AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

Birth control ความเข้าใจผิด และถูกเรื่องการคุมกำเนิด

เมื่อคุณพ่อ คุณแม่มีลูกน้อยให้ชื่นชมเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ก็ถึงเวลาของการคุมกำเนิด (Birth control) เพื่อที่จะไม่ต้องมีการให้กำเนิดลูกน้อยเพิ่มขึ้นมากจนเกินความต้องการ หน้าที่ของการคุมกำเนิด ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว แต่ผู้ชายก็ต้องคุมกำเนิดด้วยเช่นกัน

คุณพ่อ คุณแม่หลายๆ คนยังขาดความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการคุมกำเนิดเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่จะรู้จักกันแต่ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก อ่านเพิ่มเติมคลิก!! ยาคุมกำเนิด กับผลข้างเคียงที่ตามมาในอนาคต

บางคนรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนี้แทบทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และเกิดผลแทรกซ้อนที่ตามมา เช่น ประจำเดือนไม่ตรงกำหนดเวลา แล้วก็เกิดความกลุ้มใจว่าจะท้องอีกหรือไม่ การให้ความรู้เรื่องการคุมกำเนิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ ข้อมูลจากแพทย์เฉพาะทางบาทเดียวระบุ 6 วิธีคุมกำเนิดทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูงไว้ดังนี้

ความเข้าใจผิดเรื่องการคุมกำเนิด

ข้อสงสัยเกั่ยวกับการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง

อาจารย์จริยาวัตร คมพยัคฆ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวบรวมความเข้าใจผิดไว้ว่า

1.คุณแม่หลังคลอดยังไม่มีประจำเดือน จะไม่คุมกำเนิด เพราะคิดว่าไม่ตั้งครรภ์

2.ถ้าลูกน้อยยังดูดนมอยู่ จะไม่ตั้งครรภ์ โดยไม่ต้องคุมกำเนิด

3.ถ้าคุณแม่ของคุณแม่หลังคลอดเคยมีลูกห่างจะคิดว่าตัวเองน่าจะมีลูกห่างด้วย จึงไม่คุมกำเนิด

4.หลังแท้ง ถ้าประจำเดือนยังไม่มา จะไม่ตั้งครรภ์

5.การหลั่งภายนอกช่องคลอด ทำให้ไม่ตั้งครรภ์

6.การนับวันปลอดภัย คิดว่าป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์

7.ผู้หญิงเท่านั้นมีหน้าที่ ที่จะต้องป้องกันการตั้งครรภ์ เช่น กินยา

8.ผู้ชายทองแดง (อัณฑะมี testis ข้างเดียว) เป็นหมัน ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าผู้หญิงจะตั้งครรภ์

9.ใช้ถุงยางอนามัยซ้ำได้ (ล้างและเก็บไว้แบบถุงมือ)

10.ลืมกินยาแล้วไม่ท้อง ก็เลยลืมบ่อยๆ คิดว่าไม่เป็นไร

อ่านต่อ >> “เรื่องความเข้าใจถูกของการคุมกำเนิด” คลิกหน้า 2

ความเข้าใจถูกเรื่องการคุมกำเนิด

ข้อสงสัยเกั่ยวกับการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง

นายแพทย์พนิตย์ จิวะนันทประวัติ ตอบคำถามที่มักจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับวิธีคุมกำเนิดที่หลายคนยังไม่เข้าใจ

1.บางคนใช้ถุงยางอนามัย แล้วทำไมถึงยังตั้งครรภ์

มีเพศสัมพันธ์จนฝ่ายชายใกล้ถึงจุดสุดยอดจึงค่อยใส่ถุงยางอนามัย ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะมีตัวเชื้อออกมาบ้างแล้ว จึงทำให้ตั้งครรภ์ได้ การใช้ถุงยางอนามัยที่ถูกต้องต้องใช้ตั้งแต่เริ่มต้น และไม่ควรแช่ไว้ เพราะน้ำเชื้ออาจออกจากถุงยางได้

