รู้จักกับ โฟลิค และ กรดโฟลิก ให้มากขึ้น พร้อมคำแนะนำและวิธีการรับประทานที่ถูกต้อง
พูดถึง โฟลิค หรือ กรดโฟลิก ผู้หญิงน้อยคนนักจะไม่รู้จัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ท้องหรือผู้หญิงที่ต้องการจะตั้งครรภ์ บางท่านอาจจะรู้แต่จักแต่ชื่อและรู้ว่ามันดีอย่างไรกับแม่ท้อง ซึ่งวันนี้จะให้ดีละก็ เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้ากรดโฟลิกนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่าค่ะ
กรดโฟลิก คืออะไร?
จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี 9 ซึ่ง โฟลิก นั้นได้มากจากการที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น ผิดกับ โฟเลต ที่ได้รับจากอาหารตามธรรมชาติ เป็นสารอาหารในกลุ่มวิตามินบี ที่ละลายน้ำ ซึ่งอาจอยู่ในรูปสารประกอบชนิดอื่น ๆ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป
หน้าที่สำคัญของวิตามินบี 9 คืออะไร?
ทั้ง โฟลิค และ โฟเลต นั้นมีบทบาทเหมือนกันนั่นก็คือ ช่วยร่างกายในการสร้างเม็ดเ
กรดโฟลิกนั้นสำคัญเป็นอย่างมากกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือคุณผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและพร้อมที่จะมีทายาท แต่หลาย ๆ คนอาจจะกำลังสงสัยว่า แท้จริงแล้วเราควรทานกรดโฟลิกที่ว่านี้ตอนไหนกันแน่ ก่อนมีลูกหรือระหว่างที่กำลังตั้งท้อง วันนี้เรามีคำอธิบายเพิ่มเติมมาฝากกันค่ะ
กรดโฟลิกทานตอนไหนดี ?
การรับประทาน กรดโฟลิก ตอนไหนดี?
สำหรับคุณผู้หญิงที่พร้อมจะมีบุตรหรือกำลังท้องอยู่นั้น สิ่งแรกที่ควรเริ่มทำคือ วางแผนครอบครัวในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการมีบุตร ทั้งนี้เพื่อจะได้ทำการตรวจสุขภาพทั้งของสามีและของตัวคุณเองว่าปลอดภัยหรือมีโรคทางพันธุกรรมอะไรหรือไม่ เมื่อตรวจสอบแล้วว่าไม่มี และร่างกายพร้อม … ก็แนะนำให้เริ่มทาน โฟลิค ได้ล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 – 3 เดือนค่ะ และรับประทานต่อไปอีก 3 เดือนภายหลังจากที่ทราบว่าได้ตั้งครรภ์แล้ว
โฟลิค มีประโยชน์อะไรบ้าง ?
- ช่วยให้เจริญอาหารและสามารถแก้อาการอ่อนเพลีย
- ช่วยป้องกันแผลร้อนในได้
- ช่วยรักษาภาวะซีดหรือโลหิตจาง
- ทำงานออกฤทธิ์คล้ายกับยาแก้ปวด
- ช่วยบำรุงผิวพรรณและสุขภาพให้เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล
- ช่วยป้องกันพยาธิในลำไส้และอาการแพ้จากอาหารเป็นพิษ
- ช่วยป้องกันการพิการของเด็กทารกแรกเกิด
- ช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาภายหลังการคลอดบุตร
- ช่วยชะลอให้ผมขาวช้าลง หากรับประทานร่วมกับพาบาและวิตามินบี 5
- ช่วยลดระดับของกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีนในเลือด
- ช่วยลดอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้
- ช่วยแก้ปัญหาสีผิวที่ดูแล้วไม่สม่ำเสมอให้ดีขึ้นได้
อ่านคำแนะนำในการรับประทานกรดโฟลิก คลิก!
คำแนะนำในการรับประทาน กรดโฟลิก
ขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือประมาณ 180 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน ในสำหรับคุณแม่ท้องนั้นควรเพิ่มขนาดการรับประทาน โฟลิค เป็น 2 เท่า ส่วนหญิงให้นมบุตรควรรับประทาน 280 ไมโครกรัมในช่วง 6 เดือนแรก และ 260 ไมโครกรัมในช่วง 6 เดือนหลัง
ไม่อยากทานยาทานผักผลไม้แทนได้หรือไม่?
คำตอบคือ สามารถทำได้ด้วยการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิกที่ว่านี้ ยกตัวอย่างเช่น ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แครอท คะน้า กะหล่ำปลี ปวยเล้ง หน่อไม้ฝรั่ง ผักกาดหอม ถั่วลันเตา บล็อกโคลี่ แคนตาลูป ฟักทอง อะโวคาโด และถั่ว เป็นต้น
ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการที่เป็นพิษต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณมากติดต่อกัน แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผื่นแพ้ได้บ้าง และหากร่างกายมีกรดโฟลิกมากเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 ไม่แสดงออกมา โดยศัตรูของ โฟลิค ได้แก่ น้ำ กระบวนการแปรรูปอาหารโดยเฉพาะการต้ม แสงแดด ความร้อน ยาในกลุ่มซัลฟา ฮอร์โมนเอสโตรเจน เป็นต้น
ในกรณีที่คุณแม่ต้องการรับประทานกรดโฟลิกแบบเม็ดละก็ หากมีโรคประจำตัวหรือว่า มียาประจำอะไรที่รับประทานเป็นประจำ แนะนำให้ปรึกษากับแพทย์ก่อนนะคะ
อ่านเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่