ยาคุมฉุกเฉิน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้สำหรับการคุมกำเนิดหลังคลอด โดยประสิทธิภาพในการป้องกันจะอยู่ที่ประมาณ 85% แต่การกินยาคุมฉุกเฉินนั้น อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ตามมาได้
เตือนแม่! ยาคุมฉุกเฉิน กินบ่อย ๆ เสี่ยงท้องนอกมดลูก!
องค์การอนามัยโลกให้ข้อมูลว่าในทุกปี ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์เป็นสาเหตุนำไปสู่การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยของผู้หญิงอย่างน้อย 20 ล้านคน ซึ่งกว่า 100,000 คนต้องเสียชีวิตลงในที่สุด เพราะเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ และแม้ว่าหลายหน่วยงานจะมีการรณรงค์ให้ความรู้ถึงอันตรายและข้อจำกัดในการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน แต่ปัจจุบันยังพบว่ามีการใช้ยาคุมฉุกเฉินกันอย่างแพร่หลายทั้งในกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มวัยทำงาน โดยพบว่าส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น หลายคนนำไปใช้เหมือนยาคุมกำเนิดธรรมดา หรือกินทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก
นี่เป็นข้อความจากเภสัชกรหญิงรองศาสตราจารย์ดอกเตอร์บุษบา จินดาวิจักษณ์ อุปนายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ที่ได้แสดงความกังวลถึงการใช้ยาคุมฉุกเฉินผิดวัตถุประสงค์ของหญิงไทย ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่ทานในระยะยาว ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉินให้มากขึ้น
ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร?
ยาคุมฉุกเฉิน (Emergency Contraceptive Pill) เป็นยารับประทานที่ใช้ป้องกันการตั้งครรภ์หลังการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้คุมกำเนิด หรือเกิดความผิดพลาดจากการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่น ถุงยางอนามัยฉีกขาด ฝ่ายหญิงลืมรับประทานยาคุมกำเนิด หรือแม้กระทั่งการถูกข่มขืนกระทำชำเรา ผู้หญิงควรรับประทานยาคุมฉุกเฉินให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หลังการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน โดยตัวยาจะส่งผลยับยั้งหรือชะลอการตกไข่ รวมไปถึงสร้างเมือกที่บริเวณปากมดลูกเพื่อป้องกันไม่ให้สเปิร์มเข้าไปผสมกับไข่ได้
โดยตัวยาสำคัญในยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเป็นฮอร์โมนเดี่ยวและเป็นฮอร์โมนเพศหญิง มีชื่อว่าเลโวนอร์เจสเตรล ขนาดเม็ดละ 750 ไมโครกรัม ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่มีในยาคุมชนิดธรรมดา 5 เท่า โดยที่ยาคุมชนิดธรรมดาจะเป็นชนิดฮอร์โมนรวม มีฮอร์โมนเพศหญิง 2 ชนิด แต่ละเม็ดมีเลโวนอร์เจสเตรล 150 ไมโครกรัม และเอสโตรเจน 30 ไมโครกรัม
ยาคุมฉุกเฉิน กินอย่างไร?
ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะดีที่สุดเมื่อรับประทานยา 2 เม็ด และเริ่มเม็ดแรกภายใน 24 ชั่วโมงหลังการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 95% หากช้ากว่านี้แต่ไม่เกิน 48 ชั่วโมง จะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 85% หรือถ้าช้ากว่านี้อีกแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์จะลดลงเหลือเพียง 75% ดังนั้นหากเริ่มยาเม็ดแรกช้า กว่า 72 ชั่วโมง จะมีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้นอย่างมาก ส่วนยาเม็ดที่ 2 ให้รับประทานหลังจากยาเม็ดแรก 12 ชั่วโมง หลังจากนั้น 2-3 วันจะมีเลือดคล้ายระดูออกมา
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ผลข้างเคียงจากการกินยาคุมฉุกเฉิน
ผลข้างเคียงจากการกิน ยาคุมฉุกเฉิน
ชื่อยาคุมฉุกเฉิน หมายถึง ควรใช้ในกรณีที่ฉุกเฉินจริง ๆ และหากจำเป็นต้องใช้จริงๆ ก็ไม่ควรใช้เกิน 2-3 ครั้งต่อเดือน เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้วางแผนป้องกันการตั้งครรภ์ไว้ก่อน หรือพลาด เช่น รับประทานยาคุมกำเนิดอยู่แล้ว แต่ขาดยาไปอย่างน้อย 2 วัน หรือใช้ถุงยางอนามัยแล้วถุงยางฉีกขาดหรือมีรูรั่ว อีกกรณีหนึ่งที่มีการนำยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมาใช้ คือกรณีที่ถูกข่มขืน เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินมีผลข้างเคียงสูงมาก ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะออกฤทธิ์ต่อสภาพแวดล้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก จึงมีผลต่อฮอร์โมนและทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวผู้ใช้ ซึ่งมีทั้งผลข้างเคียงในระหว่างใช้ยา และระยะยาว ได้แก่
ผลข้างเคียงในระหว่างใช้ยา อาการที่มักพบเป็นประจำ ได้แก่
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
- เจ็บคัดเต้านม
- ปวดท้อง
- มีเลือดออกกะปริดกะปรอย
- ประจำเดือนมาช้าหรือเร็วกว่าปกติ หรือมีเลือดไหลก่อนถึงรอบประจำเดือน
โดยอาการต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถหายไปได้เองภายใน 24 ชั่วโมง หากมีอาการป่วยที่รุนแรงขึ้น หรือประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนดเกินกว่า 7 วัน ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาและตรวจการตั้งครรภ์
ผลข้างเคียงในระยะยาว
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด หากกินในช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่หากใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้ยานี้นานเกิน 2 กล่องต่อเดือน อาจมีผลข้างเคียงต่อไปนี้
- ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจะเทียบยาคุมกำเนิดแบบปกติไม่ได้
- อาจไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งหรืออาจส่งผลกระทบต่อรังไข่ มดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูกให้มีอาการผิดปกติได้
- มีโอกาสเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ถึง 2%
- จากผลการวิจัยระบุว่า ร่างกายของผู้หญิงที่กินยาคุมกำเนิดต้องการปริมาณแคลเซียมมากถึง 1,000 มิลลิกรัม หากได้รับแคลเซียมน้อยจึงอาจมีผลเสียต่อมวลกระดูกเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกแตกหักง่ายและเปราะเมื่อมีอายุมากขึ้น
นอกจากนี้ ยาชนิดนี้มีประโยชน์ในการป้องกันการตั้งครรภ์เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโรคจากเพศสัมพันธ์ได้ จะเห็นได้ว่ายาคุมกำเนิดฉุกเฉินไม่ได้มีแค่ประโยชน์อย่างเดียว แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในภายหลังได้ด้วย หากไม่จำเป็นจริงๆ ก็ควรป้องกันด้วยวิธีอื่นดีกว่า ซึ่งผู้หญิงควรกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉินแค่ไม่เกิน 2 ครั้งในชีวิตเท่านั้น หากเกินกว่านี้อาจเป็นอันตรายได้มากทีเดียว ดังนั้นจึงควรคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น ๆ จะเหมาะสมกว่าค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
ยาคุมยี่ห้อไหนกินแล้วไม่อ้วน ไม่บวม หน้าใสไร้สิว เช็กเลย!
5 ยาคุมผู้ชาย (ทั้งฉีด-กิน) ทางเลือกใหม่สะดวกกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว
หน้า 7 หลัง 7 คุมกำเนิดแบบนับระยะปลอดภัยได้ผลจริงหรือ?
ขอบคุณข้อมูลจาก : สสส., www.pobpad.com, honestdocs.co
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่