AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แม่ท้อง ท้องเสีย กินยาอะไรได้บ้าง

คุณแม่ท้อง ท้องเสีย กินยาอะไรได้บ้าง ในช่วงตั้งครรภ์ หากคุณแม่มีอาการเจ็บป่วยไม่สบาย คงจะกังวลใจว่าจะดูแลตัวเองอย่างไร กินยาแบบไหนดี ที่ไม่มีผลต่อลูกน้อย วันนี้เราจึงมาให้ความรู้คุณแม่ในเรื่อง แม่ท้อง ท้องเสีย กินยาอะไร เพื่อที่ว่าหากคุณแม่มีอาการท้องเสียขึ้นเมื่อไรจะสามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง

แม่ท้อง ท้องเสีย กินยาอะไร

อาการท้องเสียหรืออาเจียนเป็นกลไกของร่างกายที่จะขับของเสียออกมาปกติแล้วอาการเหล่านี้มักจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง หรือเรื้อรังไม่เกิน 3 วัน จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหากับการตั้งครรภ์เพียงแต่คุณแม่ต้องระมัดระวังภาวะร่างกายขาดน้ำที่อาจก่อให้เกิดอันตรายและถ้ามีอาการนานกว่า 48 ชั่วโมง มีสัญญาณของอาการขาดน้ำ หรือมีไข้สูงควรไปพบแพทย์ทันที

อาการท้องเสียแบ่งได้ 2 กลุ่มได้แก่

1) ท้องเสียแบบติดเชื้อ คือจะถ่ายเหลว ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายบ่อย ลักษณะอุจจาระจะมีมูกเลือดหรือฟองปน ร่วมกับมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว พะอืดพะอม คลื่นไส้ ต้องไปโรงพยาบาลเท่านั้น และรักษาได้ด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อ

2) ท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อ จะมีอาการแค่ถ่ายเหลวถ่ายบ่อย 3-4 ครั้งขึ้นไป อาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วยแต่จะไม่มีไข้ ซึ่งท้องเสียแบบนี้จะหายไปได้เอง และคุณแม่สามารถดูแลตัวเองได้

กรณีคุณแม่ท้อง ท้องเสียจากการติดเชื้อซึ่งมักจะมีความรุนแรง และส่งผลต่อคุณแม่และลูกน้อยได้ โดยร่างกายของคุณแม่จะขาดน้ำเกลือแร่และสารอาหารที่จําเป็น หากเป็นนานเกินไปจะทําให้ลูกน้อยขาดสารอาหาร และการเติบโตก็ชะงักตามไปด้วย ยิ่งคุณแม่ติดเชื้อรุนแรงหรืออาหารเป็นพิษ ได้รับพิษรุนแรงจะมีไข้ ซึ่งอาการไข้อาจจะส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้ด้วย

อาการอาเจียนในคนท้อง 3 เดือนแรกอาจจะแยกอาการท้องเสียจากการแพ้ท้องได้ยาก ซึ่งถ้าไม่เคยมีอาการแพ้มาเลยช่วงก่อนอายุครรภ์ 12สัปดาห์ ก็น่าจะอาเจียนจากโรคท้องร่วงได้ คุณแม่จึงควรสังเกตความผิดปกติของตัวเองก่อนและหากไม่แน่ใจควรไปพบแพทย์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตาม คุณแม่ท้อง ท้องเสียกินยา อะไรได้หรือไม่ คลิกต่อหน้า 2

แม่ท้อง ท้องเสีย … ดูแลตัวเองอย่างไร

หากคุณแม่มีอาการท้องเสียถ่ายบ่อย 2-3 ครั้ง แต่ยังไม่มีไข้ สามารถดูแลตัวเองได้ด้วยง่ายๆ คือเราเสียน้ำเสียเกลือแร่จากการขับถ่ายไป ก็ให้คุณแม่ทดแทนน้ำและเกลือแร่ให้ได้มากเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำเปล่าก็สามารถชดเชยการเสียน้ำและเกลือแร่ได้

โดยถ้าเริ่มมีอาการใน 4-6 ชั่วโมงแรกควรใช้ผงเกลือแร่สำเร็จรูปผสมน้ำดื่ม ค่อยๆ จิบน้ำเกลือแร่ และดื่มน้ำสะอาดทุก 15 นาที เพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายเสียไป

แต่ในกรณีที่คุณแม่อาเจียนมากแล้วไม่แน่ใจว่าท้องเสียหรือแพ้ท้อง ควรรีบไปพบแพทย์ โดยการดูแลรักษาก็ทําได้เหมือนกันคือถ้าอาเจียนมากจนร่างกายมีอาการขาดน้ำต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดคือให้น้ำเกลือทดแทนร่วมกับยาแก้อาเจียนที่ปลอดภัยสําหรับคุณแม่ตั้งครรภ์เพื่อทําให้คุณแม่รับประทานอาหารอ่อนได้บ้าง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

 คุณแม่ท้อง ท้องเสีย กินอาหารอะไร

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ท้องเสียควรรับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลวเช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ไม่ควรงดรับประทานอาหารเพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลียไม่มีแรงได้ ส่วนสาเหตุที่ต้องทานอาหารอ่อนๆ เนื่องจากหลังท้องเสียลําไส้จะบวมทําให้ไม่สามารถรับอาหารที่ย่อยยากๆ ได้ เช่น ข้าวเป็นเม็ด ผักใบเขียวต่างๆ เนื้อสัตว์ นม เป็นต้น หากยิ่งรับประทานจะยิ่งไม่ย่อยและท้องเสียมากขึ้น ดังนั้น จึงแนะนำให้คุณแม่รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่ย่อยและดูดซึมง่ายนั่นเอง

สรุปคือ ควรงดอาหารที่ย่อยยากนาน 24-48 ชั่วโมง และหากถ่ายบ่อย 1-2 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์

ติดตาม คุณแม่ท้อง ท้องเสียกินยา อะไรได้หรือไม่ คลิกต่อหน้า 3

 

แม่ท้อง ท้องเสีย กินยาอะไรได้บ้าง

ยารักษาอาการท้องเสีย ที่คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานได้ นั่นคือ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

แม่ท้อง ป้องกันท้องเสีย

  1. เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกออกจากเตาใหม่ๆ งดอาหารสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารค้างคืน
  2. หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป อาหารข้างทางที่ดูไม่สะอาดและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  3. ระมัดระวังการกินน้ำแข็ง น้ำดื่ม หรือน้ำผลไม้คั้นที่ไม่สะอาด
  4. หมั่นรักษาความสะอาดล้างมือทุกครั้ง หลังจากเข้าห้องน้ำก่อนและหลังทำอาหาร และทำความสะอาดชักโครก ที่รองนั่งและปุ่มกดชักโครกด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อบ่อยๆ
  5. ป้องกันการติดเชื้อในบ้าน ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยทุกคนในครอบครัวควรมีผ้าเช็ดมือ และผ้าเช็ดตัวเป็นของส่วนตัว ไม่ใช้ปะปนกัน
  6. คุณแม่ตั้งครรภ์ควรพักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลสุขภาพร่างกายให้เข็งแรงเสมอ ไปฝากครรภ์และฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคตามที่สูติแพทย์แนะนำเสมอ

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

คุณแม่ท้องห้ามกินอะไรบ้าง?

อากาศร้อน แม่ท้อง และ เด็กเล็ก ต้องดูแลตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัย

ระวังอ่างอาบน้ำ ลูกน้อยเสี่ยงถูกดูดอาการโคม่า