พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 19-20 สัปดาห์ เป็นช่วงเวลาครึ่งทางของการตั้งครรภ์แล้วค่ะ จากนี้ไปคุณแม่จะสามารถสื่อสารกับลูกน้อยในครรภ์ได้มากขึ้น ท้องคุณแม่ใหญ่ขึ้น ลูกน้อยก็เก่งและเติบโตขึ้นทุกวัน แถมคุณแม่ยังสามารถตรวจครรภ์และเห็นหน้าลูกน้อยได้อีกด้วย
พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 19-20 สัปดาห์
อาการคนท้อง 19-20 สัปดาห์
- ขี้ร้อน และหายใจลำบาก คุณแม่จะขี้ร้อนและเหงื่อออกง่าย เพราะต่อมไทรอยด์ต้องทำงานมากขึ้นรวมถึงขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้นเริ่มไปเบียดปอด ทำให้หายใจลำบาก หรือรู้สึกหายใจหอบได้
- ผิวแตก เป็นขุย มีรอยดำ ฝ้าขึ้น มือและฝ่ามือแดงขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากเลือดที่มาเลี้ยงร่างกายคุณแม่ที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ ร่วมกับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ผิวพรรณแห้ง แพ้ มีอาการอักเสบหรือระคายเคืองได้ง่าย คุณแม่จึงควรหมั่นดูแลบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ รวมถึงทาครีมกันแดดที่มีส่วนผสมอ่อนโยนทุกวันสม่ำเสมอ เพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด และความแห้งกร้าน
- ท้องลาย คุณแม่อาจเริ่มมีริ้วรอยบริเวณหน้าท้องได้ จากการขยายตัวของผิวหนังบริเวณหน้าท้องในขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดริ้วรอยชัดเจนขึ้น และดูแลผิวที่ขยายใหญ่ให้ชุ่มชื้นไม่แห้งตึง คุณแม่ควรทาครีม หรือโลชั่นบำรุงผิวที่มีมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ให้ความชุ่มชื่น เลือกที่ไม่มีสารเคมีรุนแรง อ่อนโยนปลอดภัย ปราศจากน้ำหอม เพื่อบำรุงป้องกันผิวคุณแม่ไม่ให้แตกลายมากขึ้น และบำรุงให้ผิวชุ่มชื้นเสมอ
- ปวดแปลบบริเวณหน้าท้องช่วงล่างด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ เนื่องจากการเปลี่ยนท่าทางเร็วๆ อาจทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บ อึดอัด เพราะเมื่อคุณแม่เคลื่อนไหว จะส่งผลทำให้ลูกน้อย น้ำคร่ำ และอวัยวะต่างๆ เคลื่อนตามไปด้วย จึงอาจมีอาการจุกเสียด เจ็บแปลบได้บ้าง คุณแม่จึงควร
- เส้นเลือดขอด เมื่ออายุครรภ์ที่มากขึ้น ทำให้มดลูกขยายใหญ่ จนไปกดทับหลอดเลือดดำในช่องท้อง ความดันในหลอดเลือดจึงสูงขึ้น และทำให้หลอดเลือดเล็กๆ บริเวณโคนขา และน่องของคุณแม่ โป่งพองขึ้นจนเกิดเป็นเส้นเลือดขอด
ป้องกันเส้นเลือดขอด คุณแม่สามารถป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอด ด้วยการไม่นั่งหรือยืนห้อยขานานๆ เวลานอนควรหนุนเท้าให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับมาที่หัวใจได้ดีขึ้นค่ะ
เตือนคุณแม่ !
