AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แม่ท้อง ปวดหัว ไมเกรนขึ้นหรือสัญญาณโรคร้ายต้องเช็ก!!

อาการปวดหัวแม่ท้อง สัญญาณเตือนอันตราย

ปวดหัว ขณะตั้งครรภ์อาการทั่วไปของคนท้อง แล้วแบบไหนที่เป็นอาการปกติแบบไหนที่เป็นสัญญาณเตือนแม่ท้องว่าควรระวัง มาเช็กลิสต์อาการปวด พร้อมวิธีบรรเทาแบบไม่ใช้ยา

แม่ท้อง ปวดหัว ไมเกรนขึ้นหรือสัญญาณโรคร้ายต้องเช็ก!!

อาการปวดหัวขณะตั้งครรภ์ เป็นอีกหนึ่งในอาการคนท้อง ที่พบได้บ่อย ไม่เพียงแต่อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลังเท่านั้น และแม้ว่าการปวดหัวจะเป็นอาการของคนท้องปกติ แต่กลับเป็นอาการที่ทำให้แม่ท้องทั้งหลายรู้สึกเป็นกังวลมากกว่าอาการอื่น ๆ เนื่องด้วยความกังวลว่าจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคอื่นใดแทรกซ้อนมาหรือเปล่า ก็นับว่าเป็นความกังวลที่ไม่ได้เกินเลยแต่อย่างใด เพราะหากคุณแม่ท้องท่านไหนมีอาการปวดหัวบ่อย ๆ จนรู้สึกผิดสังเกต หรืออาการปวดหัวรุนแรงมากเกินปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง อย่างครรภ์เป็นพิษได้ ดังนั้นการศึกษาข้อมูลให้แน่ชัดจึงเป็นหนทางที่คุณแม่ควรจะทำ นอกจากจะช่วยให้เราเข้าใจอาการปวดหัวได้ดียิ่งขึ้นไม่ต้องมานั่งกังวลจนกลายเป็นความเครียด (ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ปวดหัวได้ด้วยเช่นกัน) ยังทำให้คุณแม่สามารถรับมือกับอาการดังกล่าวได้อย่างถูกวิธี หรือหากเป็นสัญญาณอันตรายจริงก็จะทำให้เราสามารถไปพบแพทย์ได้ทันเวลาอีกด้วย

แม่ท้อง กับดูแลร่างกายที่ดี ลดอาการปวดหัว

ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง กระตุ้นการปวดหัว

หญิงตั้งครรภ์บางคนอาจปวดหัวในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ แต่สาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน หรือปริมาณเลือดในร่างกายที่เพิ่มสูงขึ้นขณะตั้งครรภ์ก็เป็นได้ โดยอาการปวดหัวระหว่างตั้งครรภ์มักทุเลาลงในช่วงไตรมาสที่ 2 เมื่อระดับฮอร์โมนเริ่มคงที่ และร่างกายเริ่มปรับตัวจนคุ้นชินกับระดับสารเคมีต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปวดหัวขณะตั้งครรภ์ และวิธีการดูแลตนเอง

การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง ควรรรับประทานอาหารมื้อย่อยบ่อย ๆ เช่น อาหารจำพวกผลไม้ โยเกิร์ต หรือแครกเกอร์ เพื่อป้องกันอาการหิวที่อาจทำให้ปวดหัวได้ และช่วยป้องกันภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการปวดหัว แต่ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน ลูกอม และน้ำอัดลม เนื่องจากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไปจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

ความหิวทำให้แม่ท้อง ปวดหัว ได้

การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำและตื่นในเวลาปกติ เนื่องจากการอดนอนอาจทำให้ปวดหัวขณะตั้งครรภ์ได้

การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง การเดินและการออกกำลังกายแบบแอโรบิกชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ต้องใช้แรงมาก เช่น การว่ายน้ำ หรือการทำกิจกรรมเข้าจังหวะ จะช่วยให้ลดความอยาก ความเคยชินในเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และช่วยกระตุ้นฮอร์โมนที่ทำให้ตื่นตัวมาทดแทนคาเฟอีนที่เคยได้รับ จะทำให้อาการปวดหัวดีขึ้นได้

การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง การรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน และยาแก้ปวดไมเกรน หากไม่ได้รับคำสั่งจากแพทย์ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง

อ่านต่อ ลูกแพ้นม เรื่องจริงจากแม่ เป็นภูมิแพ้ระหว่างท้อง โด๊ปแต่นมจนลูกเกิดมาแพ้นมทุกชนิด

อ่านต่อ เทคนิคลดน้ำหนักหลังคลอด ฉบับญี่ปุ่นสุดง่าย เห็นผลใน 5 วัน

ออกกำลังกายเบา ๆ ช่วยลดอาการ ปวดหัว

การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง ควรรเรียนรู้วิธีผ่อนคลายความเครียด โดยเฉพาะความเครียดจากการทำงาน เช่น จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำ แบ่งสิ่งที่ต้องทำออกเป็นส่วนแล้วกระจายงานให้แก่คนที่เหมาะสม หรือทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียดและอาการปวดหัวได้ เช่น การดูหนังฟังเพลงที่ผ่อนคลาย การสูดหายใจเข้าลึก ๆ การนวด และการเล่นโยคะ

การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างตรงต่อเวลา และการดื่มน้ำมาก ๆ ช่วยป้องกันการเกิดอาการปวดหัวและภาวะขาดน้ำได้

อ่านต่อ เมื่อแม่ท้องต้องรับมือ “ภาวะขาดน้ำ”

การดูแลเพื่อลดความเสี่ยง

  1. นวด การนวดบริเวณไหล่และคอจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดอาการปวดเมื่อย และยังอาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวระหว่างตั้งครรภ์ได
  2. ประคบร้อนหรือประคบเย็น การประคบเย็นด้วยผ้าขนหนูและน้ำแข็งบริเวณหัวอาจช่วยบรรเทาอาการปวดหัวให้ทุเลาลงได้ หรือบางคนอาจใช้การประคบร้อนเพื่อช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน
  3. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ปวดหัว อาหารบางชนิด และการรับกลิ่นต่าง ๆ อาจทำให้รู้สึกปวดหัวได้ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดหัว
ภูมิแพ้กับแม่ท้อง

ส่วนสาเหตุของอาการปวดหัวในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่อาจมีสาเหตุมาจากท่าทางในการยืนหรือการนั่งที่ไม่เหมาะสม และความตึงของกล้ามเนื้อจากการแบกรับน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาการของการปวดหัวขณะตั้งครรภ์แบบทั่วไป ที่ไม่เป็นอันตรายมักจะมีอาการปวดแบบไม่รุนแรง เป็นครั้งคราว ไม่กระทบกับชีวิตประจำวัน หรือการนอนหลับ และไม่มีอาการร่วมอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม อาการปวดหัวในช่วงไตรมาสที่ 3 อาจเกิดจากอันตรายอย่างภาวะความดันโลหิตสูงหรือภาวะครรภ์เป็นพิษได้เช่นเดียวกัน คุณแม่จึงควรเฝ้าระวังอาการและไปพบแพทย์หากพบความผิดปกติ

ปวดหัวขณะตั้งครรภ์ แบบไหนที่อันตราย ?

อาการปวดหัวในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 ถึงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นอาการป่วยรุนแรงที่ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ สายตาพร่ามัว การทำงานของตับและไตผิดปกติ ดังนั้น หากพบความผิดปกติต่าง ๆ ร่วมกับอาการปวดหัว หรือปวดหัวอย่างรุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และไม่มีทีท่าว่าอาการจะทุเลาลงแม้หลังรับประทานยาแก้ปวด ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจรักษา โดยแพทย์จะตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจว่าอาการปวดหัวที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นอาการจากโรคอันตรายบางชนิด หรือหากตรวจพบการเจ็บป่วยร้ายแรง แพทย์จะได้วางแผนรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงทีต่อไป เพื่อความปลอดภัยของตัวมารดา และลูกน้อยในครรภ์

แม่ท้อง กับอาการ ปวดหัว

เช็กลิสต์สัญญาณเตือน อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการปวดหัวขณะตั้งครรภ์ที่คุณแม่ท้องควรรีบไปพบแพทย์ทันที มีดังนี้

อาการปวดไมเกรน กับคุณแม่ตั้งครรภ์

อาการปวดหัวไมเกรน เป็นลักษณะการปวดหัวแบบตุ้บ ๆ ตามการเต้นของชีพจร มักเป็นข้างเดียวร่วมกับอาการอาเจียน หรือเห็นแสงสว่างในดวงตานำมาก่อนได้ เมื่อมีการตั้งครรภ์ประมาณ 50% ของผู้ป่วย มักมีอาการดีขึ้น

แต่ในบางกรณีที่คุณแม่ยังคงมีอาการปวดหัว ไม่ทุเลาสามารถปรึกษาคุณหมอ โดยแพทย์อาจให้ยากล่อมประสาท หรือยากระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือดมาใช้เป็นครั้งคราว นอกจากนี้หากมีอาการคลื่นไส้ สามารถใช้ยาแก้คลื่นไส้รักษาตามอาการได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ยาต้านซึมเศร้า หรือยากันชักในการป้องกันไมเกรน แต่ถึงอย่างไรก็ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์โดยใกล้ชิด

หากคุณแม่กังวลไม่อยากใช้ยา เนื่องจากกลัวผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์แล้ว ยังสามารถเลือกวิธีรักษาทางเลือก ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวลงได้ และยังได้รับความสบายใจในการใช้ยาอีกด้วย เช่น การนวดบำบัดอาการปวดไมเกรนในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ซึ่งทาง ทีมแม่ ABK ได้นำตัวอย่างการนวดบำบัดจากคลิปวิดีโอในรายการผู้หญิงรู้จริงมาฝาก เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคุณแม่ท้องที่ไม่ต้องการใช้ยา

ข้อควรระวังในการนวดบำบัดนี้ คือ การลงน้ำหนักมือ และข้อควรระวังการนวดในจุดสำคัญที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งถ้าหากว่า คุณแม่คนไหนไม่มั่นใจแล้ว ควรไปพบคุณหมอเฉพาะทางที่มีความรู้เชียวชาญในเรื่องของการนวด รู้ตำแหน่ง และจุดที่อันตราย และไม่อันตรายจะดีที่สุด เพราะเรื่องลูกน้อยเป็นสิ่งที่เราให้ความใส่ใจ ระมัดระวังเป็นที่สุด การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาทที่สุดแล้ว

ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทุกท่านให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงของร่างกายนี้ไปได้อย่างปลอดภัย สะดวก โดยหวังว่าวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาฝากนี้จะช่วยแบ่งเบา บรรเทาอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ของคุณแม่ลงไปได้บ้าง เมื่อผ่านพ้นไปได้รับรองว่ารางวัลที่ได้รับจะทำให้แม่ ๆ อย่างเราหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งแน่นอน

ขอขอบคุณคลิป และข้อมูลอ้างอิงจาก Chivaga Arokaya / Pobpad/ Linetoday /sanook / รพ.เปาโล

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ปวดหัวไมเกรน การมีเซ็กส์ช่วยคุณได้!

ตกเลือดหลังคลอด เสี่ยงโรคชีแฮนฝันร้ายแม่อยากให้นมลูก

เมนู อาหารลดน้ำหนัก แม่หลังคลอดผอมไว..ได้คุณค่า

พ่อเป็นซึมเศร้าหลังคลอดได้ ความเครียด กังวล ของคุณพ่อมือใหม่

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids