AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

จริงหรือไม่? ขับรถบ่อยเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

จากประสบการณ์ของคุณแม่ ที่ออกมาแชร์เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับคุณแม่คนอื่นๆ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 34 สัปดาห์ แม่ท้องขับรถ ทุกๆ วัน คุณแม่จะขับรถวันละหลายรอบ เพราะคิดว่าคงไม่เป็นอะไร จนมาถึงวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา ประมาณ 6 โมงเช้า เหตุการณ์นี้จึงเกิดขึ้น

แม่ท้องขับรถ เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด?

วันนี้แม่บ้านนี้มีประสบการณ์มาแชร์ค่ะ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคุณแม่บ้านอื่นๆ บ้าง

แม่บ้านนี้ท้อง 34 วีคค่ะ แต่เราต้องขี่รถทุกวัน วันละหลายรอบ ตัวแม่เองคิดว่าคงไม่เป็นไรจนวันที่ 31 ม.ค. ตอน 6 โมงเช้า รู้สึกปวดปัสสาวะ เลยลุกจะไปเข้าห้องน้ำ แต่พอลุกขึ้น น้ำคล่ำไหลกลั้นไม่อยู่ แล้วเริ่มมีปวดท้องนิดๆ เลยไปรพ. ปากมดลูกเปิด 1 เซนติเมตร ท้องก็เริ่มปวดขึ้นเรื่อยๆ เปิดเร็วมาก ฉีดยาระงับการคลอดก็เอาไม่อยู่ จนเวลา 4 โมงกว่าๆ มดลูกเปิด 7 เซนติเมตร หัวลูกโผล่ เข้าห้องคลอดเบ่ง 1 ที น้องออกมาค่ะ หนัก 1.945 กิโลกรัม มีภาวะออกซิเจนต่ำ หายใจเร็ว ปอดยังทำงานไม่เต็มที่ ได้แค่ 90% เสี่ยงปอดติดเชื้อ หมอบอกเป็นเพราะแม่ขับรถบ่อย เลยทำให้คลอดก่อนกำหนด ตอนนี้ลูกต้องให้ออกซิเจน และอยู่ในตู้อบ ฉีดยาฆ่าเชื้อ แม่ร้องไห้ทุกวันเลยค่ะ สงสารลูกเพราะแม่แท้ๆ ถ้าไม่ขี่รถบ่อยๆ ลูกคงจะไม่คลอดก่อนกำหนด ตอนนี้ก็ภาวนาขอให้ลูกหายไวๆ อยากอุ้มลูก อยากกอดลูกใจแทบขาด แต่ก็ยังทำไม่ได้ ตอนนี้ทำได้แค่มองลูกผ่านตู้อบเท่านั้น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “การเดินทางขณะตั้งครรภ์” คลิกหน้า 2

การเดินทางขณะตั้งครรภ์

โดยปกติแล้วการเดินทางของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นไม่มีข้อห้าม ยกเว้นถ้าเดินทางไกลๆ เป็นเวลานาน หรือเหนื่อยมาก คุณแม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตามปกติ เพราะการเดินทางไม่มีผลต่อการแท้ง และการคลอดก่อนกำหนด แต่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงระยะแรกๆ ต้องควรระวังอาการแพ้ท้อง ที่อาจทำให้อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ และอาจทำให้เกิดอันตรายได้ รวมถึงคุณแม่ที่เคยมีประสบการณ์แท้ง หรือคลอดก่อนกำหนด ให้ระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ และไม่ควรเดินทางไกล

วิธีการเดินทางขณะตั้งครรภ์

1.การนั่งรถ

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น อาจจะทำให้รู้สึกปวดเมื่อย การบริหารเท้าจะช่วยคลายปวดเมื่อยได้ แต่ทางที่ดีควรหยุดพักสัก 5-10 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมง

2.การขับรถ

คุณแม่สามารถขับรถได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอด แต่ในระยะแรกอาจมีอาการแพ้ท้อง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ สำหรับคุณแม่ท้องแก่นั้น ท้องอาจโตมากจนค้ำพวงมาลัย การเบรกแรงๆ อาจทำให้ท้องกระแทก ทางที่ดีคุณแม่ควรให้คนใกล้ชิดขับแทนจะดีที่สุด แต่ถ้ามีความจำเป็นก็ควรปรับที่นั่งให้เหมาะสม แต่ไม่ควรเดินทางไกล และไม่ควรนานเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “วิธีการเดินทางขณะตั้งครรภ์” คลิกหน้า 3

3.การขึ้นรถประจำทาง

การเดินทางด้วยรถประจำทาง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีข้อห้าม แต่ควรขึ้นรถที่ไม่แน่นเกินไป คุณแม่จะได้มีที่นั่งสบายๆ ไม่เบียดในรถที่มีคนแน่นๆ ที่อากาศไม่เพียงพอ เพราะคุณแม่อาจเป็นลมได้

4.การนั่งมอเตอร์ไซค์

คุณแม่ควรระมัดระวังเรื่องการกระทบกระแทก โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อ่อน เพราะอาจทำให้แท้งลูกได้ ถ้าคุณแม่ท้องโตอาจจะนั่งมอเตอร์ไซค์ลำบาก และอาจตกจากรถได้ง่าย ถ้าจำเป็นก็ควรสวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง

5.การนั่งรถไฟฟ้า

คุณแม่ควรระมัดระวังการขึ้นลงบันไดเลื่อน ระวังอุบัติเหตุ เช่น การหกล้ม กระทบกระแทก ศึกษาเส้นทางการเข้า-ออกรถไฟฟ้า เพื่อจะได้ไม่เหนื่อยมากเกินไป

6.การนั่งเรือ

การนั่งเรือที่มีขนาดใหญ่ปลอดภัยกว่าเรือขนาดเล็ก เช่น เรือหางยาว หรือเรือเร็ว เพราะอาจมีแรงกระแทก ควรเตรียมความพร้อมของร่างกายให้เพียงพอ ถ้าคุณแม่มีอาการเมาเรือควรงดนั่งเรือ

เครดิต: Noo’nus Onchoo, MedThai

อ่านเพิ่มเติม คลิก!

ขับรถตอนท้องแก่อันตรายไหม

สาเหตุและวิธีป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

ปัญหา และการดูแล “เด็กคลอดก่อนกำหนด”

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save

Save

Save