Copyright © 2025 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.
เป็น โรคซึมเศร้า ตั้งครรภ์ ได้ไหม? หากคุณผู้หญิงเคยมีอาการซึมเศร้า หรือมีโรคซึมเศร้าเป็นโรคประจำตัว คงจะมีข้อสงสัยว่า เป็นโรคคซึมเศร้า ตั้งครรภ์ได้ไหม เพราะกลัวว่าโรคนี้จะส่งผลต่อสภาพจิตใจตอนท้องและมีผลต่อลูกน้อย วันนี้เราจึงจะมาให้คำตอบพร้อมคำอธิบายเพื่อให้คุณแม่เข้าใจกันมากยิ่งขึ้นค่ะ
หากเป็น โรค SLE ตั้งครรภ์ ได้รึเปล่า โรค SLE หรือ เอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus ; SLE) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคพุ่มพวง ถือเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองโรคหนึ่งที่มีปัญหากับการตั้งครรภ์ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในภูมิคุ้มกันของร่างกาย แทนที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา กลับทำลายเซลส์ของตัวเอง จนเกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ผิวหนัง เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุทางเดินอาหาร กระดูกและข้อ ไต หัวใจ ปอด ระบบโลหิต และระบบประสาท เป็นต้น
เป็น เนื้องอก ใน มดลูก มี ลูก ได้ไหม? เพราะมีคุณผู้หญิงหลายท่านเคยสงสัยและถามกันมามากว่า หากตัวเองเป็นเนื้องอกในมดลูก มีลูกได้ไหม? แล้วเนื้องอกในมดลูกจะส่งผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร? ผ่าตัดออกแล้วจะท้องได้ไหม? สารพันคำถามเหล่านี้ เรามีคำตอบพร้อมกับข้อมูลความรู้ และการสังเกตดูแลตัวเองกันได้อย่างถูกต้องมาฝากค่ะ
ตั้งครรภ์ คุณภาพ ได้ แม้ วัย 35 อัพ ปัจจุบันผู้หญิงมักจะแต่งงานมีครอบครัวช้า เนื่องจากปัจจัยทั้งด้านการศึกษา การสร้างความมั่นคงทางการงานการเงิน และการใช้เวลาศึกษาดูใจก่อนแต่งงาน ทำให้กว่าจะมีลูกได้ก็เข้าสู่วัย 35 ปี ซึ่งการตั้งครรภ์ช่วงนี้มักมีโรคภัยและความเสี่ยงต่างๆ มากขึ้น แต่อย่าเพิ่งกังวลใจไปค่ะ เพราะความก้าวหน้าทางการแพทย์ ร่วมกับการดูแลตัวเองของคุณแม่ ทำให้เราสามารถตั้งครรภ์คุณภาพได้ แม้วัย 35 อัพแน่นอน
มีประสบการณ์จากคุณแม่คนหนึ่งที่แม่น้องเล็กอากจะเล่าให้ฟังเป็นกรณีตัวอย่าง เมื่อคุณแม่รู้สึกไม่สบายใจเกี่ยวกับโรคประจำตัวของคุณแม่เอง คุณแม่ท้องเป็นโรคหัวใจ เป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดปกติ เป็นความดัน และครรภ์เป็นพิษ ซึ่งคุณแม่มีความกังวลว่าจะส่งผลกับลูกน้อย
ตรวจสุขภาพ ก่อนตั้งครรภ์ จำเป็นแค่ไหน สามีภรรยามือใหม่ที่ต้องการมีลูกน้อยมักพบเจอคำถามคาใจว่าควรตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์หรือไม่ ถ้าตรวจสุขภาพควรตรวจอะไรบ้าง โปรแกรมสุขภาพอะไรที่ควรเลือก และถ้าไม่ตรวจสุขภาพล่ะ ลูกน้อยจะมีผลกระทบอะไรไหม วันนี้เรามีคำตอบไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยามาให้คำแนะนำค่ะ
โภชนาการดี ก่อนตั้งครรภ์ ลดความเสี่ยง คลอดก่อนกำหนด You are what you eat !! ยังคงเป็นข้อความที่ถูกต้องและแท้จริงเสมอสำหรับสุขภาพของคนเราตลอดกาล
คุณแม่เตรียมเฮ คุณพ่อเตรียมตัว นักวิจัยค้นพบ “ยาฉีดคุมกำเนิดสำหรับผู้ชายโดยเฉพาะ” ประสิทธิภาพสูงแทนการทำหมันได้ เกือบ 100%
โลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก ในแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องต้องการธาตุเหล็กมากกว่าคนทั่วไป เพราะร่างกายต้องนำมาสร้างรกและทารก สร้างเลือดให้แม่ เพราะฉะนั้นการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ โลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก ในแม่ตั้งครรภ์ โรคโลหิตจาง เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งผลกระทบที่เกิดกับคุณแม่และลูกน้อยจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเด็ดขาด โลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก ในแม่ตั้งครรภ์ จะมีผลกระทบต่อลูกและคุณแม่อย่างไรบ้าง โรคโลหิตจาง หมายถึง โรคจากสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงน้อยจนทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ขึ้น โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ก็หมายถึง ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงน้อยจากการขาดธาตุเหล็ก พบได้มาก ประมาณการณ์ว่ามีคนร้อยละ 1-2 เป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก แต่หากรวมผู้ที่โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กแต่ไม่มีอาการ พบประมาณร้อยละ 12 โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์หลายอย่างคือ เพิ่มความเสี่ยงในการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อย ลูกในครรภ์มีโลหิตจาง หากโลหิตจางมาก อาจทำให้เกิดน้ำคร่ำน้อย ซึ่งทำให้เด็กเสียชีวิตในครรภ์ได้ นอกจากนั้นยังอาจเกิดอันตรายกับมารดาในช่วงคลอด เพราะอาจตกเลือดจนเสียชีวิตได้ค่ะ ทำไมแม่ท้องจึงเสี่ยง โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เพราะการตั้งครรภ์ทั่วไปจะทำให้เกิดโลหิตจางในช่วงไตรมาสที่สอง ซึ่งช่วงนั้น น้ำเหลือง (พลาสม่า) จะเพิ่มมากกว่าเม็ดเลือดแดง ทำให้เสมือนว่าเม็ดเลือดแดงซึ่งอยู่ในน้ำเหลืองมีจำนวนน้อยลง อีกทั้งธาตุเหล็กจากการรับประทานอาหารมักไม่เพียงพอ เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการธาตุเหล็กมากกว่าปกติ […]
โก๊ะตี๋ มีลูกไม่ได้ ...เปิดใจเคลียร์ หลังมีข่าวออกมาว่าจะลูกไม่ได้ เพราะภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ และยอมเสียเงินเป็นล้านๆ แต่ก็ไม่ได้ผล!!
เบาหวานก่อนตั้งครรภ์ VS เบาหวานขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวานในประเทศไทยปัจจุบันพบมากขึ้น อาจเป็นเพราะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมร่วมกับสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวย
กลัวลูกออกมาไม่สมบูรณ์ การตั้งครรภ์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของหลายครอบครัว สิ่งหนึ่งที่พ่อแม่คาดหวังคือ ลูกน้อยจะเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง มีอวัยวะครบ 32 ประการหรือไม่