AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ยาคุมกำเนิด กับยาชนิดอื่น กินร่วมกันแล้วไม่ได้ผล

ยาคุมกำเนิด แบบรับประทานคงเป็นที่รู้จักกันดี และมีคุณแม่หลายคนเคยใช้มาบ้างแล้ว อาจจะด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อคุมกำเนิด ลดความมันบนใบหน้าเพื่อลดสิว หรือปรับฮอร์โมนให้สมดุล แต่การรับประทานยาชนิดอื่นๆ ร่วมกับยาคุมกำเนิด อาจส่งผลกับยาคุมได้

เมื่อคุณแม่รับประทานยาคุมกำเนิด ร่วมกับยาชนิดอื่นๆ อาจทำให้ยาคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพลดลง ถึงขั้นไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งยามีทั้งแบบ 21 เม็ด และ 28 เม็ด โดยปกติสามารถแบ่งได้หลายประเภท ซึ่งส่วนใหญ่แบ่งเป็น 2 ประเภท

ทำความรู้จักกับยาคุมกำเนิด

1.ยาคุมกำเนิดทั่วไป

รับประทานเป็นเวลาแน่นอน มีเป็นรูปแบบแผง ต้องรับประทานทุกวัน หรือจนหมดแผง แล้วหยุด 7 วัน เป็นการคุมกำเนิดที่มีการวางแผนไว้แล้ว

2.ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน เป็นยาคุมกำเนิดที่ใช้รับประทานหลังมีเพศสัมพันธ์ คุมกำเนิดเฉพาะเมื่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่วางแผน ป้องกันการตั้งครรภ์ เมื่อเกิดความผิดพลาด เช่น ถุงยางอนามัยรั่ว ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดปกติ ซึ่งยาคุมกำเนิดฉุกเฉินสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้น้อยกว่าชนิดแรก ถึงแม้ว่าจะรับประทานถูกวิธีก็อาจจะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ และไม่ควรรับประทานยาชนิดนี้บ่อยเกินไป ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ

ยาคุมกำเนิดทั้ง 2 ชนิดประกอบด้วยฮอร์โมนหนึ่ง หรือสองชนิด เมื่อรับประทานเข้าไป จะทำให้มีฮอร์โมนในร่างกายสูงขึ้น ส่งผลให้ป้องกันการตั้งครรภ์ แต่ถ้ามีอะไรที่ทำให้ร่างกายมีฮอร์โมนไม่สูงเพียงพอ ยาก็จะมีฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ลดลง

มียาหลายชนิดที่ทำให้ยาคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพลดลง และมีผลกระทบทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และอาจทำให้ตั้งครรถ์ได้

อ่านต่อ “ยาที่ทำให้ฤทธิ์ยาคุมกำเนิดลดลง” คลิกหน้า 2

ยาที่ทำให้ฤทธิ์ยาคุมกำเนิดลดลง

1.ยาคุมกำเนิด ที่เป็นยาที่ทำให้เอนไซม์ที่มีหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกไปจากร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้ฮอร์โมนถูกขับออกจากร่างกาย และเอนไซม์นั้นจะยังคงอยู่ต่อไปอีก 4 สัปดาห์ ได้แก่

2.Phenobarbital เป็นยาที่ทำให้เอนไซม์ที่มีหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกไปจากร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้ฮอร์โมนถูกขับออกจากร่างกาย และทำให้โปรตีนในเลือดจับยาฮอร์โมนได้มากขึ้น ทำให้มีฮอร์โมนอิสระที่ออกฤทธิ์ได้ลดลง และเอนไซม์นั้นจะยังคงอยู่ต่อไปอีก 4 สัปดาห์

3.ยาฆ่าเชื้อรากลุ่ม Azole เช่น Fluconazole (Diflucan), Itraconazole (Sporal), Ketoconazole (Nizoral) อาจทำให้ประจำเดือนมากะปริบกะปรอยได้

4.สมุนไพร St John’s Wort เป็นยาที่ทำให้เอนไซม์ที่มีหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกไปจากร่างกายเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น ทำให้ฮอร์โมนถูกขับออกจากร่างกาย

5.ยากลุ่ม Penicillins เช่น Ampicillin, Amoxicillin ฯลฯ และยากลุ่ม Tetracyclines เช่น Tetracycline, Doxycycline เป็นยาที่รบกวนเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ที่มีหน้าที่เพิ่มการดูดซึมกลับมาของยาฮอร์โมน จากลำไส้ใหญ่ เข้าสู่กระแสเลือดอีกครั้ง ทำให้ยาฮอร์โมนมีประสิทธิภาพลดลง มีผลต่อการคุมกำเนิดชนิดที่เป็นยาผสมระหว่างเอสโตรเจน และโปรเจสโตเจนเท่านั้น

อ่านต่อ “ยาที่ทำให้ฤทธิ์ยาคุมกำเนิดเพิ่มขึ้น” คลิกหน้า 3

ยาที่ทำให้ฤทธิ์ยาคุมกำเนิดเพิ่มขึ้น

1.Ascorbic acid (Vitamin C) เกิดการแข่งขันแย่งกันทำปฏิกิริยาซึ่งทำให้ยาฮอร์โมนหมดฤทธิ์ ทำให้มียาฮอร์โมนที่เกิดปฏิกิริยาแล้วหมดฤทธิ์ในร่างกายมีน้อยลง และมีฮอร์โมนที่ยังอยู่ในรูปที่ออกฤทธิ์สูงมากขึ้น ไม่มีความสำคัญในแง่ฤทธิ์ยา แต่มีความสำคัญคืออาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาฮอร์โมนที่มีระดับเพิ่มขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, เวียนศีรษะ

2.Acetaminophen (Paracetamol) เกิดการแข่งขันแย่งกันทำปฏิกิริยาซึ่งทำให้ยาฮอร์โมนหมดฤทธิ์ ทำให้มียาฮอร์โมนที่เกิดปฏิกิริยาแล้วหมดฤทธิ์ในร่างกายมีน้อยลง และมีฮอร์โมนที่ยังอยู่ในรูปที่ออกฤทธิ์สูงมากขึ้น ไม่มีความสำคัญในแง่ฤทธิ์ยา แต่มีความสำคัญคืออาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาฮอร์โมนที่มีระดับเพิ่มขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, เวียนศีรษะ

3.Atazanavir (Reyataz) เกิดการยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ขับยาฮอร์โมนออกจากร่างกาย ทำให้มีระดับยาฮอร์โมนในร่างกายสูงขึ้น ไม่มีความสำคัญในแง่ฤทธิ์ยา แต่มีความสำคัญคืออาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาฮอร์โมนที่มีระดับเพิ่มขึ้นได้ เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, เวียนศีรษะอาจต้องพิจารณาเปลี่ยนเป็นยาฮอร์โมนโดสต่ำ ๆ หรือเลือกใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นแทน

วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นๆ

ถ้าคุณแม่จำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้จริงๆ และรู้ดีว่าประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดต้องลดลงอย่างแน่นอน ให้ลองเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อเป็นการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง เช่น การใช้ถุงยางอนามัย หรือควรเว้นระยะห่างการมีเพศสัมพันธ์ หลังจากที่รับประทานยาที่ทำให้ยาคุมกำเนิดลดลง 4 สัปดาห์

เครดิต: ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

กินยาคุม ทำไมยังท้องได้

คุมกำเนิดหลังคลอด ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ให้นม

ความเข้าใจผิด และถูกเรื่องการคุมกำเนิด

Save