จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกหัวเล็ก?
จริงอยู่ว่าวิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิก้าคือไม่ควรให้ยุงกัด แต่เนื่องจากแม่ท้องไม่สามารถระวังยุงไม่ให้กัดได้ทุกตัว และคงจะเป็นไปไม่ได้เลยว่าจะไม่โดนยุงกัดตลอดการตั้งครรภ์ จึงมีข้อสงสัยว่าหากโดนยุงกัด จะมีโอกาสติดเชื้อไวรัสซิก้าเลยหรือไม่? คำตอบคือ แม้ว่าโอกาสจะติดเชื้อน้อย (แต่หากอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสนี้ โอกาสที่จะติดเชื้อก็จะมากขึ้นตามสถานการณ์นั้น ๆ) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสติดเชื้อเลย
การจะทราบได้ว่าลูกอยู่ในภาวะศีรษะเล็กหรือไม่นั้น มักจะตรวจพบได้ตั้งแต่ตอนที่ลูกคลอด หรืออาจพบเมื่อตรวจการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กหลังคลอดแล้วเท่านั้น ดังนั้น หากสงสัยว่า ลูกหัวเล็ก กว่าปกติหรือมีการเจริญเติบโตผิดปกติ โดยอาจมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย
- มีขนาดเส้นรอบวงของศีรษะเล็กกว่าเด็กในวัยและเพศเดียวกัน แต่ไม่มีความผิดปกติอื่น ๆ
- บางรายอาจมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติ แต่บางรายอาจมีความผิดปกติในการเรียนรู้ ซึ่งอาการจะไม่แย่ลงเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น ส่วนในรายที่มีอาการรุนแรงมากก็อาจพบว่ามีหน้าผากที่ลาดเอียงไปทางด้านหลังด้วย รวมไปถึงอาจพบอาการอื่น ๆ เช่น
- มีความผิดปกติในการทรงตัวและการประสานงานกันของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย
- พัฒนาการล่าช้า เช่น ด้านการยืน การนั่ง และการเดิน เป็นต้น
- มีความผิดปกติในการกลืนและการรับประทานอาหาร
- สูญเสียการได้ยิน
- ซุกซนผิดปกติ หรือไม่มีสมาธิ
- มีปัญหาในการพูดและการมองเห็น
- สมองและระบบประสาทอื่น ๆ มีความผิดปกติ
- ตัวเตี้ยกว่าปกติ
- ชัก
วิธีป้องกันภาวะลูกหัวเล็กในแม่ท้อง
แม่ท้องสามารถป้องกันความเสี่ยงในการเกิดภาวะ ลูกหัวเล็ก ได้ในเบื้องต้น ดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และรับประทานวิตามินเตรียมตั้งครรภ์
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้ยาเสพติด
- พยายามอยู่ให้ห่างจากสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
- ระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อ ควรล้างมือบ่อย ๆ และหากเจ็บป่วยด้วยโรคใด ๆ ควรรับการรักษาในทันที
- หากเลี้ยงแมว ควรให้ผู้อื่นเปลี่ยนกระบะทรายแทน เพราะอุจจาระแมวอาจทำให้ติดเชื้อที่ก่อโรคทอกโซพลาสโมซิส ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะ ลูกหัวเล็ก ได้ (อ่านต่อ คนท้องกับแมว เลี้ยงแมวตอนท้องเสี่ยงลูกพิการ)
- ใช้สารป้องกันแมลงเมื่อต้องไปพื้นที่ที่มียุงชุกชุม เพราะการถูกยุงที่มีเชื้อไวรัสซิกากัดขณะตั้งครรภ์ก็อาจเป็นสาเหตุของภาวะศีรษะเล็กในทารกได้เช่นกัน
- หากกังวลว่าอาจเกิดภาวะลูกหัวเล็กจากสาเหตุทางพันธุกรรม ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงดังกล่าวประกอบการวางแผนมีบุตรในอนาคต
ในช่วงที่แม่ท้องตั้งครรภ์ สิ่งที่ต้องระวังคือการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะจริงอยู่ที่เชื้อเหล่านี้ไม่สามารถทำอันตรายต่อแม่ท้องได้มาก เนื่องจากร่างกายของผู้ใหญ่มีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว แต่เชื้อเหล่านี้กลับเป็นอันตรายต่อลูกในท้องได้ โดยในบางเชื้อ อาจทำอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรระวังอย่าให้ยุงกัดและหลีกเลี่ยงอันตรายต่าง ๆ ที่อาจทำให้ติดเชื้อได้นะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
วิธีกำจัดยุง ป้องกันไข้เลือดออก และไวรัสซิกา
7 สัญญาณ อันตรายระหว่างตั้งครรภ์ ที่แม่ท้องต้องรีบหาหมอ
แม่เล่า ขาดกรดโฟลิก ตอนท้อง ลูกเกิดมาพิการเป็นโรคนี้..แต่กำเนิด
ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจหมอแล็บแพนด้า, รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์, พบแพทย์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่