คุณอาจไม่ทราบว่า… คุณแม่ตั้งครรภ์ในประเทศไทยมีภาวะครรภ์เป็นพิษถึง 5-8% และมีคุณแม่ตั้งครรภ์ถึง 10-15% ที่เสียชีวิตจากภาวะนี้ ดังนั้นภาวะครรภ์เป็นพิษ จึงเป็นภาวะที่อันตรายมากต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และชีวิตของลูกน้อยในครรภ์ แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยี ตรวจครรภ์เป็นพิษ เพื่อทราบความเสี่ยงและความรุนแรงของการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ ซึ่งจะทำให้แพทย์ได้ติดตามอาการ และวางแผนการดูแลรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้คุณแม่สามารถดูแลตัวเองให้ลูกน้อยมีความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีใหม่ ตรวจครรภ์เป็นพิษ รู้เร็ว รู้ไว
ภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่ และลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั้งคุณแม่และลูกน้อย สำหรับสาเหตุของครรภ์เป็นพิษ ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการพัฒนาของรกที่ผิดปกติ และปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น
- ตั้งครรภ์ในขณะอายุน้อยกว่า 20 ปี
- ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 40 ปี
- เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก
- มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
- ตั้งครรภ์แฝด
- เคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจในครอบครัว
- มีประวัติการตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
- มีภาวะเลือดแข็งตัวง่าย
- มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ไต เบาหวาน โรคแพ้ภูมิตนเอง (SLE) หรือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม เทคโนโลยีใหม่ รู้เร็ว รู้ไว ความเสี่ยง ครรภ์เป็นพิษ คลิกต่อหน้า 2
ภาวะครรภ์เป็นพิษ มักเกิดหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์จนถึง 48 ชั่วโมงหลังคลอด ส่วนใหญ่จะพบภาวะนี้หลังอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ โดยจะมีอาการแสดงคือ มีความดันโลหิตสูง 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ร่วมกับตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 300 มิลลิกรัมใน 24 ชั่วโมง
ครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะที่อันตรายรุนแรงต่อคุณแม่และลูกน้อย
– ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อคุณแม่คือ ชัก การทำงานของไตผิดปกติหรือไตวาย ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด มีเลือดออกในระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะเลือดออกในสมอง น้ำท่วมปอด
– ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ ทำให้ลูกเจริญเติบโตช้า คลอดก่อนกำหนด คลอดน้ำหนักตัวน้อย และลูกน้อยเสียชีวิต
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ตรวจครรภ์เป็นพิษ รู้ความเสี่ยงได้แม่นยำ รวดเร็ว
ล่าสุดได้มีเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัย ภาวะครรภ์เป็นพิษ ที่มีความก้าวหน้าอีกขั้น โดยการนำสารบ่งชี้ภาวะครรภ์เป็นพิษ มาใช้วัดระดับโปรตีนสำคัญ 2 กลุ่ม นั่นคือ
- กลุ่มแรกเป็นโปรตีนส่งเสริมการสร้างหลอดเลือด หรือ PIGF (Placental Growth Factor)
- กลุ่มของโปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างหลอดเลือด หรือ sFlt-1 (Soluble Fms-like Tyrosine Kinase-1)
โดยใช้วินิจฉัยร่วมกับวัดการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดที่เลี้ยงมดลูก (Uterine Artery) ซึ่งคุณแม่ควรจะตรวจในช่วงอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ การให้การรักษาก่อนอายุครรภ์ 16 สัปดาห์จะสามารถป้องกัน ภาวะครรภ์เป็นพิษ และภาวะทารกเจริญเติบโตช้าได้ถึง 50-55%
ติดตาม เทคโนโลยีใหม่ รู้เร็ว รู้ไว ความเสี่ยง ครรภ์เป็นพิษ คลิกต่อหน้า 3
ตรวจง่าย ไม่ยุ่งยาก
การ ตรวจครรภ์เป็นพิษ นี้ ทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยากเพียงแค่ เจาะเลือดบริเวณแขนของคุณแม่ตั้งครรภ์ จากนั้นนำไปตรวจโดยใช้สารบ่งชี้ และวินิจฉัยด้วยเครื่องมืออัตโนมัติที่แม่นยำและรวดเร็ว เพียง 18-20 นาที ก็ทำให้รู้ผลว่ามีความเสี่ยงหรือไม่
หากผลบ่งชี้ว่า มีความไม่สมดุลระหว่างโปรตีนทั้ง 2 กลุ่มนี้ คือ หากโปรตีนส่งเสริมการสร้างหลอดเลือดมีระดับต่ำลง แต่โปรตีนที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างหลอดเลือดมีระดับสูงขึ้น ประกอบกับการไหลเวียนเลือดที่หลอดเลือดเลี้ยงมดลูกไม่ดี จะทำให้แพทย์รู้ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าคุณแม่มีโอกาสสูงในการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถพยากรณ์โรค และดูแลรักษาคุณแม่ได้ตั้งแต่เริ่มเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ รวมถึงป้องกันอันตรายและลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดต่อคุณแม่และลูกน้อยได้ นอกจากนี้ยังส่งผลให้แพทย์สามารถวางแผนการเฝ้าระวังรักษาภาวะต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้คุณแม่ปลอดภัย และลูกน้อยเกิดมาได้อย่างแข็งแรงสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม คุณหมอขอแนะนำให้คุณแม่ที่วางแผน หรือกำลังตั้งครรภ์ อย่าละเลยการฝากครรภ์ ควรหมั่นไปตรวจสุขภาพครรภ์ตามแพทย์นัดสม่ำเสมอ เพราะหากพบความเสี่ยงเช่นครรภ์เป็นพิษ แพทย์จะได้วางแผนการรักษาได้ทัน เพื่อให้ลูกเกิดรอด และแม่ปลอดภัยนั่นเอง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ตรวจความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ ชนิดนี้ ได้ที่ไหนบ้าง ?
ปัจจุบันการเจาะเลือดตรวจ PIGF และ sFlt-1 อาจยังไม่แพร่หลายในโรงพยาบาลทั่วไปมากนัก แต่จะมีอยู่ในโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัยของรัฐ และโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำระดับประเทศเท่านั้น
ข้อมูลจาก รศ.ดร.นพ. บุญศรี จันทร์รัชชกูล สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
บทความโดย กองบรรณาธิการ นิตยสาร Amarin Baby & Kids
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