AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะอันตราย ตายได้ทั้งแม่และลูก

“รก” ถือเป็นแหล่งให้อาหารแก่ทารก โดยรกเกาะติดกับผนังมดลูกด้านใน พอรับเลือดแม่แล้ว จะส่งผ่านเลือดทางสายสะดือไปยังทารกในครรภ์ ทั้งนี้รกปกติจะลอกและหลุดออกมาหลังทารกคลอดไม่เกิน 30 นาที – 1 ชั่วโมง แต่หาก รกลอกตัวก่อนกำหนด ถือเป็นภาวะอันตราย เสี่ยงเสียชีวิตทั้งแม่และลูก

รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะอันตราย ตายได้ทั้งแม่และลูก

หากรกลอกตัวขณะที่เด็กยังไม่คลอด ภาวะนี้เรียกว่า รกลอกตัวก่อนกำหนด ก่อให้เกิดอันตรายทั้งแม่และลูกในครรภ์ ถือเป็นภาวะครรภ์ที่เสี่ยงสูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มีอัตราพบภาวะดังกล่าว เพียงร้อยละ 1-2 ของแม่ตั้งครรภ์ทั้งหมด ส่วนอีก ร้อยละ 1 ของคุณแม่เสียชีวิตเพราะภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด สาเหตุเนื่องมาจากเลือดออกอย่างรุนแรง มีการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ และไตวายจากการสูญเสียเลือด จนเกิดการช็อก

 อาการของภาวะ รกลอกตัวก่อนกำหนด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตาม ใครบ้างที่มีความเสี่ยงรกลอกตัวก่อนกำหนด คลิกต่อหน้า 2

ใครบ้างมีความเสี่ยง รกลอกตัวก่อนกำหนด

ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดนั้น ส่วนใหญ่จะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่วิเคราะห์ได้ว่า แม่ที่เข้าข่ายต่อไปนี้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนด

  1. แม่ที่มีอายุมากกว่า 30 ปี
  2. มีลูกมากกว่า 1 คน
  3. สูบบุหรี่
  4. ตั้งครรภ์ และมีน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์
  5. ตั้งครรภ์แฝดสองขึ้นไป
  6. ตั้งครรภ์แฝดน้ำ
  7. เกิดการกระทบกระเทือนที่มดลูก หรือ ท้อง
  8. มีโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โดยจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดมากกว่า คุณแม่ที่ไม่มีโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังถึง 3 เท่า
  9. คุณแม่มีภาวะแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่น เกล็ดเลือดต่ำ โรคเลือดไหลออกง่าย หรือ เฮโมฟีเลีย โรคขาดโปรตีนซี
  10. เคยมีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด อันนี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ร้ายแรงที่สุด หากเคยมีประวัติมาก่อน จะเกิดรกลอกตัวในท้องปัจจุบันสูงกว่าคนไม่เคยเป็นถึง 6-20 เท่า
  11. ทารกพิการ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดนี้สัมพันธ์กับทารกพิการ โดยพบทารกพิการร่วมกับภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดประมาณร้อยละ 4.4 ซึ่งสูงกว่าที่พบในคนทั่วไป 2 เท่า ส่วนพิการรุนแรงจะพบมากกว่าคนทั่วไป 3-5 เท่า

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตาม การรักษาภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด คลิกต่อหน้า 3

การรักษา ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

ในทางการแพทย์จะแบ่งภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ตามความรุนแรง 4 ระดับ ดังนี้

หากเป็นความรุนแรงที่ 0 อาจรอดูอาการก่อน

หากเป็นความรุนแรงที่ 1 ควรให้คลอดโดยอาจคลอดทางช่องคลอด หรือ ผ่าตัดคลอด แล้วแต่การเฝ้าดูอาการ

หากเป็นความรุนแรงที่ 2 ต้องรีบคลอด ส่วนใหญ่ต้องผ่าคลอด มิฉะนั้นทารกในครรภ์จะเสียชีวิต

หากเป็นความรุนแรงที่ 3 ต้องให้คลอด โดยแพทย์ต้องดูแลรักษา อาการ ช็อก และการแข็งตัวผิดปกติของเลือด ควบคู่กันไปด้วย

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ปากมดลูกเปิดเป็นยังไง แม่ท้องรู้ไว้ก่อนเข้าห้องคลอด!

ผ่าคลอด หรือ คลอดธรรมชาติ แบบไหนดีกว่ากัน?

6 อาหาร ช่วยแม่ท้องเร่งคลอดแบบธรรมชาติ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids