AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ประสบการณ์การเก็บไข่ ทำเด็กหลอดแก้ว IVF

สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ที่มีบุตรยาก และอยากประสบความสำเร็จที่จะมีลูก สำหรับบทความนี้ Amarin Baby & Kids ขอนำเสนอประสบการณ์ของว่าที่คุณแม่ ในการเก็บไข่ ทำเด็กหลอดแก้ว IVF ที่โรงพยาบาลศิริราช พร้อมอัพเดตอาการ ค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้ว และวิธีปฏิบัติ

ทำเด็กหลอดแก้ว IVF

กรณีศึกษา สำหรับผู้มีบุตรยาก : ผู้หญิง อายุ 28 ปี มีภาวะ PCOS ไม่รุนแรง ผู้ชายอายุ 38 ปี เชื้อปกติ

19 สิงหาคม 2559

ฉีด Gonal-F ซึ่งเป็นยากระตุ้น ทำให้ได้ไข่มากกว่าปกติ เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการ IVF เข็มในภาพบรรจุ 450 IU แต่คุณพยาบาลแนะนำตอนสอนวิธีฉีดว่า จริงๆ แล้วในหลอดมี 500 IU ให้ฉีดครั้งละ 150 IU ให้ครบ 3 วันแล้วอย่าเพิ่งทิ้ง

ฉีดไปเมื่อวันที่ 16-18 สิงหาคม ตรงเวลา ไม่รับประทานยา และอาหารเสริมอื่นๆ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ น้ำอัดลม และขนมทุกชนิด รับประทานอาหาร 3 มื้อตามปกติ โดยเน้นผัก ผลไม้ ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ ดื่มนมจืดธรรมดาก่อนนอน นอนไม่เกิน 4 ทุ่ม แอบงีบกลางวันในที่ทำงาน

วันนี้ 19 สิงหาคม มาอัลตร้าซาวน์เพื่อติดตามผล คุณหมอนัดให้ดูว่าครั้งที่แล้ว ได้ไข่ใบเล็กๆ ขวา 12 ใบ ซ้าย 5 ใบ และผลจากการใช้ยา Gonal-F ซึ่งมีราคาแพง และการปฏิบัติตัวที่ดี พบว่าไข่โตขึ้น 9 มิลลิเมตร

คุณหมอจึงให้ยา Gonal-F มาฉีดกระตุ้นไข่ต่ออีก 5 วัน และเพิ่มเป็นวันละ 200 IU และฉีด Orgalutran เพื่อป้องกันไข่ตกอีก 3 เข็ม

รวมค่าใช้จ่าย 19,144 บาท

อ่านต่อ “ประสบการณ์การเก็บไข่ ทำเด็กหลอดแก้ว IVF” คลิกหน้า 2

29 สิงหาคม 2559

หลังจากฉีดยากระตุ้นไข่ Gonal-F 500 IU เป็นเวลา 3 วัน และต่อด้วยขนาด  200 IU เป็นเวลา 5 วันที่หน้าท้อง และฉีด Orgalutran ป้องกันไข่ตก 0.25 มิลลิกรัม 3 เข็มที่หน้าท้อง รวมถึงยาทำให้ไข่สุก Diphereline 0.2 มิลลิกรัม 1 เข็มที่ต้นแขนแล้ว

วันที่ 27 สิงหาคม คุณหมอก็นัดเก็บไข่ การเตรียมตัวก่อนการเก็บไข่ คือ งดอาหาร และน้ำดื่มทุกชนิด หลังเวลา 5 ทุ่ม ของวันที่ 26 สิงหาคม งดแต่งหน้า น้ำหอม เครื่องประดับ รวมถึงคอนแทคเลนส์

คุณหมอจะให้เปลี่ยนเสื้อผ้า แล้วเข้าไปในห้องรอเก็บไข่ จากนั้นคุณพยาบาลจะเรียกเข้าไปในห้อง ขึ้นขาหยั่ง มีสายเข็มขัดรัดที่เอว คุณพยาบาลจะเริ่มทำความสะอาด แล้วใส่เครื่องมือ คุณพยาบาลอีกคนจะฉีดยาที่หลังมือ และคุณหมอจะทำการเก็บไข่ ไม่เกิน 10 นาทีเป็นอันเสร็จเรียบร้อย

จากนั้นคุณพยาบาลก็พามาส่งที่เตียง แล้วให้นอนพักประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วเปลี่ยนเสื้อผ้า กลับบ้านได้

ก่อนกลับบ้าน คุณพยาบาลแจ้งผลการเก็บไข่ และน้ำเชื้อ ได้ไข่ 39 ใบ น้ำเชื้ออยู่ในเกณฑ์ดี และเนื่องจากรังไข่ถูกกระตุ้นมาก ได้ไข่จำนวนเยอะ เกรงว่าจะมีภาวะน้ำในช่องท้อง หรือ OHSS จึงอาจจะได้ใส่ตัวอ่อนในรอบต่อไป และมีการนัดอัลตร้าซาวน์ดู OHSS ในวันอังคารที่ 30 สิงหาคม อีกครั้งหนึ่ง

คุณหมอสั่งให้ฉีดยา Orgalutran ต่ออีก 3 เข็ม และให้รับประทานไข่ขาวต้มสุก วันละ 2 ฟอง ทั้ง 3 มื้อ

รวมค่าใช้จ่าย 18,910 บาท

อ่านต่อ “ประสบการณ์การเก็บไข่ ทำเด็กหลอดแก้ว IVF” คลิกหน้า 3

3 กันยายน 2559

วันที่ 30 สิงหาคม มีการนัดอัลตร้าซาวน์ดู OHSS พบว่าไม่มีภาวะ OHSS คุณหมอแจ้ง ได้ตัวอ่อน 25 ตัว 740 บาท รอประจำเดือนมาเตรียมใส่ตัวอ่อนรอบฟรีซ (มีอาการเจ็บคัดหน้าอกมาก)

วันที่ 31 สิงหาคม มีอาการเจ็บคัดหน้าอกมาก

วันที่ 1 กันยายน ประจำเดือนมาวันแรก มีอาการเจ็บคัดหน้าอกมาก

วันที่ 2 กันยายน อัลตร้าซาวน์ พบว่ามีไข่ค้าง ข้างขวาใหญ่สุด 16.5 มิลลิเมตร ข้างซ้าย 16 มิลลิเมตร พบตัวอ่อนเพิ่ม 27 ตัว 740 บาท

คุณหมอให้รับประทานยาคุม Yasmin แล้วใส่ตัวอ่อนหลังรอบเดือนครั้งต่อไป และยาสร้างผนัง Estrofem รวมค่ายา 432 บาท

รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม – 2 กันยายน (ไม่รวมใส่ตัวอ่อน) 53,155 บาท กำหนดใส่ตัวอ่อนในรอบเดือนต่อไป

การบำรุงช่วยกระตุ้นไข่ ก่อนกระตุ้นไข่ รับประทานโฟลิค และน้ำมันปลา เมื่อเริ่มฉีดยา ไม่รับประทานอาหารเสริม หรือวิตามินใดๆ รับประทานอาหาร 3 มื้อตามปกติ ไม่รับประทานขนม ดื่มเฉพาะน้ำเปล่า และนมวัวจืด รับประทานไข่ขาวต้มสุก มื้อละ 2 ฟอง ในช่วงกระตุ้นไข่วันที่ 6 – 9 เน้นนอนหลับพักผ่อนมากๆ งีบตอนกลางวันทุกวัน

อ่านต่อ “ประสบการณ์การเก็บไข่ ทำเด็กหลอดแก้ว IVF” คลิกหน้า 4

10 ตุลาคม 2559

หลังจากการเก็บไข่ไปเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ได้ไข่ 39 ใบ  คุณหมอจึงให้ใส่รอบฟรีซ เพราะคาดว่าอาจจะมีภาวะน้ำในช่องท้องจากการกระตุ้นไข่มากเกินไป รอบเดือนกันยายนเตรียมตัวพร้อมสำหรับใส่ตัวอ่อน แต่ปรากฏว่ายังมีไข่ค้าง คุณหมอจึงให้รับประทานยาคุม แล้วใส่ตัวอ่อนในรอบถัดไปแทน

วันที่ 28 กันยายน ประจำเดือนมา รับประทาน Estrofem ตามคำสั่งของคุณหมออย่างเคร่งครัด เสริมด้วยโฟลิควันละเม็ด น้ำมันปลาวันละ 2-3 เม็ด (รับประทานติดต่อกันมา 3 เดือนแล้ว ยกเว้นช่วงกระตุ้นไข่)

วันที่ 5 ตุลาคม อัลตร้าซาวน์ดูผนัง 10.9 คุณหมอบอกว่าใช้ได้ จึงนัดใส่ตัวอ่อน 10 ตุลาคม

การเตรียมตัวก่อนใส่ตัวอ่อน

1.รับประทานยา + สอดยาให้ตรงตามเวลาจนครบ ตามที่คุณหมอสั่ง

2.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่เน้นอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินไป

3.ก่อนไปใส่ตัวอ่อน ทำความสะอาดห้องนอน เตรียมหนังสือ และสะสางสิ่งต่างๆ ในช่วงวันหยุด

ยาที่ใช้ช่วยเตรียมผนัง

วันที่ 10 ตุลาคม วันใส่ตัวอ่อน คุณพยาบาลจะให้ไปปัสสาวะ แล้วกลั้นปัสสาวะต่ออีก 1 ชั่วโมง คุณหมอจะเตรียมตัวอ่อน แล้วแจ้งว่า ละลายตัวอ่อนแล้ว 5 ตัว จะใส่ตัวอ่อนเกรด B 1 ตัว หลังจากนั้นคุณหมอจะอัลตร้าซาวน์หน้าท้อง แล้วให้นอนหลับ 1 ชั่วโมง จากนั้นคุณพยาบาลจะฉีดยากันแท้งให้ 1 เข็ม คุณหมอนัดตรวจเลือดวันที่ 25 ตุลาคม

อ่านต่อ “ประสบการณ์การเก็บไข่ ทำเด็กหลอดแก้ว IVF” คลิกหน้า 5

วิธีปฏิบัติหลังใส่ตัวอ่อน

ยาที่ใช้หลังใส่ตัวอ่อน

สอดยา Cyclogest เช้า-เย็น เหมือนเดิม รับประทาน Estrofem เช้า-เย็น เหมือนเดิม และมีเพิ่มยา คือรับประทานยา Dufhation เช้า-กลางวัน-เย็น 1 เม็ด และยาฉีด Prolution Depot ฉีดวันที่ 17 ตุลา (ตัวเดียวกับที่คุณพยาบาลฉีดให้ในวันใส่ตัวอ่อน) โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

การบำรุงช่วงกระตุ้นไข่ ก่อนการกระตุ้นไข่มีการรับประทานวิตามินเท่าที่จำเป็น 3-4 เดือน มีทั้ง Ovaboost โฟลิค น้ำมันปลา แต่หลังจากเริ่มฉีดยา ก็ไม่ได้รับประทานอาหารเสริม หรือวิตามินใดๆ เลย

อัพเดตสรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมด

28 กันยา ประจำเดือนมาวันแรก

29 กันยา เริ่มรับประทานยา Estrofem เช้า-เย็น ครั้งละ 1 เม็ด

5 ตุลา อัลตร้าซาวน์ดูผนัง 10.9 ราคา 740 บาท เริ่มสอดยา Cyclogest 756 บาท

10 ตุลา ใส่ตัวอ่อน เกรด B 1 ตัว ละลายตัวอ่อนแล้ว 5 ตัว จาก 27 ตัว

อัพเดตค่าใช้จ่ายทั้งหมด

รวมค่าใช้จ่ายในรอบใส่ตัวอ่อน 22,119 บาท + รวมค่าใช้จ่ายในรอบกระตุ้นไข่ 53,155 บาท

= รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 75,274 บาท

 

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก

ฝากไข่ ไว้มีลูกในอนาคต …เรื่องฮิตที่ผู้หญิงยุคใหม่ควรรู้


เครดิต: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=olcecenter&month=10-10-2016&group=35&gblog=39

Save

Save