AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เป็นโรค SLE (โรคเอสแอลอี) มีลูกได้ไหม ?

เป็นโรค SLE มีลูกได้ไหม ? โรค SLE หรือ เอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus ; SLE) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคพุ่มพวง ถือเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองโรคหนึ่งที่มีปัญหากับการตั้งครรภ์ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในภูมิคุ้มกันของร่างกาย แทนที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา กลับทำลายเซลส์ของตัวเอง จนเกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ผิวหนัง เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุทางเดินอาหาร กระดูกและข้อ ไต หัวใจ ปอด ระบบโลหิต และระบบประสาท เป็นต้น

เป็นโรค SLE มีลูกได้ไหม

สำหรับสาเหตุการเกิดโรค SLE

ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่เชื่อกันว่าเกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม การติดเชื้อไวรัสบางอย่าง ยาบางตัว หรือแสงอัลตราไวโอเลต

อาการของโรคเอสแอลอี

มีไข้เรื้อรัง มีผื่นขึ้นที่หน้าพาดผ่านจมูกมาที่แก้มทั้งสองข้าง เรียกกันว่า ผื่นผีเสื้อ (Butterfly Rash) ผื่นเหล่านี้มักเป็นมากขึ้นหากถูกแสงแดด หลังจากนั้นมีอาการผมร่วงบาง ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เส้นเลือดทั่วตัวอักเสบ ปลายมือและปลายเท้ากลายเป็นสีเขียวเมื่อถูกความเย็น เส้นประสาทอักเสบ สมองอักเสบ และชัก จนอาการโคม่า

การรักษา

– ใช้ยาต้านอักเสบ (Non Steroid Anti-inflammatory Drugs)
– ยาที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย เช่น คลอโรควิน (Chioroquine)
– ยาละลายลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin)
– ยากดภูมิต้านทาน เช่น สารสเตียรอยด์ เป็นต้น

โรคเอสแอลอี ร้ายแรงแค่ไหนต่อการตั้งครรภ์

ด้วยความที่ โรค SLE มักเกิดในคนอายุยังน้อย โอกาสตั้งครรภ์จึงมีสูงแม้จะกินยารักษาโรคนี้อยู่ก็ตาม ซึ่งผลที่ตามมาทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรงขึ้น ทั้งจากโรคและตัวยา หากเป็นโรคเอสแอลอี และกำลังรักษาอยู่ ไม่ควรปล่อยให้ตั้งครรภ์ เพราะทั้งแม่และลูกมีโอกาสเสียชีวิตจากครรภ์เสี่ยงสูง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตาม ห้ามตั้งครรภ์เด็ดขาด หากมีอาการต่อไปนี้ คลิกต่อหน้า 2

อาการต่อไปนี้ หากคนไข้เอสแอลอีที่กำลังรักษาอยู่มีแล้วล่ะก็ ห้ามตั้งครรภ์เด็ดขาด

แม้ว่าโดยทั่วไปคนไข้ โรค SLE สามารถตั้งครรภ์ได้ หากหายจากโรคอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปก็ตาม

แต่ทางที่ดี หากเคยมีประวัติเป็นโรค SLE มาก่อน ก็ไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะ…

  1. โอกาสที่โรคเอสแอลอีจะกำเริบขณะตั้งครรภ์มีสูงถึงร้อยละ 7-33 ในคนที่เคยเป็นแล้วหาย หรือ ควบคุมได้ ขณะที่โอกาสกำเริบหรือรุนแรงขึ้นสูงมากถึงร้อยละ 61-67 ในคนไข้ที่ยังป่วยเป็นโรคนี้อยู่

2. อาจเกิดการกำเริบของโรคในขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นผื่นผิวหนัง ปวดข้อ ไตอักเสบ หรือ ไตวาย

3. คนไข้ตั้งครรภ์ที่เป็นโรค SLE มักมีภาวะแทรกซ้อน คือ ครรภ์เป็นพิษประมาณร้อยละ 13 แต่หากมีไตอักเสบร่วมด้วย โอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษมีสูงถึงร้อยละ 66 หากเป็นมากอาจเสียชีวิตทั้งแม่และลูก

4. งานวิจัยบางชิ้นพบว่า การกำเริบของโรคเอสแอลอีอาจเป็นไปตามธรรมชาติของโรคที่มักเป็นๆ หายๆ ไม่ได้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ แต่ก็มีงานวิจัยบางชิ้นเช่นกันที่ระบุว่า ฮอร์โมนเพศ และฮอร์โมนที่สูงขึ้นขณะตั้งครรภ์อาจมีผลทำให้โรคนี้กำเริบได้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตาม ผลกระทบของโรคเอสแอลอี ที่มีต่อทารกในครรภ์ คลิกต่อหน้า 3

ผลนอกจากนี้ยังพบว่า…

ผลกระทบของโรค SLE ที่มีต่อทารกในครรภ์

ระยะสั้น เกิดการแท้ง คลอดก่อนกำหนด ขาดอาหาร ทารกตายในครรภ์ โดยในคนไข้ตั้งครรภ์ที่เอสแอลอีกำเริบ มีโอกาสที่ทารกจะเสียชีวิตในครรภ์สูงถึงร้อยละ 50

ระยะยาว ลูกที่คลอดมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ด้วย สำหรับในรายที่แม่มีภูมิต้านทานผิดปกติ คือมี Anti-Ro/SSA, และ/หรือ Anti-La/SSB เพราะภูมิต้านทานผิดปกติดังกล่าวสามารถส่งผ่านไปยังลูกได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ภูมิต้านทานผิดปกติลักษณะนี้ ไม่ได้มีในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเอสแอลอีทุกรายไป

สำหรับอาการรุนแรงของลูก ที่ติดโรค SLE เอสแอลอีจากภูมิต้านทานผิดปกติของแม่ ได้แก่ หัวใจลูกเต้นผิดปกติ ซึ่งต้องได้รับการรักษา เพราะไม่เช่นนั้นอาจเสียชีวิตได้ ในแม่ที่ได้รับยากดภูมิต้านทานตัวอื่นๆ ยกเว้นสารสเตียรอยด์อาจต้องงดให้นมลูก มิฉะนั้นยาอาจส่งผลเสียต่อลูกได้

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ช็อกโกแลตซีสต์ โรคภายในผู้หญิง ที่ต้องระวัง!

โรคประจำตัว ที่ควรเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์

อย่าปล่อยให้ลูกเล่นดิน เสี่ยงโรคเมลิออยโดสิส

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids