เมื่อลูกน้อยของคุณแม่ออกมาสู่โลกภายนอก คุณแม่อาจคิดว่ากระบวนการคลอดได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ที่จริงแล้วยังเหลือขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญคือการคลอดรก คุณแม่หลายคนอาจจะสงสัยว่ารกและการ คลอดรก คืออะไร เรามาทำความรู้จักกันจากบทความนี้ค่ะ
รก คืออะไร
รกเป็นอวัยวะที่สร้างขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ รกนั้นจะเกาะที่ผนังมดลูกและมีสายสะดือเชื่อมรกและทารกไว้ ส่วนใหญ่แล้วรกจะเกาะตัวที่มดลูกด้านบนหรือด้านข้าง รกถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญมากเพราะทารกจะได้รับสารอาหารและออกซิเจนจากทางรก และยังขับถ่ายของเสียผ่านรกด้วยค่ะ
คลอดรก คืออะไร
รกเป็นอวัยวะที่เชื่อมระหว่างคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ เพราะฉะนั้นแล้วเมื่อลูกน้อยของคุณแม่ออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว รกจึงหมดหน้าที่และมดลูกจะทำการบีบตัวเพื่อขับให้รกหลุดจากผนังมดลูกและขับเคลื่อนออกมาทางช่องคลอด เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้จึงจะถือได้ว่าการคลอดนั้นเสร็จสิ้น เมื่อรกหลุดออกมาจากช่องคลอดแล้ว คุณหมอจะทำการตรวจเช็คว่าการคลอดรกนั้นสมบูรณ์หรือไม่ เพราะหากมีรกค้างอยู่ในมดลูก จะเกิดอันตรายแก่คุณแม่ โดยปกติแล้วการคลอดรกจะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีค่ะ
เมื่อคุณหมอทำการ คลอดรก เย็บแผล และตรวจร่างกายของคุณแม่เรียบร้อยแล้ว อีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญคือการใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยและให้นมแม่ทันทีหลังคลอด หากเป็นไปได้ คุณแม่ควรขอให้พยาบาลพาลูกน้อยมาดูดนมแม่ทันที เนื่องจากการที่คุณแม่สามารถให้นมลูกได้เร็วเท่าไร ยิ่งทำเป็นการกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้เร็วขึ้นเท่านั้นค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ความเสี่ยงที่อาจเกิดระหว่าง คลอดรก คลิกหน้า 2
ความเสี่ยงที่อาจเกิดระหว่างคลอดรก
ความเสี่ยงของการคลอดรก มีดังต่อไปนี้
-
รกค้าง
ภาวะรกค้างคือการที่มดลูกไม่สามารถขับรกออกมาได้ภายใน 30 นาที ไม่ว่าจะเป็นรกเพียงบางส่วนหรือรกทั้งอัน ถ้ารกไม่สามารถออกมาได้ คุณแม่อาจจะได้รับการติดเชื้อหรือตกเลือด ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ค่ะ
คุณแม่กลุ่มใดบ้างที่ความเสี่ยงที่จะเจอกับภาวะรกค้าง
คุณแม่ที่เข้าข่ายดังต่อไปนี้มีโอกาสที่จะเจอกับภาวะรกค้างค่ะ
- คุณแม่ที่มีอายุเกิน 30 ปี
- คุณแม่ที่คลอดก่อนกำหนด
- คุณแม่ที่ปวดท้องคลอดหรือคลอดนาน
- คุณแม่ที่ลูกน้อยเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีภาวะรกค้าง
หากคุณแม่เจออาการหลังคลอดดังต่อไปนี้ ให้สงสัยไว้ก่อนค่ะว่าคุณแม่อาจจะเจอกับภาวะรกค้าง
- มีไข้
- ตกขาวมีกลิ่นเหม็นและมีชิ้นส่วนของการคลอดติดมา
- มีเลือดออกจำนวนมาก
- มีอาการปวดอย่างรุนแรง
- วิธีการรักษาภาวะรกค้าง
ภาวะรกค้าง รักษาอย่างไร
วิธีการรักษาภาวะรกค้างทำได้หลายวิธี เช่น
- คุณหมออาจจะใช้มือล้วงรกออกจากมดลูก แต่วิธีนี้จะเสี่ยงการติดเชื้อค่ะ
- คุณแม่อาจจะต้องรับยาเพื่อให้มดลูกบีบตัวและขับรกออกจากมดลูก
- ในบางกรณี การให้นมลูกสามารถช่วยในเรื่องภาวะรกค้างได้ เนื่องจากระหว่างที่คุณแม่ให้นมลูก ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนที่ทำให้มดลูกบีบตัวค่ะ
- หากวิธีดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผล คุณแม่จะต้องรับการผ่าตัดเพื่อเอารกค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ความเสี่ยงที่อาจเกิดระหว่างคลอดรก คลิกหน้า 3
การตกเลือดหลังคลอด
การตกเลือดหลังคลอด คือ การที่คุณแม่เสียเลือดหลังคลอดมากผิดปกติ มักจะเกิดหลังคลอดรกแล้ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมดลูกบีบตัวไม่ดี หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ปากช่องคลอดหรือเส้นเลือดในมดลูกฉีกขาด เป็นต้น
- คุณแม่กลุ่มใดบ้างที่ความเสี่ยงที่จะเจอกับภาวะตกเลือดหลังคลอด
- คุณแม่ที่มีปัญหารกลอกตัวก่อนกำหนดหรือรกเกาะต่ำ
- คุณแม่ท้องแฝด
- คุณแม่ที่มีความดันเลือดผิดปกติระหว่างคลอด
- คุณแม่ที่เคยคลอดลูกมาแล้วหลายคน
- คุณแม่ที่ใช้เวลาทำคลอดนาน
- คุณแม่ที่มีภาวะติดเชื้อ
- คุณแม่ที่น้ำหนักตัวมาก
- คุณแม่ที่คุณหมอใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศในการคลอด
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีการตกเลือดหลังคลอด
หากคุณแม่มีอาการหลังคลอดดังต่อไปนี้ ให้สงสัยไว้ก่อนค่ะว่าคุณแม่อาจตกเลือดหลังคลอดค่ะ
- เลือดไหลไม่หยุด
- ความดันเลือดต่ำลง
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- เม็ดเลือดแดงมีจำนวนลดลง
- ช่องคลอดบวมและเจ็บเนื่องจากมีเลือดคั่ง
- วิธีรักษาอาการตกเลือดหลังคลอด
ตกเลือดหลังคลอด รักษาอย่างไร
หากคุณแม่มีอาการตกเลือดหลังคลอด คุณหมอจะรีบทำการหาสาเหตุของการตกเลือดและรักษา ดังนั้นวิธีการรักษาจึงมีหลายวิธี เช่น
- อาจจะใช้ยาหรือนวดมดลูกเพื่อกระตุ้นการบีบตัวของมดลูก
- การผ่าตัดมดลูกผ่านกล้องเพื่อสาเหตุการตกเลือด
- การผ่าตัดมดลูกออก ซึ่งคุณหมอจะเลือกเป็นวิธีสุดท้าย หากวิธีอื่นไม่ได้ผล
ทางทีมงานหวังว่าคุณแม่จะได้ความรู้เกี่ยวกับการคลอดรกจากบทความเพิ่มขึ้นนะคะ ขอให้คุณแม่ใกล้คลอดทุกท่านคลอดลูกน้อยอย่างราบรื่นและไม่มีปัญหาการคลอดรก ค่ะ
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ คลิก
มดลูกบีบตัวบ่อย ฉันกำลังจะคลอดหรือเปล่า?
แชร์ประสบการณ์ แม่คลอดลูกติดเชื้อในกระแสเลือด แต่ได้นมแม่จึงรอดปลอดภัย
ที่มา: www.natural-parenting-advice.com, www.parents.com, www.healthline.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่