AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ชมคลิป จำลองเหตุการณ์ “ภาวะตกเลือดหลังคลอด”

ตกเลือดหลังคลอด เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่หลังคลอดลูกทั้งแบบคลอดเองหรือผ่าคลอด คุณแม่หลังคลอดที่ถือว่ามีอาการตกเลือด คือ มีเลือดออกหลังจากการคลอดทารกและคลอดรกเสร็จสิ้น มากกว่าหรือเท่า กับ 500 มล. และมากกว่าหรือเท่ากับ 1,000 มล. ในกรณีที่ต้องผ่าท้องคลอด หรือในอีกคำจำกัดความที่ว่า มีเลือดออกหลังคลอด และ ออกปริมาณมากพอจนทำให้มีอาการผิด ปกติ เช่น ซีด วิงเวียนศีรษะ

การตกเลือดหลังคลอด เป็นภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรม แพทย์ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายต่อมารดาอย่างมาก กลไกสำคัญที่สุดที่ทำให้เลือดหยุดดีหลังคลอด คือ การหดรัดตัวของมดลูก หากมีสิ่งใดไปขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก ก็จะทำให้เสียเลือดอย่างมากจากการมีเลือดออกจากเยื่อบุมดลูกในส่วนที่เป็นรอยหลุดลอกตัวของรก

การตกเลือดหลังคลอด เป็นสาเหตุการตายของมารดาทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆ แม้ว่าโลกจะมีการพัฒนาไปมาก มีความเจริญทางด้านการแพทย์ไปอย่างมากก็ตาม การสูญเสียมารดาจากการตกเลือดหลังคลอด ยังมีให้เห็นและได้ยินกันบ่อยๆเลือดออกหลังคลอดเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก เลือดไหลเหมือนท่อประปาแตก อุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดแบบเฉียบพลัน พบประมาณ 1-5% ซึ่งคิดว่าน่าจะรายงานต่ำกว่าความเป็นจริง

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด

มีหลายปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด  เราได้รวบรวมปัจจัยเหล่านั้นซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เกิดภาวะดังกล่าวดังนี้

คลิก >> ชมคลิปจำลองเหตุการณ์ “ภาวะตกเลือกหลังคลอด”

อ่านต่อ >> “การรักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดและวิธีการป้องกันการตกเลือด” คลิกเลย

คลิปจำลองเหตุการณ์ “ภาวะตกเลือกหลังคลอด”

รักษาภาวะตกเลือดหลังคลอดอย่างไร?

ภาวะตกเลือดหลังคลอดเฉียบพลัน เป็นระยะวิกฤต ที่แพทย์ต้องให้ความช่วยเหลือด่วน ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้จะเกิดอยู่ในห้องคลอด การรักษาขึ้นกับสาเหตุ เช่น

สาเหตุที่เกิดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ที่พบบ่อยที่สุด การรักษาประกอบ ต้องด้วย…

หากให้การรักษาด้วยยาหลายขนานแล้วมดลูกยังหดรัดตัวไม่ดี แพทย์ต้องพิจารณาผ่า ตัดเพื่อทำการเย็บผูกหลอดเลือดแดง หรือเย็บมัดมดลูก และท้ายที่สุดหากยังไม่สามารถหยุดเลือดได้อีก ก็จำเป็นต้องตัดมดลูกเพื่อรักษาชีวิตแม่ไว้

ส่วนการตกเลือดหลังจากออกจากโรงพยาบาลมาพักฟื้นอยู่บ้านแล้ว หรือการตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง มักเกิดจากมีการติดเชื้อ หรือมีเศษรกค้างในโพรงมดลูกไม่มาก เลือดที่ออกมักไม่มากเหมือนระยะหลังคลอดใหม่ๆ แพทย์จะทำการตรวจภายในประเมินสภาพมดลูกก่อน จากนั้นจะทำการตรวจมดลูกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) เพื่อดูว่ามีเศษรกค้างอยู่หรือไม่ หากมีค้างจะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะก่อน แล้วพิจารณาขูดมดลูกต่อไป หากไม่มีเศษรกค้างก็จะให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งอาจให้ยากลับมารับประทานที่บ้าน หรือหากเลือด ออกมาก อาจให้นอนโรงพยาบาล เพื่อพิจารณาให้น้ำเกลือและให้เลือดร่วมด้วย

มีผลแทรกซ้อนจากภาวะตกเลือดหลังคลอดต่อมารดาอย่างไร?

ผลแทรกซ้อน หรือ ผลข้างเคียงจากภาวะตกเลือดหลังคลอดต่อมารดา ขึ้นกับปริมาณของเลือดที่เสียไป ได้แก

ป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอดได้อย่างไร?

ตามปกติ ในทุกโรงพยาบาลจะมีการฉีดยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอดให้สตรีหลังคลอดทุกรายอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การตกเลือดหลังคลอดก็ยังพบได้บ่อยๆ เป็นเหตุการณ์ที่ยากที่จะป้องกันได้ทั้งหมด สตรีตั้งครรภ์ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นนี้ได้ เพียงแต่มากน้อยต่างกัน

สตรีที่เคยเกิดการตกเลือดหลังคลอดในครรภ์แรก มีโอกาสที่จะเป็นซ้ำในครรภ์ต่อๆไปสูงกว่าคนทั่วไป ดังนั้นสตรีตั้งครรภ์จึงต้องแจ้งแพทย์ที่ดูแลตอนฝากครรภ์ว่า เคยประสบปัญหาเหล่านี้ในครรภ์ก่อน เพื่อที่แพทย์จะได้เตรียมตัว เฝ้าระวัง หรือ รีบให้ยารักษาแต่เนิ่นๆ และ

ในระหว่างการฝากครรภ์ต้องรับประทานยาบำรุงครรภ์ให้สม่ำเสมอ เพราะในยาบำรุงครรภ์จะมีธาตุเหล็ก ที่ใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดงไว้สำรองในยามที่ต้องเสียเลือดหลังคลอด อาการข้างเคียงจากการตกเลือดจะได้ไม่มาก หากมีต้นทุนสูง คือมีปริมาณความเข้มข้นของเลือดสูงอยู่เดิม


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://haamor.com/th

ขอบคุณภาพจาก www.cast-pharma.com