สัญญาณอันตรายของ ครรภ์เป็นพิษ ที่ควรรีบพบแพทย์
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษมักไม่ค่อยรู้ตัว แต่เมื่อโรครุนแรงขึ้นจะปรากฏอาการให้ทราบว่ามหันตภัยร้ายอยู่ใกล้ตัวเสียแล้ว ดังอาการต่อไปนี้
- ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน เพราะว่าสมองบวม เลือดออกในสมอง ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น
- จุกแน่นที่ลิ้นปี่หรือชายโครงขวา เพราะว่ามีเลือดออกในตับ
- หายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เพราะว่ามีน้ำท่วมปอด
- มีอาการบวมที่ แขน ขา ใบหน้า และเปลือกตา น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัสสาวะออกน้อย มีการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ เพราะว่าไตทำงานผิดปกติ- มีอาการบวมที่ แขน ขา ใบหน้า และเปลือกตา น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัสสาวะออกน้อย มีการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ เพราะว่าไตทำงานผิดปกติ
ครรภ์เป็นพิษ รักษาอย่างไร?
การรักษาของแพทย์จะขึ้นกับระดับความรุนแรง คุณแม่ควรสังเกตการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ วัดความดันโลหิตสม่ำเสมอและแนะนำการสังเกต สัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์ เช่นอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัวและจุกแน่นลิ้นปี่ เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน ก็สามารถรอจนครบกำหนดคลอด และสามารถคลอดได้ทางช่องคลอดในกรณีที่มีอาการรุนแรง แพทย์จะให้นอนพักที่โรงพยาบาล ให้ยาลดความดันโลหิต อาจให้ยาป้องกันชัก ตรวจอัลตราซาวด์เป็นระยะ ถ้ารุนแรงมากและมีข้อบ่งชี้อาจจำเป็นต้องให้คลอดในขณะที่อายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด เพื่อรักษาชีวิตของมารดาไว้ ซึ่งอาจกระตุ้นให้คลอดทางช่องคลอดหรือการผ่าตัดคลอด
วิธีดูแลคุณแม่ที่ป่วยครรภ์เป็นพิษหลังคลอด
ในรายที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง มีความจำเป็นต้องได้รับยาป้องกันการชักต่อจนครบ 24 ชั่วโมงหลังคลอด หากมีความดันโลหิตสูงเกิน 160/110 มิลลิเมตรปรอท อาจจำเป็นต้องได้ รับยาลดความดันโลหิต และอาจจำเป็นต้องวัดความดันโลหิตเป็นระยะ ๆ ทุก 1-2 วัน อย่างน้อยประมาณ 2 สัปดาห์ ต่อจากนั้นอาจวัดความดันโลหิตทุกสัปดาห์ จนอย่างน้อยประมาณ 6-12 สัปดาห์หลังคลอด หรือจนกว่าจะหยุดยาลดความดันโลหิต หรือตามแพทย์ที่รักษาดูแลแนะนำ
คุณแม่สามารถให้นมทารกได้ปกติ โดยยาป้องกันการชัก ไม่มีผลต่อทารกที่ได้รับนมมารดา แต่ทั้งนี้ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์ผู้ให้การดูแลรักษา
โดยทั่วไปอาการต่าง ๆ จะดีขึ้นหลังคลอด โดยหากเกิน 12 สัปดาห์หลังคลอดแล้วยังคงมีความดันโลหิตสูง อาจเป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดเรื้อรัง ควรพบแพทย์อย่างต่อเนื่องตามแพทย์นัด เพื่อทำการรักษาต่อไป
ทั้งนี้ควรเฝ้าระวังภาวะครรภ์เป็นพิษในครรภ์ต่อไป โดยควรฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่รู่ว่าตั้งครรภ์ และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
ข้อห้ามสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่ ครรภ์เป็นพิษ มีดังนี้
1. งดทำงานหนัก งดเดินชอปปิ้ง ให้พักผ่อนมาก ๆ
2. หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม
3. งดมีเพศสัมพันธ์อย่างเด็ดขาด เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์มีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น เลือดสูบฉีดจากหัวใจมากขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
จากที่กล่าวมาข้างต้นกับภาวะ ครรภ์เป็นพิษ เป็นเรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องดูแลตนเองเป็นพิเศษ ต้องคอยสังเกตตนเอง แต่จะได้ผลดียิ่งขึ้นถ้าได้ความร่วมมือจากคุณพ่อ ในการอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งเป็นกำลังใจสำคัญสำหรับคุณแม่ เพื่อสร้าง “ครอบครัวที่อบอุ่นมีลูกน้อยที่น่ารักแข็งแรง” นะคะ
ข้อมูลอ้างอิงจาก : haamor.com , siamhealth.net , 2jfk.com
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก: https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_84491
ขอบคุณภาพจาก : อินสตาแกรม @fai_arinrada_, @noom_attaporn