งดแช่น้ำร้อนและซาวน่าเพราะเป็นการเพิ่มอุณหภูมิให้ร่างกายจนเป็นอันตราย ควรดื่มน้ำให้บ่อยและเพียงพอ โดยเฉพาะขณะออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม แม่ท้องตรวจอะไรได้บ้างในช่วงนี้ คลิกต่อหน้า 2
แม่ท้องตรวจอะไรได้บ้าง …
สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์นี้ มาดูกันว่าสามารถตรวจคัดกรองความเสี่ยงหรือตรวจวินิจฉัยลูกน้อยในครรภ์ได้ด้วยวิธีใดกันบ้าง
- วัดขนาดของลูกน้อย เพื่อดูว่าลูกของเรามีการเจริญเติบโตเหมาะสมกับอายุครรภ์หรือไม่ โดยคุณหมอจะวัดขนาดศีรษะ เส้นรอบท้อง และความยาวของกระดูกต้นขา หากลูกมีการเติบโตน้อยกว่าอายุครรภ์ คุณหมออาจนัดตรวจซ้ำอีกหลายครั้งเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด เนื่องจากทารกที่มีภาวะเจริญเติบโตช้าเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของยีน ความพิการ ทุพโภชนาการ มารดาเจ็บป่วย รกผิดปกติ ตั้งครรภ์แฝด หรือตัวเล็กโดยธรรมชาติ เป็นต้น
- ดูตำแหน่งของรก โดยปกติรกมักอยู่ด้านบนของมดลูก หากพบว่ารกเกาะต่ำ อาจมีแนวโน้มว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดได้ในไตรมาสที่ 3 และมักต้องผ่าคลอด ซึ่งคุณหมอจะคอยติดตามผลอย่างใกล้ชิด
- ตรวจปริมาณของน้ำคร่ำ เพื่อดูว่าคุณแม่มีมากหรือน้อยเกินไป หากมีน้ำคร่ำน้อยกว่า 400 ซีซี เรียกว่าน้ำคร่ำน้อย ส่วนมากมักเกิดจากทารกมีความพิการมาแต่กำเนิด น้ำคร่ำรั่ว รกลอกตัวก่อนกำหนด ฯลฯ หากมีมากกว่า 2,000 ซีซี เรียกว่าน้ำคร่ำมาก เกิดจากความพิการของทารกเช่นเดียวกัน รวมไปถึงคุณแม่ที่เป็นเบาหวานแบบควบคุมไม่ได้ การตั้งครรภ์แฝด ฯลฯ
- ตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ดูโครงสร้างและอวัยวะ โดยตรวจว่าหัวใจทำงานปกติหรือไม่และตรวจโครงสร้างร่างกายต่างๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ได้แก่ ศีรษะ คอ หน้าอก หัวใจ กระดูกสันหลัง กระเพาะอาหาร ไต กระเพาะปัสสาวะ ขา แขน และสายสะดือ
- ตรวจดูภาวะดาวน์ซินโดรม โดยสังเกตความผิดปกติดังนี้ ถุงน้ำในเนื้อเยื่อสร้างน้ำไขสันหลังความหนาของเนื้อต้นคอ จุดสีขาวเข้มในหัวใจ ข้อกลางของนิ้วก้อยสั้นหรือไม่มี กรวยไตกว้าง ความเข้มของลำไส้ นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วชี้ห้างกัน ฯลฯ ซึ่งหากพบความผิดปกติ คุณหมอมักแนะนำให้ตรวจเจาะน้ำคร่ำต่อไป
- เจาะเลือดตรวจโครโมโซม และโรคทางพันธุกรรม ปัจจุบันมีการตรวจเลือดคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์ที่สามารถวินิจฉัย หรือเช็กโครโมโซมและโรคทางพันธุกรรมที่ลูกน้อยในครรภ์เป็นได้ (หรือบางคนเรียกว่า ตรวจ DNA ลูกจากเลือดแม่) โดยนวัตกรรมใหม่ล่าสุดมีความแม่นยำค่อนข้างสูง และทำให้คุณแม่ทราบผลการตรวจโดยไม่จำเป็นต้องเจาะน้ำคร่ำได้ ซึ่งหากคุณแม่สนใจสามารถปรึกษาสูติแพทย์เพื่อตรวจได้ค่ะ
- ตรวจดูเพศของลูก ในสัปดาห์ที่ 20 นี้ อวัยวะเพศของลูกมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ จึงสามารถรู้ได้ว่าลูกน้อยในครรภ์เป็นเพศใด หากคุณแม่ยังไม่อยากทราบเพศของลูก และต้องการทราบ ควรแจ้งคุณหมอที่ฝากครรภ์เพื่อตรวจอัลตราซาวนด์ดูได้ค่ะ
เลือกอัลตราซาวนด์กี่มิติดี
ปัจจุบันนี้เราสามารถอัลตราซาวด์ได้ถึง 4 มิติแล้ว คือสามารถเห็นลูกเคลื่อนไหวได้แบบเรียลไทม์ เช่น เห็นลูกกำลังหาว ดูดนิ้ว ยิ้ม กะพริบตา เป็นต้น ทำให้คุณแม่มองเห็นลูกได้ชัดเจนขึ้นและรู้สึกผูกพันมากกว่าเดิม ในขณะที่ 2 และ 3 มิติ จะเห็นเป็นภาพนิ่งเท่านั้น สำหรับการเลือกว่าจะใช้การตรวจกี่มิตินั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านกำลังทรัพย์ของคุณแม่ เพราะยิ่งชัดมากเท่าไร ราคาก็ยิ่งสูงมากเท่านั้น อย่างไรก็ตาม คุณหมอมักจะเลือกใช้การอัลตราซาวด์แบบ 2 มิติ สำหรับการวินิจฉัยความผิดปกติเป็นหลักอยู่แล้ว แต่หากคุณแม่และคุณพ่อต้องการทำอัลตราซาวด์ 4 มิติ ก็สามารถแจ้งความต้องการกับคุณหมอที่ฝากครรภ์ได้เลยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 19-20 สัปดาห์ คลิกต่อหน้า 3
พัฒนาการทารกในครรภ์ 19-20 สัปดาห์
ลูกน้อยในช่วงสัปดาห์นี้ จะมีขนาดแขน-ขา ที่สมส่วนกับร่างกายแล้ว สมองมีการขยายขนาดให่ขึ้น และสร้างเครือข่ายเส้นใยประสาท เพื่อพัฒนาสมองให้มากขึ้น และสมองกับกล้ามเนื้อของลูกน้อยยังทำหน้าที่ได้สัมพันธ์กันอย่างดี หูของลูกก็มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่เสียงดังเกินไปด้วยค่ะ
ขนาด: ประมาณ 15 – 18 เซนติเมตร น้ำหนัก: 200-290 กรัม
- น้ำคร่ำจะช่วยทำความสะอาดร่างกายของลูกและช่วยประคองให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวได้ดี
- ขนอ่อนขึ้นปกคลุมทั่วร่างกายลูกน้อย โดยเฉพาะบริเวณศีรษะ ใบหน้า และคอ ส่วนเส้นผมก็งอกอย่างรวดเร็ว
- ใบหน้าเข้ารูปมากขึ้น และลูกน้อยยังเริ่มฝึกดูดนิ้วแล้วด้วย
- ปอดของลูกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์นัก แต่ลูกก็หัดหายใจได้แล้วโดยผ่านน้ำคร่ำ
- ร่างกายของลูกผลิตขี้เทาเป็นครั้งแรกแล้ว
- ลูกน้อยใช้เวลานอนหลับ 20 ชั่วโมงต่อวัน
- อวัยวะเพศของลูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
ประสบการณ์คุณแม่ ไส้ติ่งแตกตอนตั้งครรภ์
ผ่าคลอด หรือ คลอดธรรมชาติ แบบไหนดีกว่ากัน?
จะเตรียมตัวตั้งท้อง ควรกิน และไม่กินอะไรบ้าง?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่