รกเป็นอวัยวะมหัศจรรย์ เปรียบเสมือนสายใยที่เชื่อมต่อคุณแม่และลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ หากรกมีความผิดปกติ จะเกิดอันตรายกับลูกน้อยที่อยู่ในท้องคุณแม่ได้ เรามาทำความรู้จักกันค่ะว่า รกคืออะไร และอาการ รกผิดปกติ มีอะไรบ้าง
รกคืออะไร
รกเป็นอวัยวะที่สร้างขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ รกนั้นจะเกาะที่ผนังมดลูกและมีสายสะดือเชื่อมรกและทารกไว้ ส่วนใหญ่แล้วรกจะเกาะตัวที่มดลูกด้านบนหรือด้านข้าง รกถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญมากเพราะทารกจะได้รับสารอาหารและออกซิเจนจากทางรก และยังขับถ่ายของเสียผ่านรกด้วยค่ะ
รกผิดปกติ ร้ายแรงกว่าที่คุณคิด
อาการ รกผิดปกติ มีด้วยกันหลายอาการ เช่น
1. ภาวะรกเสื่อม
ภาวะรกเสื่อม (Placental insufficiency) คือภาวะที่รกไม่สามารถส่งสารอาหารไปยังทารกในท้องได้ค่ะ เนื่องจากรกมีความผิดปกติ ไม่สามารถเติบโตหรือทำงานได้เต็มที่ ภาวะรกเสื่อมนี้จะมีผลต่อการเจริญเติบโตต่อลูกน้อยของคุณแม่และทำให้น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่าปกติด้วย
จะรู้ได้อย่างไรว่ารกเสื่อม
ภาวะรกเสื่อมมักไม่มีอาการแจ้งเตือน แต่อาจจะสังเกตได้หากคุณแม่รู้สึกว่าลูกในท้องขยับตัวหรือเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติค่ะ
วิธีป้องกันและรักษา
คุณหมอจะทำการอัลตราซาวด์ เพื่อดูยอดมดลูก ขนาดของรก และหัวใจของลูกน้อย เพื่อตรวจดูการเจริญเติบโตของลูกคุณแม่ว่ามีปัญหาไหมค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ 5 อาการผิดปกติของรก ที่แม่ท้องต้องรู้ คลิกหน้า 2
2. รกตายเพราะขาดเลือด
รกตายเพราะขาดเลือด มักเกิดจากเส้นเลือดในรกมีปัญหา ส่งผลให้เลือดไหลเวียนน้อยลง ทำให้คุณแม่มีความดันโลหิตสูง การที่เลือดไหลเวียนน้อยลงจะทำให้ทารกโตช้าและอาจจะเสียชีวิตในครรภ์ได้
จะรู้ได้อย่างไรว่ารกตายเพราะขาดเลือด
คุณแม่ที่เจอปัญหานี้มักไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็น แต่บางครั้งอาจจะมีเลือดออกมาบ้าง
วิธีป้องกันและรักษา
นอกเหนือจากอัลตราซาวด์เพื่อตรวจว่ารกทำงานดีหรือไม่ คุณหมอจะตรวจดูทารกน้อยในครรภ์ว่ายังแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ด้วย
3. ภาวะรกเกาะต่ำ
รกเกาะต่ำ (placenta previa) คือการที่รกฝังตัวอยู่ตำแหน่งล่างของมดลูกและไปปิดปากมดลูก ในกรณีที่รกไปปกคลุมปากมดลูกจนหมด คุณแม่จะไม่สามารคลอดเองได้ ต้องผ่าตัดคลอด ภาวะรกเกาะต่ำมักจะเกิดกับคุณแม่อายุมาก คุณแม่สูบบุหรี่ หรือคุณแม่ที่เคยผ่าตัดคลอดในท้องที่แล้วค่ะ
จะรู้ได้อย่างไรว่ารกเกาะต่ำ
คุณแม่ที่มีปัญหารกเกาะต่ำมักมีเลือดออกในช่วงตั้งท้องระยะสุดท้าย
วิธีป้องกันและรักษา
