียบ ไข่เดินทางไปสู่มดลูกได้ช้า การฝังตัวเกิดได้ไม่ดี จึงเกิดฝังตัวนอกมดลูก

การรักษา : ส่วนมากต้องผ่าตัดเพื่อเอาการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติออก บางคนก็จำเป็นต้องตัดท่อนำไข่ทิ้ง หรือตัดรังไข่ทิ้ง แล้วแต่กรณี

การป้องกัน : การป้องกันอันตรายจากภาวะนี้ได้ดีที่สุดก็คือ การฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด เพื่อหากพบภาวะนี้สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงที ไม่เกิดอันตรายต่อคุณแม่ เพราะหากหล่อยไว้อาจเกิดท่อรังไข่ หรือรังไข่ฉีกขาดได้

3. ภาวะรกเกาะต่ำ

ปกติรกจะเกาะที่ยอดมดลูก แต่บางรายรกเกาะต่ำลงมาที่ปากมดลูก จึงขวางทำให้เด็กเคลื่อนลงมาไม่ได้ และถ้าเด็กตัวใหญ่ขึ้น รกที่เกาะอยู่แผ่นใหญ่ขึ้น พอขยายตัวอาจทำให้เกิดรอยเผยอระหว่างตัวรกกับปากมดลูกได้ ทำให้คุณแม่มีเลือดออก ถ้าเลือดออกมากๆ อาจทำให้เด็กและแม่เสียชีวิตได้ แต่ก็มีแม่บางคนซึ่งมีรกเกาะต่ำได้โดยที่ไม่เกิดปัญหาอะไรตามมาเลยก็ได้ ในขณะที่บางคนมีเลือดออกผิดปกติ

สาเหตุ : ส่วนมากมักเจอในแม่ที่มีลูกมากๆ เคยคลอดลูกหลายๆ คน หรือว่าเคยขูดมดลูกมาก่อน

การรักษา : หมอจะรอจนเด็กโต มีอายุครรภ์ครบกำหนด ก็จะนัดมาผ่าตัดคลอด แต่ในบางรายที่ยังไม่ทันครบกำหนดแล้วมีเลือดออกเยอะ อาจจำเป็นต้องผ่าตัดคลอดก่อนกำหนด เพื่อรักษาชีวิตแม่เอาไว้

การป้องกัน : หากรู้ว่าตนเองมีภาวะเสี่ยง ควรจะรีบฝากครรภ์เสียแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าตรวจพบว่ามีรกเกาะต่ำ จะได้ระวังในเรื่องการปฏิบัติตัวไม่ให้มีการกระทบกระเทือน เนื่องจากการเกิดปัญหาเลือดออกจากรกเกาะต่ำ บางคนก็มีเลือดออกอย่างไม่มีสาเหตุ เกิดขึ้นมาเอง บางคนอาจจะเกิดจากการกระทบกระเทือนจากการทำงานหนัก นั่งรถ หรือมีเพศสัมพันธ์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

4. แท้งบุตร

การแท้งบุตร คือการตั้งครรภ์นั้นจำเป็นต้องยุติหรือสิ้นสุดลงก่อนเวลาอันควร มักหมายถึง การตั้งครรภ์ที่ยุติก่อน 20-28 สัปดาห์ ซึ่งถ้ายุติในช่วงเวลานี้ส่วนมากเด็กจะไม่สามารถมีชีวิตได้เพราะว่าตัวเล็กเกินไป

สาเหตุ : มีอยู่ 2 ประการคือ แท้งเอง กับตั้งใจทำแท้ง การแท้งเองอาจเกิดจากไข่ที่ไม่สมบูรณ์ หรือว่าแม่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคเลือดบางชนิด ก็ทำให้แท้งได้ บางรายก็หาสาเหตุชัดๆ ไม่ได้ เช่น อาจจะเกิดจากภาวะเครียด อดนอน ทำงานหนัก

การป้องกัน : การแท้งจากบางสาเหตุก็ป้องกันไม่ได้ เช่น การที่ไข่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งก็เป็นธรรมชาติที่ไข่ต้องทำลายตัวเองไป แต่หากเป็นการแท้งที่เกิดในแม่ที่มีโรคภัยไข้เจ็บ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ ก่อนตั้งครรภ์ต้องตรวจสุขภาพร่างกาย ถ้ามีโรคต้องรีบรักษาให้หาย หรือให้อยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ จึงปล่อยให้มีการตั้งครรภ์ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์

5. ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

ตามธรรมชาติรกจะเกาะที่ยอดมดลูก เมื่อเด็กคลอด รกถึงจะหลุดจากมดลูกคลอดตามออกมาด้วย แต่บางรายรกที่เกาะมดลูกอยู่หลุดออกมาก่อน โดยที่เด็กยังไม่คลอด เมื่อรกหลุดทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงเด็กที่เคยผ่านรกขาดไปทันที หากช่วยไม่ทันจะทำให้เด็กเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในท้องได้

สาเหตุ : ส่วนใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ถูกกระแทกที่หน้าท้อง หกล้ม กระแทกกระเทือนจากการนั่งรถ หรืออุ้มลูกคนโต แต่บางรายก็ไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ เช่น แม่เป็นความดันโลหิตสูง ก็อาจทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนดได้เช่นกัน

การรักษา : ถ้าพบต้องเร่งทำคลอดทันที ซึ่งเด็กอาจจะตัวเล็กหรือตัวใหญ่แล้วแต่ว่ามีอุบัติเหตุเมื่ออายุครรภ์เท่าใด

การป้องกัน : เมื่อมีการตั้งครรภ์ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งไม่ให้กระทบกระเทือนที่บริเวณหน้าท้อง

อ่านต่อ >>   โรคแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์  ” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up