จากเคสคุณแม่น้องนะโม ที่อุ้มท้องน้องนะโมไป ฝากครรภ์ช้า ทำให้ขาดการได้รับความดูแลจากคุณหมอตั้งแต่ระยะแรก ประกอบกับการไม่ได้รับการบำรุงทั้งทางด้านโภชนาการอาหารและยา น้องนะโมจึงได้รับความเสี่ยงจนเป็นโรคปิแอร์ โรแบง แต่โชคยังดีที่พาน้องไปรักษาได้ทัน
Amarin Baby & Kids จึงอยากจะช่วยเตือนแม่ๆ มือใหม่ที่พึ่งตั้งครรภ์ให้รีบไปฝากครรภ์ตั้งแต่ทราบว่ามีน้อง จะได้ช่วยกันดูแลและป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การฝากครรภ์ช้ามีผลอย่างไร
การฝากครรภ์ช้าอาจทำให้เราไม่ทราบถึงความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ และได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที จนเกิดความเสี่ยงให้ลูกน้อยในครรภ์ป่วยเป็นโรค หรือพิการได้ คุณแม่ที่มีประสบการณ์การฝากครรภ์ช้าบางราย ลูกน้อยที่คลอดออกมาจะขาดแคลเซียม ตัวเหลือง ไม่แข็งแรง
บทความจากวารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย กล่าวไว้ว่า
“การฝากครรภ์มีประโยชน์ต่อสุขภาพของแม่และลูกในครรภ์ เพราะการฝากครรภ์จะทำให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจร่างกายและตรวจครรภ์ เพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงหรือความผิดปกติที่ต้องได้รับการดูแลรักษา ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ระหว่างการตั้งครรภ์”
ไม่กินยาบำรุงมีผลอย่างไร
การไม่ทานยาบำรุงตามที่คุณหมอสั่งก็ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อคุณแม่และลูกน้อยด้วยเช่นกัน ยาบำรุงที่คุณแม่รับประทานเข้าไป ไม่ได้เพียงแค่ส่งผลถึงลูกน้อยในครรภ์ แต่ส่งผลถึงตัวคุณแม่เองด้วย เพราะถ้าคุณแม่ไม่ทานยา ลูกน้อยในครรภ์จะดูดเอาสารอาหารต่างๆ เช่น แคลเซียมจากร่างกายคุณแม่ ทำให้คุณแม่ขาดแคลเซียม ปวดข้อ ปวดหลัง และผมร่วงได้ ถ้าหากคุณแม่เป็นคนทานยายากก็สามารถรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างอื่นชดเชยได้ เช่น ดื่มนมที่มีแคลเซียม ทานผักผลไม้ ไข่ไก่ หรืออาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
อ่านต่อ “โรคปิแอร์ โรแบงคืออะไร และประโยชน์ของยาบำรุง 4 ชนิด” คลิกหน้า 2
โรคปิแอร์ โรแบงคืออะไร
จากเคสน้องนะโมที่ป่วยเป็นโรคปิแอร์ โรแบง คุณแม่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วจะป้องกันและรักษาอาการอย่างไร Amarin Baby & Kids มีคำตอบ
ข้อมูลจาก คู่มือ อุบัติการณ์ สาเหตุและการป้องกัน กล่าวว่า
“ปิแอร์ โรแบง เป็นภาวะในเด็กแรกเกิดที่พบกระดูกขากรรไกรล่างเล็ก ลิ้นตกไปด้านหลัง และการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ร่วมกับเพดานโหว่ที่เป็นลักษณะรูปตัวยู เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมร่วมกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม คือ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ของมารดา การได้รับยากันชัก ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
สามารถป้องกันได้โดยการให้กรดโฟลิคและวิตามินรวมเสริมในช่วงก่อนและช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก ขณะตั้งครรภ์ควรงดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ วิธีการรักษามีเพียงการผ่าตัดและการใช้ยาร่วม”
นอกจากนี้การใกล้ชิดกับสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี หรืออากาศไม่บริสุทธิ์ ก็มีผลต่อสภาพจิตใจ และสภาพร่างกายของลูกน้อยในครรภ์ด้วย คุณแม่หลายท่านอาจจะมีเหตุผล 108 ประการที่ยังไม่ไปฝากครรภ์ แต่แบ่งเวลาสักนิดไปฝากครรภ์สักหน่อย ลูกน้อยจะได้คลอดออกมาแข็งแรงสมบูรณ์ไม่เสี่ยงเป็นโรคภัย ป้องกันการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด การเสียชีวิตในท้องได้อีกด้วย
ประโยชน์ของยาบำรุง 4 ชนิด
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรรับประทาน ยาบำรุงครรภ์ ชนิดไหนดี เพื่อที่จะช่วยสร้างเสริมการเจริญเติบโตลูกน้อยในครรภ์ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม กรดโฟลิก วิตามินรวม และจะเลือกซื้ออย่างไรให้ปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อย โดยเฉพาะช่วยทดแทนส่วนที่ต้องนำไปใช้
1.ธาตุเหล็ก เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีความต้องการธาตุเหล็กมากขึ้น โดยการส่งธาตุเหล็กจากแม่สู่ลูก และรกประมาณ คุณแม่ต้องการธาตุเหล็ก เพื่อช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ธาตุเหล็กที่จำหน่ายในท้องตลาดจะมีส่วนประกอบแตกต่างกันไป เช่น ferrous fumarate เป็นส่วนประกอบธาตุเหล็กที่แตกตัวได้ดีที่สุด ประมาณ 33% เมื่อรับประทานเข้าไป ร่างกายจะดูดซึมประมาณ 10% ดังนั้นคุณแม่ควรรับประทานธาตุเหล็กอย่างน้อยวันละ 7 มิลลิกรัมต่อวัน
คุณแม่ท้อง 4 เดือนแรก ยังมีความต้องการธาตุเหล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องรับประทานเสริม เพราะแทนที่จะได้ประโยชน์ อาจทำให้คุณแม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง เพราะผลข้างเคียงจากธาตุเหล็ก
อ่านต่อ “ประโยชน์ของยาบำรุงอีก 3 ชนิด” คลิกหน้า 3
2.กรดโฟลิก เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ และก่อนตั้งครรภ์ ถ้าคุณแม่ได้รับกรดโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์อย่างสม่ำเสมอ การบกพร่องทางระบบประสาท คุณแม่ควรรับประทานกรดโฟลิกก่อนการตั้งครรภ์เป็นเวลาเดือนๆ กรดโฟลิกยังช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้คุณแม่ ในขณะตั้งครรภ์ด้วย โดยคุณแม่ควรรับประทานกรดโฟลิกตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ไปจนถึงตอนตั้งครรภ์ วันละ 4 มิลลิกรัมเป็นอย่างน้อย
3.แคลเซียม คุณแม่ต้องการแคลเซียมประมาณ 30 กรัม เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ 2.5% จากปริมาณนี้ ซึ่งแคลเซียมทั้งหมดของแม่ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนประกอบของกระดูกของแม่ คุณแม่จึงจำเป็นต้องรับประทานให้เพียงพอจากอาหารที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวัน และในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่อาจเป็นตะคริวจึงต้องการแคลเซียมเพื่อลดการเกิดตะคริวได้
4.วิตามินรวม โดยทั่วไปในคุณแม่ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีปัญหาเรื่องโรค การดูดซึมอาหาร และการขาดอาหาร จะได้รับวิตามินเพียงพอแล้วจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ในแต่ละวัน จึงไม่จำเป็นจะต้องให้วิตามินรวมเสริม แต่ถ้าคุณหมอให้รับประทาน ก็สามารถรับประทานได้ปกติ
ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรับประทานยาบำรุงครรภ์ตามที่คุณหมอสั่ง เพราะคุณแม่บางคนไม่ยอมรับประทาน กลัวว่าตัวเอง หรือว่าลูกจะอ้วนมากเกินไป การที่คุณแม่ไม่รับประทานยา ลูกน้อยอาจดึงสารอาหารที่จำเป็นมาจากร่างกายของคุณแม่มาใช้ ทำให้คุณแม่ขาดสารอาหาร เสี่ยงต่อการเสียเลือดขณะคลอด และอาจทำให้เป็นอันตรายได้
เครดิต: เหมือนตาย ทั้งที่ใกล้กัน, วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, คู่มือ อุบัติการณ์ สาเหตุและการป้องกัน, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
แม่ให้นม “กินอาหารไม่ครบหมู่” มีผลให้ลูกน้ำหนักน้อยหรือไม่?
แม่ท้องเตรียมพร้อมบำรุงความแข็งแรงของลูกในครรภ์
Save
Save