จากเนื้อหาครั้งที่แล้ว คุณพ่อ คุณแม่คงทราบกันแล้วว่า การฝากไข่คืออะไร? ควรฝากตอนอายุเท่าไหร่? และมีข้อจำกัดทางกฎหมายอย่างไร? สำหรับในเนื้อหานี้ จะมาให้ความรู้เรื่อง การเตรียมตัวฝากไข่ ขั้นตอนการฝากไข่ แล้วถ้ามีโรคประจำตัวจะฝากได้หรือไม่ อย่างไรบ้าง?
การเตรียมตัวฝากไข่
ถ้าว่าที่คุณแม่ต้องการที่จะฝากไข่ ต้องเริ่มจากการปรึกษาสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งก่อนฝากจะมีกระบวนการที่ต้อง เตรียมตัวก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงเก็บไข่ ถ้าว่าที่คุณแม่มีสุขภาพแข็งแรงดี คุณหมอก็จะเริ่มขั้นตอนเตรียมการเก็บไข่ ซึ่งไม่ยุ่งยาก โดยการเตรียมตัวมีดังนี้
- แสดงความต้องการว่าต้องการฝากไข่ ซักประวัติ และอื่นๆ แล้วก็เข้าสู่กระบวนการใช้ยา เพื่อกระตุ้นรังไข่ เพื่อเร่งให้ร่างกายสร้างไข่ หรือให้มีไข่มากกว่า 1 ใบ เช่น ประมาณ 10 – 20 ใบ เพราะการเก็บไข่จะไม่เก็บทีละใบ เนื่องจากต้องใช้เวลา และป้องกันความผิดพลาด ยาที่ใช้กระตุ้นนั้น จะเป็นยาฉีดชนิดเดียวกันกับที่ใช้ทำเด็กหลอดแก้ว โดยการฉีดกระตุ้นรังไข่ทุกวัน ประมาณ 4 – 5 วัน จากนั้นคุณหมอจะนัดตรวจดูว่าร่างกายตอบสนองกับยาดีหรือไม่ มีขนาดของไข่ที่ใช้ได้หรือยัง
- เมื่อใช้ยาทำให้ตกไข่แล้ว คุณหมอจะนัดมาดูดไข่ ในช่วงที่ว่าที่คุณแม่กำลังมีประจำเดือน มีการเจาะเลือด ตรวจอัลตราซาวนด์ เพื่อดูว่ามีไข่อยู่ข้างไหน จำนวนเท่าไหร่ เมื่อได้จำนวนไข่ที่มากพอ การกระตุ้นรังไข่เพื่อเก็บไข่นี้ จะใช้เวลาประมาณ 8 – 10 วัน เมื่อไข่พร้อมแล้ว มีความแข็งแรง และมีจำนวนมากพอ คุณหมอจะเริ่มดูดเก็บไข่จากรังไข่ของว่าที่คุณแม่ ในช่วงประมาณวันที่ 2 หรือ 3 ของการมีประจำเดือน
หลังจากกระตุ้นไข่แล้ว ร่างกายผลิตไข่จำนวนมากพอ และได้ขนาดตามต้องการแล้ว คุณหมอจะทำการดูดเก็บไข่ ซึ่งมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ส่วนใหญ่จะให้ยานอนหลับระยะสั้นๆ ประมาณ 10 – 15 นาที จากนั้นคุณหมอจะใช้เครื่องมือสอดเข้าไปทางช่องคลอด แล้วใช้เข็มเล็กๆ สอดเข้าไป เพื่อดูดไข่ทั้งหมดออกมา และใช้เวลาไม่นาน โดยการดูดที่ตัวรังไข่ คุณหมอจะทำก่อนไข่ตก เพราะถ้าเดินทางมาที่นำไข่แล้ว จะทำให้เก็บยุ่งยาก เนื่องจากต้องตามหาว่าไข่ตกอยู่ตรงไหนบ้าง หลังจากคุณหมอดูดออกแล้ว ก็จะนำไปเก็บ หรือฝากไว้ เพื่อให้ไข่คงอายุ และคุณภาพ กระบวนการฝากไข่ทั้งหมด ว่าที่คุณแม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่มีข้อจำกัดอะไร
