AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

อาการของคนท้อง เริ่มต้นด้วยการนับประจำเดือน

“คุณแม่จำได้หรือไม่คะ ว่าประจำเดือนครั้งล่าสุดมาวันไหน?” คำถามยอดฮิตที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะได้ยินทุกครั้งเมื่อไปหาหมอที่โรงพยาบาล ซึ่งการนับประจำเดือนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้ทราบถึง อาการของคนท้อง ทั้งสามารถบอกโรค กำหนดการคลอด และอายุของลูกได้อย่างแม่นยำ

การนับประจำเดือนนั้น สำคัญไฉน?

หนึ่งในทีมงานได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองสงสัยมานาน ว่าทำไมทั้งหมอ และพยาบาล ต้องคอยถามเสมอว่า “ประจำเดือนครั้งสุดท้าย มาเมื่อไหร่?” จึงสอบถามเพื่อนที่เป็นสูตินรีแพทย์ โดยเพื่อนเล่าว่า

หากมาหาหมอด้วยสาเหตุของการปวดประจำเดือน ยกตัวอย่างเช่น ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาเยอะผิดปกติ มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ปวดท้องขณะมีประจำเดือนมากจนทนไม่ไหว หรือปวดท้องน้อย หากมีอาการแบบนี้หมอก็อาจจะต้องสงสัยไว้ก่อนเลยว่า อาจจะเกี่ยวข้องกับ “อวัยวะภายใน” ซึ่งงานนี้ก็อาจจะต้องซักประวัติกันอย่างละเอียดกว่าเดิม

โดยจะเริ่มจากวันแรกของการมี ประจำเดือนครั้งล่าสุด ซึ่งหมอจะถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของรอบเดือนใหม่ เนื่องจากไม่มีการปฏิสนธิ ร่างกายก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเก็บเยื่อบุโพรงมดลูกไว้ให้กับตัวอ่อนได้ฝังตัว เนื้อเยื่อที่คอยสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนก็จะฝ่อไป พอเยื่อบุโพรงมดลูกไม่ได้รับฮอร์โมน ก็จะสลายกลายเป็นประจำเดือน นั่นเอง

วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย นับอายุของเด็กในท้องได้

แต่ถ้าหากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น เนื้อเยื่อที่คอยสร้างฮอร์โมนก็ยังคงอยู่เพื่อทำหน้าที่ต่อ ตัวอ่อนก็ยังฝังอยู่กับเยื่อบุโพรงมดลูก ประจำเดือนเดือนถัดไปก็จะขาด พอมารู้อีกทีก็ตั้งครรภ์เสียแล้ว หมอก็จะใช้วันแรกของการมี ประจำเดือนครั้งสุดท้าย นี่ละ ไว้นับอายุของเด็กในท้อง และวันที่ครบกำหนดคลอด 

แต่ถ้าคุณแม่จำไม่ได้ว่ามีประจำเดือนมาวันไหน หมอก็จะใช้วิธีการรอตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อยืนยันอายุครรภ์อีกครั้งนึง แต่ก็มีโอกาสที่จะคลาดเคลื่อนได้ หากเทียบกับการนับวันแรกของประจำเดือนครั้งล่าสุด

ซึ่งคุณหมอที่เป็นเพื่อนกับทีมงานได้อธิบายต่ออีกว่า นอกจากหมอจะถามวันที่แล้ว หมอก็ยังจะถามถึงระยะเวลาของการมี ประจำเดือนครั้งล่าสุด นั้นด้วยว่า มาทั้งหมดกี่วัน ซึ่งค่าเฉลี่ยปกตินั้นจะอยู่ระหว่าง 2 – 6 วัน หรือ 4 วัน และไม่ใช่แค่นั้นนะคะ หมอจะถามเจาะลึกลงไปอีกว่า แล้วปริมาณผ้าอนามัยที่ใช้ต่อวันนั้นกี่แผ่น ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการประเมินความมากน้อยของประจำเดือนนั่นเอง

และหมอก็จะซักไปเรื่อยๆ ว่า ก่อนหน้านี้อย่างเดือนที่แล้ว ประจำเดือนมาวันไหน สิ้นสุดวันไหน ที่ถามไม่ใช่อยากจะละลาบละล้วงอะไร แต่อยากจะคำนวณถึงระยะเวลาของรอบเดือนว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เพราะโดยทั่วไปแล้ว ระยะเวลาของรอบเดือนจะเท่ากับ 21 – 35 วัน

อ่านต่อ “นับประจำเดือนบ่งบอกอาการของคนท้อง” คลิกหน้า 2

นับประจำเดือนบ่งบอก อาการของคนท้อง

ทีมงานจึงได้ถามต่ออีกว่า แล้วถ้าหากพบว่ามีความผิดปกติจริง จะสามารถเกิดโรคอะไรได้บ้าง เพื่อนที่เป็นหมอสูตินรีก็ได้อธิบายต่อว่า โรคที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนที่ผิดปกตินั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1.กลุ่มที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์อันได้แก่

การนับประจำเดือน สามารถบอกโรค หรือภาวะที่อาจเกิดขึ้นในคุณแม่ตั้งครรภ์ได้

2.กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ เช่น

อายุครรภ์ นับอย่างไร?

โดยปกติแล้วการนับอายุครรภ์แบบเป็นเดือนๆ จะไม่มีความละเอียดเพียงพอ เนื่องจากในแต่ละเดือนจะมีจำนวนวันไม่เท่ากัน ดังนั้นการนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์จึงจะถูกต้องมากกว่า โดยระยะเวลาการตั้งครรภ์รวมแล้วประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน ซึ่งจะเริ่มนับจากวันแรกที่ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาแล้วบวกไปอีก 280 วัน

อ่านต่อ “นับประจำเดือน คำนวณวันคลอด” คลิกหน้า 3

นับประจำเดือน คำนวณวันคลอ

ปกติแล้วคุณแม่จะทราบกำหนดวันคลอดได้จากประจำเดือนครั้งสุดท้าย การจดบันทึกการมีประจำเดือนไว้เสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งตลอดอายุการตั้งครรภ์จนถึงวันคลอดจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน โดยจะเริ่มนับจากวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของคุณแม่ ไม่ใช่เริ่มนับจากวันสุดท้ายของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุด หรือนับจากวันที่ประจำเดือนถึงกำหนดจะมาแต่ไม่มา โดยจะมีสูตรในการคำนวณวันคลอดแบบง่ายๆ ดังนี้

1.นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายบวกไปอีก 9 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้วันกำหนดคลอด

2.นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายย้อนหลังไป 3 เดือนและนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้วันกำหนดคลอด

อายุการตั้งครรภ์จนถึงวันคลอดจะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน

โดยสูตรการนับทั้ง 2 วิธีนี้ป็นสูตรที่สูติแพทย์และผดุงครรภ์ใช้กันทั่วโลก ซึ่งอาศัยการสังเกตจากประสบการณ์และการทำสถิติการคลอดของคนทั่วโลก จะให้ผลอย่างแม่นยำในกรณีที่คุณแม่จำวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายได้เท่านั้น ซึ่งในทางการแพทย์จะถือว่าการคลอดก่อนหรือหลังกำหนดวันคลอด 2 สัปดาห์ คือระหว่าง 38 สัปดาห์ หรือ 42 สัปดาห์ ยังอยู่ในระยะที่ถือว่าเป็นการคลอดครบกำหนด

ลืมนับประจำเดือน คำนวณวันคลอดอย่างไร?

อันดับแรกให้รีบไปพบคุณหมอ ตรวจภายใน และคาดคะเนขนาดมดลูกโตเท่ากับการตั้งครรภ์ระยะใด หลังจากนั้นก็บวกเข้าไปให้ครบ 40 สัปดาห์ ก็จะเป็นกำหนดวันคลอดอย่างคร่าว ๆ ซึ่งการคาดคะเนด้วยวิธีนี้อาจคลาดเคลื่อนได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรืออีกวิธีคือคุณหมอจะใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ช่วยในการกำหนดวันคลอดของคุณแม่ วัดขนาดความกว้างของหัวเด็กและความยาวของเด็กในครรภ์ได้ เมื่อนำมาคำนวณก็จะบอกได้ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์มาแล้วประมาณกี่สัปดาห์ แต่ก็อาจจะคลาดเคลื่อนจากที่คำนวณได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์เช่นกัน

อ้างอิงเนื้อหา: นายแพทย์ชนาธิป ไชยเหล็ก จากเพจ The Momentum, MedThai

อ่านต่อบทความอื่นที่น่าสนใจ:

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids