AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ กับวิธีการตรวจดูขนาดของลูกในท้องว่าตัวเล็กหรือใหญ่!

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์

เชื่อว่ามีคุณแม่ท้องหลายคนสงสัยว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องของเราหนักเท่าไหร่ ตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่จะเช็กน้ำหนักตัวของลูกน้อยได้คือดูจาก ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ อีกทั้งยังมีวิธีการตรวจแบบต่างๆ มากมายจากคุณหมอ

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ สำหรับเช็กขนาดของลูกน้อย

สำหรับเรื่องการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ หากคุณแม่ท้องสงสัยว่าลูกของเราจะแข็งแรงสมบูรณ์ และตัวเล็กหรือตัวใหญ่ มีน้ำหนักเท่าไหร่นั้น คุณหมอจะสามารถตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ได้หลายวิธี ได้แก่

1. การวัดความสูงของยอดมดลูก

เมื่อคุณแม่มาฝากครรภ์ทุกครั้ง คุณหมอจะทำการตรวจการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ทางอ้อม เพราะถ้าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงจะมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดมดลูกสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงระยะตั้งครรภ์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 ถึงสัปดาห์ที่ 34

2. การตรวจการดิ้นของทารกในครรภ์

ซึ่งคุณแม่รับรู้การดิ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ขึ้นไป การที่เด็กดิ้นน้อยลงมักพบร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย ทารกจะดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นประมาณ 12-48 ชั่วโมง ก่อนตาย การที่ลูกดิ้นน้อยลงจึงเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์ โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ ขึ้นไป

3. การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวด์

เป็นการตรวจโครงสร้างและอวัยวะต่างๆ ของทารกในครรภ์ ว่าเจริญเติบโตปกติหรือไม่ และใช้ค้นหาความพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของทารก ปริมาณน้ำคร่ำ ลักษณะของรกและตำแหน่งที่รกเกาะและสายสะดือ

การตรวจสามารถทำได้ 2 ทาง คือ การตรวจผ่านทางช่องคลอด และการตรวจผ่านหน้าท้องมารดา เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก มีทั้งแบบ 2 มิติ 3 มิติ และ 4 มิติ ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถเห็นและตรวจทารกในครรภ์ได้ชัดเจนขึ้น

4. การนำเซลล์ของทารกในครรภ์

เพื่อนำมาตรวจหาโครโมโซม หรือดีเอ็นเอ ในรายที่สงสัยว่ามีโรคทางพันธุกรรมชนิดต่างๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น วิธีการในการนำเซลล์ทารกในครรภ์มาตรวจ ได้แก่ การเจาะดูดน้ำคร่ำ การตัดเนื้อรก และการเจาะดูดเลือดทารกโดยตรง

5. การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารก

โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ โดยอาศัยหลักการว่า ถ้าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงไม่ขาดออกซิเจน เมื่ออายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ ขึ้นไป เมื่อทารกดิ้นจะส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจทารกเร็วขึ้น

คลิกหน้า 2 “เพื่อเช็กดูน้ำหนักของลูกน้อย จากตารางการเปรียบเทียบน้ำหนักและส่วนสูงของทารกในครรภ์”


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.rcpsycht.org

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำหนักลูกน้อยในครรภ์ หนักเบาเท่าไหร่?

การที่จะรู้ว่าน้ำหนักทารกในครรภ์ เป็นอย่างไร ลูกจะตัวใหญ่หรือตัวเล็ก สามารถทำได้โดย

1. ตรวจร่างกาย : วัดความสูงของมดลูก ขนาดมดลูกที่สังเกตได้ง่าย คือช่วงอายุครรภ์ 5 เดือน หรือ 20 สัปดาห์ ซึ่งจะมีขนาดเท่ากับระดับสะดือของคุณแม่ แต่อายุครรภ์หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวัด โดยใช้สายวัดซึ่งความสูงของมดลูกหน่วยเป็นเซนติเมตรจะมีค่าเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ เช่น วัดความสูงของมดลูกได้ 28 เซนติเมตร ก็จะเท่ากับขนาดมดลูกที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์

2. อัลตราซาวนด์ : ประเมินน้ำหนักลูกได้จากการคำนวณค่าที่วัดได้จากการอัลตร้าซาวนด์

3. ติดตามการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักคุณแม่ : สำหรับการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว น้ำหนักแม่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังอายุครรภ์ 3 เดือน เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม แต่ในช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากมีอาการแพ้ท้อง ดังนั้น น้ำหนักอาจลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้นได้ ยังไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ

หลังจากนั้นคุณหมอก็จะประเมิน น้ำหนักทารกในครรภ์ แล้วดูว่าทารกตัวเล็กหรือตัวใหญ่จริงหรือไม่ แล้วคุณหมอก็จะทำการตรวจอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการดูแลรักษาต่อไป

เช็กน้ำหนักทารก

การสังเกตว่าจะลูกน้อยในครรภ์มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์หรือไม่ ?

หลักการสังเกตว่าทารกในครรภ์ของคุณแม่รู้สึกว่าไม่โตตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น ซึ่งบางครั้งความสงสัยนี้สามารถพบได้โดยอาจไม่ใช่การตรวจจากข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งพบว่าหากน้ำหนักตัวของคุณแม่ไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น แน่นอนว่าน้ำหนักตัวของแม่และลูก ย่อมมีความสัมพันธ์กัน หากเป็นการตั้งครรภ์เด็กทารกเพียงคนเดียว น้ำหนักตัวของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุครรภ์เริ่มเข้าสู่เดือนที่ 3 และเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ แต่กรณีที่น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น มาพร้อมกับอาการแพ้ท้องด้วย ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่อาจจะมีน้ำหนักขึ้นๆ ลงๆ ได้ เพราะคุณแม่กินอาหารได้น้อยลงก็เป็นได้ โดยคุณแม่สามารถเช็กน้ำหนักของลูกน้อยได้จากตารางนี้

ตารางการเปรียบเทียบน้ำหนักและส่วนสูงของลูกน้อยขณะ อยู่ในท้องแม่

ซึ่งในตารางจะบอกถึงช่วงอายุครรภ์ โดยในสัปดาห์ที่ 8-19 จะบอกถึงความสูงยาวของลูกน้อยตั้งแต่หัวถึงก้น มีหน่วยเป็น เซนติเมตร และน้ำหนัก เป็น กรัม และในช่วงสัปดาห์ที่ 20 เป็นต้นไป ความสูงยาวของลูกน้อยจะวัดตั้งแต่หัวถึงส้นเท้า โดยมีหน่วยเป็น เซนติเมตร และน้ำหนัก เป็น กรัม เช่นเดียวกัน

อ่านต่อ >> “สาเหตุและวิธีป้องกันดูแลครรภ์เพื่อให้ลูกน้อยแข็งแรงมีน้ำหนักตามเกณฑ์” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

“ลูกน้อยตัวเล็ก” ไม่ใช่เพราะ “ลูกผิดปกติ” เสมอไป

อย่างไรก็ตาม ทารกในครรภ์ที่ตัวเล็ก ก็ไม่ใช่ทารกที่ผิดปกติเสมอไปนะครับ โดยทารกในครรภ์ที่ตัวเล็ก ก็สามารถเป็นทารกที่ปกติ มีการพัฒนาของร่างกายและระบบประสาทและสมองที่ปกติได้ แต่สาเหตุที่ตัวเล็กนั้นอาจมาจากเรื่องพันธุกรรมของพ่อแม่ ที่มีขนาดของร่างกายที่เล็กเหมือนกัน  แต่ที่คุณหมอและพ่อแม่จะกังวลคือ ทารกตัวเล็ก เป็นทารกที่ผิดปกติ และจะส่งผลต่อสุขภาพของทารกเอง ซึ่งมีสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เช่น

สาเหตุจากแม่

สาเหตุจากลูก

สาเหตุจากมดลูก รก และ/หรือ สายสะดือ

ทั้งนี้ในเรื่องของความผิดปกติทั้งหมดเหล่านี้ ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ ทารกจึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่

วิธีเพิ่มน้ำหนักเจ้าตัวน้อยในครรภ์เติบโตให้ได้มาตรฐาน

สำหรับแนวทางในการรักษา หากพบว่าปัญหาลูกน้อยมีน้ำหนักตัวต่ำมากเกินไป ทำให้เด็กทารกในครรภ์ตัวเล็กมากกว่าปกติ สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำได้อย่างง่ายที่สุด นั่นก็คือการเลือกเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งแตกต่างจากการกินอาหารเพื่อเน้นพลังงาน กินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ นม เนื้อสัตว์ โดยทั้งหมดควรเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป

ในระหว่างวันคุณแม่ตั้งครรภ์ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด เพราะอาการเหล่านี้จะไปส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยให้หยุดชะงัก เสี่ยงที่เด็กจะมีขนาดตัวเล็กกว่าเกณฑ์ได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยท่าที่เหมาะสม

หากมีโรคประจำตัวควรดูแลตัวเองให้ดี พบแพทย์และรักษาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด แต่หากความผิดปกติที่เกิดขึ้นมีภาวะอื่นที่น่าสงสัยแทรกซ้อนมาด้วย ควรรีบเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุ จะได้ดูแลรักษาภาวะผิดปกติที่อาจจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยได้ทันนั่นเองค่ะ

อ่านต่อ “บทความดีๆน่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : haamor.com , women.sanook.com

Summary
Review Date
Reviewed Item
น้ำหนักทารกในครรภ์ ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์
Author Rating
5