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “การเก็บไข่แช่แข็งไว้ และเอกสารทางกฎหมาย” คลิกหน้า 2
การฝากไข่ คือการเก็บไข่แช่แข็งไว้
หลังจากที่คุณหมอดูดไข่ออกมาแล้ว ก็จะนำไข่ไปแช่แข็งไว้ในตู้เย็นชนิดพิเศษ หรือไนโตรเจนเหลว ที่อุณหภูมิต่ำมาก ประมาณ -70 ถึง -100 องศาเซลเซียส การเก็บไข่ที่อุณหภูมินี้ จะคงคุณภาพของไข่ไว้ไม่เปลี่ยนแปลง คือการหยุดอายุ และคุณภาพนิ่งไว้ ไข่จะถูกเก็บ และแช่แข็งไว้ยาวนานมาก จนกว่าจะถึงเวลาที่คุณแม่พร้อมจะมีลูก
เมื่อถึงเวลาที่ ว่าที่คุณแม่ จะนำไข่มาใช้ จำเป็นจะต้องทำเรื่องทางกฎหมาย แสดงเอกสารยืนยันว่ามีการแต่งงาน จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย และพร้อมที่จะมีลูก เพราะเมื่อนำไข่ออกมาแล้ว ไม่สามารถนำกลับเข้าไปฝากอีก เมื่อเอกสารทุกอย่างครบถ้วน คุณหมอจะเข้ากระบวนการละลายไข่ที่แช่แข็ง จากนั้นจึงใช้เทคโนโลยีการทำเด็กหลอดแก้ว นำอสุจิของคุณพ่อ มาผสมกับไข่ จนเกิดเป็นตัวอ่อน และนำตัวอ่อนเข้าไปสู่มดลูก เพื่อให้คุณแม่ตั้งครรภ์ และมีลูกที่มีคุณภาพ สมใจปรารถนา ช่วยลดความเสี่ยง และความกังวลเกี่ยวกับปัญหาความไม่สมบูรณ์ หรือความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ เพราะไข่ที่ฝากมีคุณภาพมาจากคุณแม่ในช่วงที่มีอายุไม่มากนั่นเอง
ขึ้นอยู่กับว่าโรคประจำตัวของคุณแม่คืออะไร และส่งผลกับความสมบูรณ์ของไข่หรือไม่ ปกติแล้ววัยที่ฝากไข่ จะเก็บและฝากไข่ เมื่ออายุไม่มาก จึงไม่มีปัญหาเรื่องโรคประจำตัว แต่สำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน อาจมีผลโดยตรง คุณหมอจะแนะนำให้ดูแลน้ำตาลในเลือดให้คงที่ แล้วจึงเข้ากระบวนการฝากไข่ เพราะถ้าคุมน้ำตาลในเลือดไม่ดี ไข่ที่ดูดออกมาก็จะไม่ดีไปด้วย ฉะนั้น ถ้าคุณแม่มีโรคประจำตัว ควรรีบปรึกษาคุณหมอก่อนฝากไข่ เพื่อรับคำแนะนำในการเตรียมตัว ก่อนเก็บไข่อย่างมีคุณภาพ สู่การมีลูกคุณภาพดีในอนาคต
นิตยสาร Amarin Baby & Kids ฉบับประจำเดือนตุลาคม 2559
นพ.สันธา ศรีสุภาพ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา First fertility center
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
ฝากไข่ ไว้มีลูกในอนาคต …เรื่องฮิตที่ผู้หญิงยุคใหม่ควรรู้
ทำหมันแล้ว แต่อยากมีลูกน้อยอีก …ทำอย่างไรดีนะ??
10 เคล็ดลับบำรุง ‘มดลูก’ ให้แข็งแรง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save