AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ตรวจ ลด ภาวะเสี่ยง แม่ท้องวัย 35

ตรวจ ลด ภาวะเสี่ยง แม่ท้องวัย 35 เพราะผู้หญิงยุคนี้มีลูกกันเมื่ออายุมากขึ้น ด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคมและอื่นๆ ทำให้การตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก เสี่ยงต่อภาวะอันตรายต่างๆ ทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อย ดังนั้น เราจึงนำความรู้เรื่องการตรวจ ลดความเสี่ยงแม่ท้องวัย 35 ปีขึ้นไปตามไตรมาส จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาฝากคุณแม่ เพื่อให้การท้องวัย 35 อัพครั้งนี้ปลอดภัย ลูกน้อยและคุณแม่แข็งแรงสุขภาพดีได้เสมอ

ตรวจ ลด ภาวะเสี่ยง แม่ท้องวัย 35

ไตรมาสแรก “ตรวจลดความกังวลดาวน์ซินโดรม”

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ในการตรวจหาภาวะดาวน์ซินโดรมซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีของคุณแม่ นั่นคือ

นอกจากนี้ปัจจุบันโรงพยาบาลใหญ่ๆ ของรัฐที่เป็นโรงเรียนแพทย์ ก็ใช้วิธีการตรวจนี้เป็นอีกทางเลือกให้คุณแม่ได้แล้ว

ตรวจอีก 2 เรื่องเพื่อความมั่นใจในไตรมาสแรก

เพื่อความมั่นใจในไตรมาสแรกนี้คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการตรวจอัลตราซาวนด์สักครั้งเพราะจะช่วยให้รู้โอกาสเสี่ยงเรื่องหลักๆในช่วงไตรมาสแรก ได้แก่

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตาม ตรวจลดภาวะเสี่ยง แม่ท้องวัย 35 คลิกต่อหน้า 2

ไตรมาสสอง “ตรวจเช็กอวัยวะลูกความเสี่ยงเบาหวาน”

ในช่วงไตรมาสนี้มี 2 เรื่องที่คุณหมอแนะนําให้แม่ท้องอายุมากควรรู้และใส่ใจตรวจเพื่อการรู้เร็ว และรักษาได้ทันท่วงที นั่นคือ

  1. การตรวจว่าลูกน้อยในท้องมีอวัยวะครบถ้วนปกติหรือไม่ หรือที่เรียกว่า “การตรวจความผิดปกติทางโครงสร้าง” เป็นการตรวจหาความผิดปกติทางร่างกายของทารกในครรภ์ตั้งแต่ความพิการเล็กๆ น้อยๆ ไปถึงรุนแรงด้วยการอัลตราซาวนด์ สาเหตุที่ตรวจไตรมาสนี้ เพราะร่างกายและอวัยวะทุกส่วนของลูกน้อยจะมีครบ จึงเป็นช่วงเวลาเหมาะสมและเร็วที่สุด ที่คุณหมอจะให้คําแนะนําที่เหมาะสมได้ทันท่วงที
  2. การตรวจภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจําเป็นสําหรับแม่ท้องอายุมากเพราะมีผลกระทบต่อสุขภาพของลูกน้อยและคุณแม่ในระยะยาว การตรวจจึงทำให้รู้ได้เร็วและป้องกันรักษาได้ไม่ยาก รวมทั้งยังมีเหตุผลอื่นที่คุณแม่ควรตรวจได้แก่

– คุณแม่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างนอกจากโดยธรรมชาติภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะเกิดในแม่ท้องอายุที่มากได้ง่ายแล้วคุณแม่ที่มีน้ำหนักมากและคุณแม่ที่มีญาติสายตรงเป็นเบาหวานก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

– ตรวจรักษาทําได้ไม่ยากคุณหมอจะให้คุณแม่ดื่มน้ำตาลกลูโคสหากไม่มีภาวะเบาหวานอินซูลินในร่างกายจะช่วยลดระดับน้ำตาลไม่ให้เกินเกณฑ์ปกติแต่ถ้าค่าน้ำตาลในเลือดไม่ลดลงตามเกณฑ์ที่กําหนดถือว่าอยู่ในภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์และจะแนะนําให้คุณแม่เลี่ยงของหวานควบคุมอาหารแต่ในบางรายที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้แม้จะคุมอาหารอย่างดีแล้วอาจต้องฉีดอินซูลินเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลลง

– ผลกระทบต่อสุขภาพแม่ลูกภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์มักทําให้ลูกน้อยในครรภ์ตัวโตคลอดยากคลอดติดไหล่หรือหลังคลอดแล้วสุขภาพร่างกายของลูกไม่แข็งแรงนอกจากนี้ทั้งคุณแม่และลูกน้อยยังมีแนวโน้มเป็นเบาหวานต่อไปด้วยค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตาม ตรวจ ลดภาวะเสี่ยง แม่ท้องวัย 35 คลิกต่อหน้า 3

ไตรมาสสาม ตรวจสร้างความมั่นใจ คลายกังวล

คุณหมอแนะนำว่า หากคุณแม่ได้รับการตรวจถูกช่วงเวลารวมทั้งดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมมาตลอด เมื่อมาถึงไตรมาสสามนี้แล้วถือว่าหมดห่วงไปมาก ควรทําใจให้สบายผ่อนคลายด้วยการเฝ้าดูการเจริญเติบโตของลูกน้อยและถือโอกาสวางแผนครอบครัวกับคุณพ่อจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในช่วงเวลานี้ แต่อย่างไรก็ตามในไตรมาสนี้คุณหมอแนะนําว่าคุณแม่ท้องอายุมากควรทําความรู้จักและสังเกตภาวะครรภ์เป็นพิษอีกอย่างหนึ่งเพื่อเพิ่มความมั่นใจและตรวจดูความสมบูรณ์แข็งแรงของลูกน้อยเพื่อความสบายใจมากยิ่งขึ้นค่ะ

สังเกตภาวะครรภ์เป็นพิษ อย่างไร?

– ภาวะครรภ์เป็นพิษคืออะไร เพราะในช่วงไตรมาสสุดท้ายแม่วัย 35 ปีขึ้นไป มีโอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษมากกว่ากลุ่มแม่ที่มีอายุน้อย โดยสาเหตุของครรภ์เป็นพิษยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติจากสารเคมีบางอย่างที่มีอยู่ในรก ทําให้เส้นเลือดบริเวณที่ฝังตัวของรกมีความผิดปกติ ครรภ์เป็นพิษถือเป็นภาวะอันตรายทั้งแม่และลูก แต่ก็มีระดับความรุนแรงแตกต่าง การตรวจและสังเกตเร็วจะช่วยให้รู้ได้ทันการณ์ค่ะ

– วิธีการตรวจง่าย ได้แก่ ตรวจความดันโลหิตร่วมกับตรวจปัสสาวะ คือ หากตรวจพบว่ามีความดันสูงร่วมกับมีโปรตีนรั่วปะปนมากับปัสสาวะ ส่วนจะเป็นในระดับที่รุนแรงหรือไม่คุณหมอจะทําการตรวจวินิจฉัยในขั้นต่อไป หากรุนแรงคุณหมอจะรักษาด้วยการทําคลอดก่อนกําหนด หรือยุติการตั้งครรภ์ เพื่อให้ความดันโลหิตของคุณแม่กลับมาเป็นปกติค่ะ

ตรวจความแข็งแรงของลูกน้อยในไตรมาสสุดท้าย 

คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์ถี่ขึ้นกว่าไตรมาสก่อนๆ และคุณหมอจะตรวจดูการเจริญเติบโตของลูกน้อยทุกครั้ง โดยใช้การวัดสัดส่วนและมือคลํา หากมีข้อสงสัยอาจส่งตรวจอัลตราซาวนด์ประเมินน้ำหนักทารกเป็นระยะ คุณแม่เองก็สามารถช่วยประเมินความแข็งแรงของลูกน้อยในครรภ์ได้โดยการนับลูกดิ้นหลังมื้ออาหาร หรือในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งถ้าพบความผิดปกติ เช่น ลูกดิ้นน้อยลงอย่านิ่งนอนใจ รีบมาพบแพทย์เพื่อทดสอบความแข็งแรงของลูกด้วยเครื่องมืออื่นต่อไป


ข้อมูลโดย :พญ. ณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์ สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลราชวิถี

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

คนท้องเป็นไข้ กินยาอะไรได้ ปลอดภัยไม่กระทบลูก

โรคไทรอยด์อักเสบเรื้อรังฮาชิโมโตะ ภัยเงียบเพิ่มความเสี่ยงแท้งลูก

7 เคล็ดลับง่ายๆ ส่งเสริมลูกให้ฉลาดสมวัยด้วยวิธีธรรมชาติ พ่อแม่สร้างได้!!!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids