โรคประจำตัว ที่ควรเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์ - amarinbabyandkids

โรคประจำตัว ที่ควรเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์

Alternative Textaccount_circle
event

โรคประจำตัว ที่ควรเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิต เป็นอีกโรคที่พบบ่อยมากขึ้น เนื่องจากคุณแม่มักจะตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก แต่งงานตอนอายุเยอะ เมื่ออายุมากขึ้นก็จะทำให้มีภาวะความดันโลหิตสูงได้ง่ายตามไปด้วย  แต่หากมีความดันโลหิตสูงตอนท้องขึ้นมา จะมีปัญหาตามมามากมาย ได้แก่

    • หัวใจทำงานหนัก เพราะต้องปั๊มเลือดแรงขึ้นจากความดันที่สูง ฉะนั้นเมื่อตั้งท้อง เลือดในร่างกายที่เพิ่มขึ้นถึง 4-5 ลิตร จะทำให้หัวใจทำงานหนักมากเกินไปจนหัวใจวายได้
    • ไตวาย เนื่องจากความดันที่สูงเรื่อยๆ จะทำให้การทำงานของไตเสีย และยังส่งผลทำให้การขับถ่ายไม่ดี
    • เกิดภาวะแท้งง่าย แม้ปัจจุบันจะมียาความดัน แต่แม่ตั้งครรภ์กลุ่มที่มีความดันสูงจะแท้งง่ายกว่าปกติ เพราะว่าความดันสูงจะไปทำให้เส้นเลือดไม่แข็งแรง เลือดที่อยู่ในโพรงมดลูกจะส่งไปหล่อเลี้ยงลูกน้อยที่อยู่ในท้องไม่เพียงพอ จนแท้งได้
    • เกิดครรภ์เป็นพิษ เพราะความดันที่สูง จะมีผลอันตรายทั้งต่อแม่และลูก ลูกจะตัวเล็ก แม่มีอาการชัก หรือหมดสติทำให้เลือดและออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงลูกไม่ดี หรือไม่เพียงพอ จนเป็นอันตรายทั้งต่อลูกและแม่เป็นวงจรกันไป และบางครั้งแม่ที่ความดันสูงจากครรภ์เป็นพิษ ก็จะมีเลือดออกในสมองจนอาจถึงแก่ชีวิตได้อีกด้วย

โรคธาลัสซีเมีย

โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคที่คนไทยป่วยและเป็นพาหะโรคนี้กันค่อนข้างมาก และหลีกเลี่ยงได้ยาก เพราะเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หลายๆ คนเป็นพาหะของโรค ในขณะที่อีกหลายๆ คนเป็นโรคนี้อยู่โดยไม่รู้ตัว จนกว่าจะได้ตรวจพบ

โรคธาลัสซีเมีย แบ่งออกเป็น 3 ชนิดที่เป็นปัญหา และแสดงความผิดปกติต่างกัน นั่นคือ ธาลัสซีเมียแบบ Alpha  ธาลัสซีเมียแบบ Beta และ ธาลัสซีเมียแบบ E

ซึ่งคนที่เป็นพาหะโรคนี้ จะมีเม็ดเลือดที่เล็กและเม็ดเลือดแตกง่าย ทั้งยังเหนื่อยง่าย ออกกำลังกายนิดหน่อยก็เหนื่อย เวลาเจ็บป่วยไม่สบาย ร่างกายก็จะดูทรุดโทรมกว่าคนปกติ ซึ่งคนที่เป็นพาหะเหล่านี้จะส่งต่อสายพันธุ์ของโรคธาลัสซีเมียต่อไป และหากแต่งงานกับคู่สมรสที่เป็นธาลัสซีเมียสายพันธุ์ที่มีความรุนแรง ลูกที่เกิดมาก็จะมีอันตรายมาก เช่น

  • หากภรรยาเป็นธาลัสซีเมียแบบ Alpha มาเจอแต่งงานกับสามีที่เป็น Alpha เหมือนกัน ลูกที่เกิดมาจะมีสุขภาพแย่ หรืออาจถึงกับเสียชีวิตในครรภ์ได้ เพราะเด็กจะโลหิตจางมากจนเสียชีวิตได้ง่าย
  • หากคู่สมรสเป็นธาลัสซีเมียแบบ Beta ทั้งคู่ แม้ลูกน้อยจะยังมีชีวิตอยู่ในครรภ์ได้ แต่ก็จะเป็นเด็กที่มีตับโต ม้ามโตเมื่อคลอดออกมา ตัวเหลือง ตาเหลือง ต้องให้เลือด ใบหน้าไม่มีคิ้ว ไม่มีดั้งจมูก และอายุจะสั้นกว่าปกติ
  • แต่หากคู่สมรสเป็นธาลัสซีเมียต่างชนิดกัน เช่น ภรรยาเป็นแบบ Alpha สามีเป็น Beta กรณีนี้ลูกจะไม่ค่อยมีปัญหา หรือเกิดอันตรายรุนแรง เพราะลูกจะติดเชื้อต่างกัน คนละชนิดกัน อยู่ที่ว่าชนิดไหน อาจจะมีสายพันธุ์ต่อจากพ่อหรือแม่ ที่ไม่ได้มีผลอันตรายใดๆ แต่ถ้าเป็นธาลัสซีเมียชนิดเดียวกันแล้วมาแต่งงานกัน ความรุนแรงของโรคนี้ก็จะส่งต่อไปถึงลูกน้อยที่จะเกิดขึ้นมาได้แน่นอน

การที่คู่สามีภรรยาเป็นพาหะโรคธาลัสซีเมีย ไม่ได้หมายความว่าจะต้องหย่าร้างหรือเลิกกัน  แต่การที่ทั้งคู่ได้ตรวจก่อนตั้งครรภ์แล้วรู้ตัวเอง หรือแม้กระทั่งภรรยาท้องแล้วมารู้ทีหลังว่าเป็นธาลัสซีเมีย ทุกคนก็ยังมีลูกได้เพียงแต่การที่เรารู้ก่อนว่าคู่สมรสเป็นธาลัสซีเมียชนิดใด จะช่วยในการดูแลและพิจารณาโอกาสของลูกน้อยในท้องว่าจะเป็นธาลัสซีเมียที่รุนแรงหรือไม่

ฉะนั้นหากตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์ หรือมาฝากท้องตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ ก็จะมีประโยชน์ต่อการตรวจวินิจฉัย ทำให้เรารู้ได้ว่าลูกมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการของโรครุนแรงหรือไม่ หากไม่รุนแรงก็จะสามารถดูแลต่อไปได้อย่างไม่มีปัญหา ยกเว้นกรณีที่พบว่าลูกจะมีอาการรุนแรงอันตราย แพทย์ก็อาจจะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อความปลอดภัยของแม่หรืออื่นๆ ได้

ดังนั้นหากหลายคนกังวลใจว่าเป็นธาลัสซีเมียแล้วจะมีลูกได้ไหม ขอบอกว่ามีลูกได้ เพียงแต่ต้องมาตรวจว่าเป็นชนิดไหน มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง  เพื่อจะได้ติดตามดูแลกันภายหลังได้อย่างมีคุณภาพนั่นเอง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ติดตาม โรคประจำตัวที่ควรเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์ คลิกต่อหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up