นี่คือเหตุผลที่บางคนเข้าใจผิดว่าหลั่งภายนอกไม่ทำให้ตั้งครรภ์ ความจริงเชื้อออกมาบ้างแล้วตั้งแต่แรก

2.ถ้าถุงยางหมดอายุจะมีโอกาสตั้งครรภ์หรือไม่

การใช้ถุงยางที่หมดอายุหรือคุณภาพไม่ดี ก็มีส่วนทำให้ป้องกันการคุมกำเนิดไม่ได้ผล เพราะอาจฉีกขาดรั่ว

3.ใช้ถุงยางให้ความรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติจริงหรือไม่

ที่จริงก็ได้ความรู้สึกเหมือนกัน

4.ใช้ถุงยางอนามัยมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร

เป็นการคุมกำเนิดที่ดีต่อฝ่ายหญิง ไม่ต้องกังวลกับผลข้างเคียงของการกินหรือฉีดยา ป้องกันการติดเชื้อโรค

5.การคุมกำเนิดโดยนับวันของรอบเดือนช่วงไหนเป็นวันปลอดภัย

7 วันก่อนมีประจำเดือนวันแรก และ 7 วันหลังมีประจำเดือนวันแรก ช่วงตกไข่คือหลังวันที่ 7-21 ของรอบเดือนจึงเป็นช่วงที่ไม่ปลอดภัยมีโอกาสมีลูกได้

6.นับวันปลอดภัยทำไมถึงไม่ป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์

รอบเดือนมักคลาดเคลื่อน หากรอบเดือนเปลี่ยนแปลงไป มีปัจจัยมาเกี่ยวข้อง ทำให้ประจำเดือนมาเร็ว หรือเลื่อนออกไป การคุมกำเนิดก็อาจพลาดได้ การนับวันอาจพลาดได้ถ้าประจำเดือนมาคลาดเคลื่อน

7.หลังคลอด หรือหลังแท้งลูก หรือลูกดูดนม ประจำเดือนยังไม่มา จะไม่ตั้งครรภ์จริงหรือไม่

ไม่จริง เพราะรังไข่ของฝ่ายหญิงอาจเพิ่งเริ่มทำงาน ดังนั้นโอกาสที่จะมีลูกจึงเป็นไปได้

8.กินยาคุมกำเนิดช่วงไหนของเดือนก็ได้ใช่หรือไม่

การคุมกำเนิดที่ได้ผลต้องกินในวันแรกที่มีรอบเดือน หรือมีประจำเดือนภายใน 5 วันแรกเท่านั้น กินติดต่อกันทุกวัน เวลาเดียวกันทุกวัน แต่ละเม็ดไม่ควรห่างนานกว่า 24 ชั่วโมง กินหลังอาหารเย็น หรือก่อนนอน กินติดต่อกันตามกำหนด ไม่ใช่วันไหนไม่มีเพศสัมพันธ์ก็ไม่กิน วันไหนมีก็กิน เช่นนี้คุมไม่ได้

9.ยาคุมกำเนิดทำไมมี 21 เม็ด กับ 28 เม็ด

ยาคุมกำเนิดมีสองชนิดคือ ชนิด 21 เม็ด เมื่อกินหมดแผงแล้วให้เว้น 7 วัน แล้วเริ่มแผงใหม่ และ 28 เม็ดกินทุกวันติดต่อกันแผงต่อแผง

10.ถ้าลืมกินยาคุมไป 1 เม็ด ควรทำอย่างไร

รีบกินยาทันทีที่นึกได้ และกินเม็ดต่อไปตามปกติ ถ้าลืมกินและมีเพศสัมพันธ์อาทิตย์ที่ 2 และ 3 โอกาสที่จะมีลูกสูง ดังนั้นถ้าลืมกินควรใช้ถุงยางอนามัย

คลิกอ่านเพิ่มเติม

“คุมกำเนิดหลังคลอด เมื่อไร อย่างไร”

“การคุมกำเนิดแบบใหม่สำหรับผู้ชาย มีสวิตช์ปิด-เปิดได้ตามใจ!”

เครดิต: แพทย์เฉพาะทางบาทเดียว, หมอชาวบ้าน, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี