AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แท้ง….แล้วอยากท้องต่อต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

เมื่อเคยแท้งแล้วอยากท้องต่อต้องดูแลตัวเองอย่างไร

ไม่มีผู้หญิงคนไหนที่อยากเจอเหตุการณ์การแท้งบุตรหรอกค่ะ แต่เมื่อการ แท้ง เกิดขึ้นแล้ว ความเสียใจก็มักจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่เมื่อเวลาผ่านไป แม่ๆ ทุกคนก็ต้องเก็บอดีตไว้เป็นบทเรียน แล้วก้าวต่อไป แม่หลายๆ คน เลือกที่จะท้องต่อ แต่ก็มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า หลังจาก แท้ง แล้วต้องรออีกนานแค่ไหนถึงจะปล่อยท้องได้อีกครั้ง? ท้องครั้งต่อไปลูกในท้องจะแข็งแรงหรือไม่? และควรดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อต้องการท้องอีกครั้ง? มาดูวิธีดูแลตัวเองให้พร้อมกันดีกว่าค่ะ

 

แท้ง….แล้วอยากท้องต่อต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

การแท้งบุตรคืออะไร?

แท้ง (Miscarriage) เป็นการสูญเสียตัวอ่อนภายในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น วิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาเผยว่ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของการแท้งเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 3 เดือนแรก โดย 50-75 เปอร์เซ็นต์ แท้ง ในช่วงก่อนที่ประจำเดือนจะหยุดไปหรือยังไม่ทันที่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ด้วยซ้ำ ทั้งนี้การแท้งเป็นเรื่องปกติที่หลายคนสามารถเผชิญได้ เพียงแต่สำหรับคนที่เป็นพ่อแม่นั้นก็อาจยากที่จะทำใจยอมรับการสูญเสียที่เกิดขึ้น

 

สาเหตุการแท้ง

แท้ง ในช่วงไตรมาสแรก

โครโมโซมทารกผิดปกติ เป็นสาเหตุของการแท้งในช่วง 3 เดือนแรกที่พบได้บ่อยที่สุด โดยโครโมโซมนี้เป็นการจัดเรียงตัวกันของดีเอ็นเอ ซึ่งจะควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่พัฒนาการของเซลล์ในร่างกาย หรือแม้แต่สีตาของทารก

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจเป็นการมีจำนวนโครโมโซมมากเกินปกติหรือมีจำนวนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ทารกไม่สามารถพัฒนาได้อย่างปกติและมีการแท้งเกิดขึ้นได้ในที่สุด ซึ่งการแท้งจากโครโมโซมที่ผิดปกติในช่วงแรกของการตั้งครรภ์นี้มีอัตราถึง 2 ใน 3 แต่ก็มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเกิดการแท้งจากสาเหตุนี้ขึ้นอีกครั้ง ส่วนสาเหตุความผิดปกติของโครโมโซมที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด และส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากปัญหาในโครโมโซมของบิดาหรือมารดาแต่อย่างใด

ปัญหาจากรก รกมีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างมารดากับทารกเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์ ดังนั้นปัญหาที่ส่งผลต่อการพัฒนาของรกจึงสามารถนำไปสู่การแท้งบุตรได้เช่นกัน

ปัจจัยเสี่ยงจากมารดา

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

แท้ง ในช่วงไตรมาสที่ 2

ปัจจัยเสี่ยงจากมารดา

นอกจากปัจจัยที่กล่าวข้างต้น การแท้งบุตรในช่วงไตรมาสที่ 2 ยังอาจเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของมดลูกหรือระบบสืบพันธุ์ของผู้เป็นแม่ ดังนี้

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเชื่อหลายประการที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุของการแท้ง ทั้งที่ปัจจัยต่อไปนี้ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงใด ๆ ต่อการแท้ง

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

แท้งแล้วต้องรออีกนานแค่ไหนถึงปล่อยท้องได้?

การแท้งบุตรไม่มีผลโดยตรงต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ในครั้งต่อไป ส่วนมากแล้วผู้ที่เคยผ่านการแท้งมาก็สามารถมีบุตรที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ การจะกลับมาตั้งครรภ์อีก ขึ้นกับสาเหตุการแท้งและการทำหัตถการ หรือการรักษา ได้แก่

ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยว่าควรปล่อยให้ท้องต่อไปได้เมื่อไรค่ะ

 

5 วิธีเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับท้องต่อไป

  1. ด้านจิตใจ การแท้งบุตรอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยและส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้เป็นพ่อแม่อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ การแท้งอาจพบได้บ่อยและโดยมากเป็นความผิดปกติตั้งแต่ขั้นปฏิสนธิซึ่งคุณทำอะไรได้ไม่มากนัก สิ่งสำคัญคือไม่ควรโทษตัวเองภายหลังการแท้ง ดังนั้นควรทำจิดใจให้สบาย ไม่เครียด เพราะความเครียด เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประจำเดือนมาช้าหรือไม่ปกติ การคำนวนระยะไข่ตกเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ก็ทำได้ยากตามไปด้วย ดังนั้น ควรรีบกลับมาเข้มแข็งเพื่อให้มีแรงในการดูแลร่างกายไวๆ หากมีโอกาส ควรไปเที่ยวพักผ่อนให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นค่ะ
  2. ด้านร่างกาย พักผ่อนให้เต็มที่ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ผ่อนคลายจากความตรึงเครียดและยังช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายอีกด้วย หญิงที่กำลังวางแผนมีบุตรควรนอนพักผ่อนวันละ 8 ชั่วโมง
  3. การกินอาหารที่มีประโยชน์และอุดมด้วยสารอาหารครบถ้วน โดยเน้นรับประทานวิตามินแร่ธาตุให้มากและหลากหลาย
  4. ออกกำลังกายวันละ 30 นาที ควรเริ่มออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่ดี ควรสำรวจดูว่าควรลดน้ำหนัก เพิ่มน้ำหนัก สร้างกล้ามเนื้อเพิ่ม หรือควรฝึกสมรรถภาพการหายใจของปอดหรือไม่ วิธีออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่ เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน แอโรบิค หรือเล่นโยคะ โดยเฉพาะการเล่นโยคะที่ถือเป็นทางเลือกที่ดีเพราะจะได้ฝึกท่าทาง การหายใจ และสมาธิไปในคราวเดียว ทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ขณะคลอดได้ด้วย
  5. รับประทานอาหารเสริม ควรเริ่มรับประทานกรดโฟลิค ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ 1 เดือน ไปจนถึงระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ในปริมาณวันละ 400 ไมโครกรัมต่อวัน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความพิการทางสมองของทารก ซึ่งเป็นภาวะพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงและส่งผลกระทบต่อสมองและไขสันหลังของเด็ก รวมทั้งวิตามินรวมที่ประกอบด้วยวิตามินบี 6 ก่อนตั้งครรภ์จนถึงสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์จะช่วยลดอาการแพ้ท้องได้ ทั้งนี้การใช้ยาหรืออาหารเสริมใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจก่อนทุกครั้ง

 

สุดท้ายนี้ อยากให้พึงระลึกไว้ว่าอย่าคาดหวังมากจนเกินไป อย่าให้เวลามากดดันว่าจะต้องท้องต่อในทันทีนะคะ เพราะความเครียดอาจส่งผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น เมื่อไรที่ร่างกายและจิตใจพร้อม โอกาสก็จะเดินมาหาเราเองค่ะ ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอเอาใจช่วยทุกครอบครัวนะคะ

 

ที่มา

https://www.pobpad.com/แท้ง

http://haamor.com/th/การแท้งบุตร

 

อ่านบทความที่น่าสนใจต่อได้ที่นี่

ทำอย่างไร ให้ห่างไกลจาก แท้งซ้ำ

ท้องลมคืออะไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นหรือไม่ คลิก!

7 สาเหตุ สำคัญ ของการแท้ง และวิธีป้องกัน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids