คุณแม่ที่ท้องลูกน้อยวัยใกล้คลอดหลายท่านอาจจะยังแยกไม่ออกว่าอาการที่น้ำออกมาทางช่องคลอดแบบไหนคือ น้ำคร่ำแตก หรือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพราะไตรมาสสุดท้ายของคุณแม่ท้อง ศีรษะของทารกจะลงมากดบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้
น้ำคร่ำแตก เป็นอย่างไร? แตกต่างกับกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือไม่
เครดิตภาพจาก invitra.com
น้ำคร่ำแตกเป็นอย่างไร?
หน้าที่ของน้ำคร่ำ ช่วยปกป้องและช่วยให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโต หล่อเลี้ยงอยู่ภายในหลอดลมและปอดของทารก ทำให้สายสะดือไม่กดทับทารกเวลาที่เคลื่อนไหวหรือมีการบีบตัวของมดลูก และเป็นเกราะป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้ยังช่วยให้การคลอดสะดวกขึ้น
อาการน้ำคร่ำรั่ว น้ำคร่ำแตก หรือน้ำเดิน เกิดจากการที่ถุงน้ำคร่ำแตกทำให้มีน้ำไหลออกมา โดยปกติมักเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่ระยะใกล้คลอด ส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บท้องก่อนคลอดแล้วจึงมีน้ำคร่ำไหลออกมา ดังนั้นการที่มีถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่มีอาการเจ็บครรภ์จริง (เจ็บครรภ์สม่ำเสมออย่างน้อย 1 ครั้ง ใน 10 นาทีและมีการเปิดขยายของปากมดลูก) และอายุครรภ์ครบกำหนด (มากกว่าหรือเท่ากับ 37 สัปดาห์โดยคำนวนจากประวัติวันแรกของประจำเดือนที่ปกติครั้งสุดท้าย) จึงเรียกว่า น้ำคร่ำแตก ก่อนเจ็บครรภ์คลอด (Premature rupture of membranes หรือเรียกย่อว่า PROM)” หรือเรียกสั้นๆว่า “มีน้ำเดิน”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ความแตกต่างของน้ำคร่ำแตก กับกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ความแตกต่างของน้ำคร่ำแตก กับกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ในคุณแม่บางคนอาการปัสสาวะเล็ดอาจทำให้เกิดความรู้สึกกังวลว่า ใช่น้ำคร่ำหรือไม่ ความแตกต่างของน้ำคร่ำ และปัสสาวะที่คุณแม่ต้องแยกให้ออก คือ
ถ้าถุงน้ำคร่ำแตกครั้งแรก จะมีน้ำคร่ำออกมามากหรือน้อยก็ได้ และจะมีน้ำคร่ำไหลออกมาเรื่อยๆ ไม่หยุดง่ายๆ และคุณแม่ไม่สามารถควบคุมกันหยุดไหลของน้ำได้ มีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น
แต่สำหรับปัสสาวะเล็ดแล้วมักจะออกมาไม่มาก ออกมาเพียงครั้งเดียว แล้วก็จะหยุดปัสสาวะ หรือควบคุมการหยุดของปัสสาวะได้ อาจมีสีเหลืองอ่อน เหลืองเข้ม หรือสีใสก็ได้ และมีกลิ่นฉุนของปัสสาวะ
หากคุณแม่มีความกังวล และไม่สามารถแยกความแตกต่างว่า น้ำคร่ำแตก หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ แนะนำให้ไปโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะมีวิธีการตรวจแยกว่าใช่น้ำคร่ำหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ และตัวคุณแม่เองค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ วิธีรับมือหากน้ำคร่ำแตก
เตรียมให้พร้อม! วิธีรับมือหากน้ำคร่ำแตก
สำหรับกรณที่น้ำคร่ำแตกในภาวะปกติ คือน้ำคร่ำแตก ในช่วงที่อายุครรภ์อยู่ในกำหนดคลอดแล้ว โดยปกติแล้วจะมีอาการเจ็บท้องคลอดนำมาก่อนถุงน้ำคร่ำถึงจะแตก นั่นหมายถึงภายใน 24 ชั่วโมง คุณแม่จะคลอดแล้ว ดังนั้นสิ่งที่ควรจะทำหลังน้ำคร่ำแตก (ทั้งแบบมีอาการปวดท้องคลอดก่อน และ แบบไม่มีอาการปวดท้องคลอดก่อน) มีดังนี้
- ตรวจดูให้แน่ใจว่าเป็นเพราะน้ำคร่ำแตก หรือ กลั้นปัสสะวะไม่อยู่ โดยใช้วิธีตรวจดังนี้
- ปัสสาวะให้เรียบร้อย
- ใช้ผ้าอนามัยหรือแผ่นอนามัยรองไว้
- ตรวจดูน้ำที่อยู่บนผ้าหรือแผ่นอนามัยว่ามีกลิ่นหรือสีหรือไม่ น้ำคร่ำจะไม่มีทั้งกลิ่นและสี
- หากยังไม่แน่ใจว่าเป็นน้ำคร่ำหรือปัสสาวะ ให้ลองขมิบช่องคลอดเพื่อกลั้นไม่ให้น้ำคร่ำไหล หากกลั้นได้นั่นคือปัสสาวะ แต่หากกลั้นไม่ได้นั่นคือน้ำคร่ำ
- ปกติแล้วน้ำคร่ำจะแตกก่อนคลอดจะมีมูกเลือดออกมาด้วย
- ในแม่ท้องบางคนอาจจะมีไข้ต่ำ ๆ หรือร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย
- คอยตรวจการดิ้นของลูกในท้องว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่
- พยายามรักษาความสะอาดบริเวณช่องคลอด เพื่อเลี่ยงไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปได้
- รีบเก็บกระเป๋าแล้วไปหาคุณหมอเพื่อเตรียมคลอดได้เลยค่ะ
อาการน้ำคร่ำแตก (ในภาวะปกติ คือ น้ำคร่ำแตกในอายุครรภ์ที่เกิน 37 สัปดาห์แล้ว) อาจดูเหมือนจะน่ากลัว แต่นั่นหมายถึงลูกตัวน้อย ๆ ในท้อง พร้อมแล้วที่จะลืมตาดูโลก ดังนั้น คุณแม่ควรตั้งสติให้ดี จัดกระเป๋า หยิบของที่จำเป็นต้องใช้หลังคลอดให้ครบ ไม่จำเป็นต้องรีบขับรถเพื่อไปหาโรงพยาบาล ค่อย ๆ ขับ เพื่อรอเจอกับเรื่องที่น่ายินดีที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าค่ะ
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจต่อได้ที่นี่
เตรียมตัวก่อนคลอด โค้งสุดท้ายก่อนลูกเกิดให้พร้อมแบบคุณแม่มือโปร !
วิธีเร่งคลอด มีกี่แบบ? จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเร่ง
สาเหตุ คนท้องปวดก้นกบ พร้อมท่าบริหารสะโพกให้แข็งแรง
เครดิต: รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ สูตินรีแพทย์, haamor.com
Save
Save
Save
Save
Save
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่