คนไทยบางคน เชื่อว่ากินยาคุมแล้วมีลูกยาก ความคิดนี้อาจมาจากผลของการกินยาคุม ที่ทำให้ประจำเดือนมาน้อย แล้วทำให้เข้าใจว่าจะทำให้มดลูกแห้ง ซึ่ง ความเชื่อเรื่องยาคุม บางอย่างนั้นไม่เป็นความจริง โดยทั่วไปยาคุมมีฮอร์โมนต่ำ จึงทำให้ประจำเดือนมาน้อยเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว
ความเชื่อเรื่องยาคุม กินยาคุมแล้วมีลูกยาก?
ยาคุมกำเนิด คือยาที่ใช้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ ยาชนิดเม็ดที่ใช้รับประทาน ประกอบไปด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์โปรเจสโตเจน และเอสโตรเจน นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้ว บางคนยังใช้เพื่อความสวยงาม เช่น ลดสิว ทำให้ผิวใส มีน้ำมีนวล แต่การรับประทานติดต่อกันอาจมีความเสี่ยง
แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลพิจิตร และนักเขียนประจำคอลัมน์ เปิดห้องหมอสูติ นิตยสารชีวจิต ให้คำแนะนำว่า ถ้าคุณแม่หยุดกินยาคุม ก็สามารถมีลูกได้ในเดือนถัดไป แต่ยาคุมกำเนิดแบบฉีดจะออกฤทธิ์ประมาณ 3 เดือน จึงทำให้มีลูกได้ช้า ประมาณ 6 – 9 เดือน หลังจากหยุดฉีดยาคุม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “กินยาคุมแล้วเสี่ยงมะเร็ง?” คลิกหน้า 2
กินยาคุมแล้วเสี่ยงมะเร็ง?
นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ ได้รวบรวมข้อมูลจากวงการแพทย์ เอาไว้ดังนี้
1.ยาคุมกำเนิดกับมะเร็งเต้านม
เป็นที่ทราบกันดีว่าถ้ามีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูงนานๆ จะทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งมากยิ่งขึ้น เช่น คนที่มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ขวบ หรือคนที่หมดประจำเดือนช้ากว่า 55 ปี หรือมีลูกคนแรกช้ากว่าอายุ 30 ปี หรือไม่เคยมีลูกเลย
- ปี 1996 วารสาร Lancet ได้ตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงระบาดวิทยาขนาดใหญ่ที่สุด โดยรวมรวมข้อมูลจากประมาณ 90% ของงานวิจัยระบาดวิทยาในเรื่องนี้ทั้งโลก พบว่า การกินยาคุมกำเนิด ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศเหมือนกัน มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้หญิงทั่วไปเล็กน้อย แต่จะกลับมาเหมือนคนทั่วไปเมื่อเลิกกินยาคุมได้นาน 10 ปีขึ้นไป
- ปี 2002 การวิจัยชื่อ CARE study พบว่าผู้หญิงกินยาคุมกำเนิด ไม่ได้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งขัดแย้งกับผลการวิจัยแรก
- ปี 2003 สถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐฯ ได้ทำวิจัย พบว่า ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดอยู่ หรือใช้แล้วเพิ่งเลิกไปไม่นาน มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้หญิงทั่วไป ซึ่งตรงกับการวิจัยปี 1996
ในขณะนี้ แพทย์จึงสรุปได้เพียงว่า ผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิด หรือเลิกไปแล้วไม่เกิน 10 ปี อาจจะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่ไม่กินเลย
2.ยาคุมกำเนิดกับมะเร็งรังไข่
จากงานวิจัยทุกรายการ ให้ผลตรงกันว่า คนที่กินยาคุมกำเนิด เป็นมะเร็งรังไข่น้อยกว่าคนที่ไม่กินยา ยิ่งกินนาน ยิ่งเป็นโรคมะเร็งรังไข่น้อยลง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “กินยาคุมแล้วเสี่ยงมะเร็ง?” คลิกหน้า 3
3.ยาคุมกำเนิดกับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
จากงานวิจัยพบว่า คนกินยาคุมกำเนิด เป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกน้อยกว่าคนทั่วไป
4.ยาคุมกำเนิดกับมะเร็งปากมดลูก
นายแพทย์พูนศักดิ์ สุชนวณิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น ได้ให้ความรู้เอาไว้ว่า ภายในช่องคลอดจะมีความเป็นกรดอ่อนๆ เพื่อรับประทานยาคุมกำเนิดเข้าไป ฮอร์โมนจะเป็นด่างอ่อนๆ บางครั้งอาจมีการติดเชื้อ อักเสบได้ง่าย คุณแม่ที่รับประทานยาคุมไปนานๆ อาจมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกสูง ยาคุมกำเนิดมีหลักฐานบ่งชี้ว่าทำให้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยเสี่ยงที่เด่นและชัดเจนกว่า คือการติดเชื้อไวรัส HPV
นายแพทย์พูนศักดิ์ สุชนวณิช ชี้แจงว่า ยาคุมกำเนิดถูกออกแบบมาให้คุมในระยะเวลาสั้น 1-3 ปี การกินยาคุมนานๆ อาจทำให้มีการออกฤทธิ์ที่ตับ เพราะตับต้องกรองสารอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร หรือสารพิษ คุณแม่จึงควรกินยาคุมกำเนิดในระยะเวลาสั้นๆ
จากงานวิจัยหลายรายการพบว่า ยาคุมกำเนิด ยิ่งใช้นาน ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับมากขึ้น สำหรับผู้หญิงผิวขาว และผิวดำ แต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงในผู้หญิงเอเชีย และอัฟริกา ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับสูงอยู่แล้ว
โดยปกติ ยาคุมกำเนิดมีผลชั่วคราว ไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 5 ปี ถ้ามีความจำเป็นก็ไม่ควรเกิน 10 ปี และถ้าต้องการคุมกำเนิดถาวรควรเลือกการทำหมัน หรือใส่ห่วงคุมกำเนิดดีกว่า
กินยาคุมแล้วอารมณ์ทางเพศลดลง?
นายแพทย์พูนศักดิ์ สุชนวณิช กล่าวว่า จากการศึกษา และเก็บตัวอย่าง พบว่า อารมณ์ทางเพศเป็นความรู้สึก ซึ่งมีผลมาจากพื้นฐานทางครอบครัว หรือคู่สมรส ไม่เกี่ยวกับยาคุมแต่อย่างใด
เครดิต: นิตยสารชีวจิต, ผู้จัดการออนไลน์, นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
ยาคุมกำเนิด กับยาชนิดอื่น กินร่วมกันแล้วไม่ได้ผล
กินยาคุม ทำไมยังท้องได้
อึ้ง!! เด็กซื้อยาคุมกำเนิด กับผลข้างเคียงที่ตามมาในอนาคต
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save