หากเป็นการตั้งครรภ์ระยะที่สอง เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูก คุณแม่อาจจะจำเป็นต้องนอนนิ่ง เพื่อไม่ให้เลือดออกค่ะ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น คุณแม่อาจจะนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลและคุณหมอจะทำการให้เลือดคุณแม่ค่ะ หากยังมีอาการเลือดออกอีก คุณแม่จะต้องอยู่ในความดูแลของคุณหมอที่โรงพยาบาล จนกว่าทารกน้อยในครรภ์คุณแม่จะแข็งแรงพอที่จะออกมาสู่โลกภายนอก
ในระยะการตั้งครรภ์ที่สามหรือระยะสุดท้าย หากอายุครรภ์ของคุณแม่อยู่ที่สัปดาห์ที่ 34 แล้ว คุณหมออาจจะตัดสินใจผ่าตัดคลอดค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ 5 อาการผิดปกติของรก ที่แม่ท้องต้องรู้ คลิกหน้า 3
4. รกลอกตัวก่อนกำหนด
รกลอกตัวก่อนกำหนด (placenta abruption) คือภาวะที่รกบางส่วนลอกตัวออกจากมดลูก ซึ่งทำให้คุณแม่มีเลือดออกได้ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดอาจะทำให้ทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เติบโตช้าและคลอดก่อนกำหนด
จะรู้ได้อย่างไรว่ารกลอกตัวก่อนกำหนด
หากคุณแม่มีอาการดังต่อไปนี้ ให้คุณแม่ตั้งข้อสงสัยว่าคุณแม่อาจจะเจอภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
- เลือดออกทางช่องคลอด
- ปวดมดลูก
- มดลูกบีบรัดตัวไม่หยุด
- อัตราการเต้นหัวใจของทารกในครรภ์ผิดปกติ
วิธีป้องกันและรักษา
คุณแม่อาจจะนอนพักที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจเลือดและทารกในครรภ์ ในกรณีที่เลือดออกมาก คุณแม่อาจจะต้องได้รับการผ่าตัดคลอดเร่งด่วนค่ะ
5. รกงอกติด
รกงอกติด (placenta accreta) คือรกที่ฝังตัวที่ผนังมดลูกด้านในลึกจนเกินไป ทำให้รกไม่สามารถหลุดออกมาได้หลังจากคลอดทารกแล้ว ส่วนใหญ่แล้วภาวะรกงอกติดมักเกิดกับคุณแม่ที่มีแผลที่มดลูก เช่นคุณแม่ที่เคยผ่าตัดคลอดมาก่อนค่ะ
จะรู้ได้อย่างไรว่ารกงอกติด
คุณแม่ที่เจอปัญหารกงอกติดมักจะมีเลือดในช่วงการตั้งครรภ์ระยะสุดท้าย
วิธีป้องกันและรักษา
คุณแม่ที่เจอปัญหานี้มักจะเสียเลือดหลังคลอดมาก ปกติคุณหมอจะผ่าตัดเอารกออกเพื่อยับยั้งการไหลของเลือด หากเลือดยังไม่หยุดไหล คุณหมอจำเป็นต้องตัดมดลูกทิ้งค่ะ
ฟังดูแล้วอาการ รกผิดปกติ ดูน่ากลัวใช่ไหมค่ะ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ ด้วยวิวัฒนาการการแพทย์สมัยใหม่ คุณหมอสามารถช่วยดูแลคุณแม่และลูกน้อยในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย เพียงแต่คุณแม่ต้องอย่าละเลยสัญญาณเตือนต่างๆ หากรู้สึกว่ามีความผิดปกติเกิดระหว่างท้องและอย่าลืมไปพบคุณหมอตามนัดทุกครั้งด้วยนะคะ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก
สายสะดือพันคอทารก ในครรภ์แม่จะรู้ได้อย่างไร?
ลูกน้อยเสียชีวิตในครรภ์ ภาวะที่คุณแม่ต้องระวัง
ที่มา: www.nhs.uk, www.cerebralpalsy.org, www.birthinjuryjustice.org, www.mayoclinic.org
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่