ทารกในครรภ์เติบโตช้า ภาวะน่าเป็นห่วง การที่ทารกโตช้าในครรภ์ ถือว่าเป็นครรภ์ที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เรามีคำอธิบายมาฝากกันค่ะ
ทารกในครรภ์เติบโตช้า ภาวะน่าเป็นห่วง
ทำความเข้าใจ น้ำหนักทารกแรกคลอด
– เด็กทั่วไปเมื่อครบกำหนดคลอด น้ำหนักจะมากกว่า 2500 กรัม
– ครบกำหนดคลอด น้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4000 กรัม เรียกว่าทารกตัวใหญ่ หรือทารกน้ำหนักมากผิดปกติ (Macrosomia)
– ครบกำหนดคลอด น้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม เรียกว่าทารกน้ำหนักน้อย (Low Birth Weight)
– ครบกำหนดคลอด น้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1500 กรัม เรียกว่าทารกน้ำหนักน้อยมาก (Very Low Birth Weight)
– ครบกำหนดคลอด น้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1000 กรัม เรียกว่าทารกน้ำหนักน้อยมากๆ (Extremely Low Birth Weight)
หากยังไม่ครบกำหนดคลอดให้ดูน้ำหนักมาตรฐานของทารก โดยแต่ละอายุครรภ์มีน้ำหนักมาตรฐานของทารก ซึ่งอยู่ในค่าน้ำหนักช่วง 10-90 เปอร์เซ็นไทล์ หากน้ำหนักของเด็กทารกที่อายุครรภ์นั้นๆ ต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นไทล์ถือว่าน้ำหนักน้อย ทั้งนี้อัตราการเสียชีวิต และทุพพลภาพของทารกในครรภ์เติบโตช้า แปรผันโดยตรงกับน้ำหนักของเด็ก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม ทารกในครรภ์ เติบโตช้า ภาวะน่าเป็นห่วง คลิกต่อหน้า 2
ทารกในครรภ์เติบโตช้า เป็นอย่างไร
ทารกในครรภ์เติบโตช้า ร้อยละร้อยจะเป็นเด็กทารกน้ำหนักตัวน้อย แต่ก็ยังมีอีกถึงร้อยละ 40 ของทารกน้ำหนักตัวน้อย ที่เป็นทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทั้งนี้หากแม่ตัวเล็กลูกก็มักตัวเล็กและมีน้ำหนักตัวน้อยตามไปด้วย แต่เหล่านี้ถือว่ายังไม่เข้าข่ายทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
ทารกในครรภ์โตช้าในครรภ์ หมายความว่าอย่างไร
ทารกในครรภ์เติบโตช้า หมายความถึง ทารกที่ไม่สามารถเจริญเติบโตตามที่ได้กำหนดมาแล้วจากพันธุกรรม โดยสาเหตุเกิดจากสารอาหารและออกซิเจนส่งไปถึงลูกไม่เพียงพอ
สาเหตุ ทารกในครรภ์เติบโตช้า
แบ่งเป็นปัจจัยใหญ่ๆ 4 ปัจจัย ได้แก่
-
ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากตัวทารกเอง
- ทารกพิการ ทารกพิการร้อยละ 20-60 จะเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ขณะที่อีกร้อยละ 10 เด็ก พบว่าเป็นเด็กพิการ ความพิการที่พบบ่อยในทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ได้แก่ ไม่มีผนังหน้าท้อง ไส้เลื่อนกะบังลม มีความพิการของหัวใจ และ กระดูกผิดปกติ
- ทารกติดเชื้อโรค เช่น เชื้อเริม เชื้อหัดเยอรมัน เชื้อไวรัสอีสุกอีใส เชื้อ Cytomegalovirus เชื้อ Toxoplasmosis
- ทารกมีโรคหัวใจ ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายของทารกได้ไม่ดี จึงเกิดการเจริญเติบโตช้าในครรภ์
- ทารกมีความผิดปกติทางพันธุกรรม หรือเรียกว่าโครโมโซมผิดปกติ เช่น เป็นเด็กดาวน์ หรือมีความผิดปกติของโครโมโซมอื่นๆ
2. ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจาก รก ถุงน้ำคร่ำและสายสะดือ
- รกลอกตัวก่อนกำหนด
- รกเกาะต่ำ
- รกอักเสบ
- รกมีเนื้องอกและถุงน้ำ (Chorioangioma, Placental Cyst)
- ถุงน้ำคร่ำอักเสบ
- สายสะดือเกิดความผิดปกติ เช่น สายสะดือพันกัน ผูกเป็นปม มีเส้นเลือดผิดปกติ ตีบมาตั้งแต่กำเนิด ปัจจัยเหล่านี้ทำให้รกไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงทารกได้เพียงพอ จึงทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
3. ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากแม่
- มีโรคเรื้อรังที่ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงรกไม่ดีเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคภูมิแพ้ของร่างกาย โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ โรคเลือด โรคมะเร็ง โรคโลหิตจาง ฯลฯ
- อายุมาก
- สูบบุหรี่
- ดื่มเหล้า
- ติดยาเสพติด
- รับประทานยาที่มีผลทำให้ทารกเติบโตช้า ได้แก่ สารเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็งบางชนิด
4. ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากมดลูก
- มดลูกมีเนื้องอก ทำให้เลือดไปเลี้ยงรกไม่ดี หรือเนื้องอกนี้แย่งเลือดกับทารก
- มดลูกผิดปกติ เช่น มีขนาดเล็ก
- มารดามีโรคที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกไม่ดี ส่งผลให้ทารกขาดเลือดไปเลี้ยง เช่น โรคครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม ผลกระทบ เมื่อทารกในครรภ์เติบโตช้า คลิกต่อหน้า 3
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ได้รับผลกระทบอะไรบ้าง
- ในกรณีของทารกที่มีความพิการอย่างรุนแรง หรือโครโมโซมผิดปกติที่ไม่อาจรอดชีวิตได้ จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์
- ทารกอาจเสียชีวิตในครรภ์ เพราะรกที่ไปเลี้ยงทารกเสื่อมสภาพหรือเพราะความผิดปกติของตัวทารกเอง
- ขณะที่คลอดทารกอาจจะสำลักขี้เทา เพราะเมื่อขาดออกซิเจน ทารกในครรภ์จะถ่ายขี้เทาออกมา ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน จนสำลักขี้เทาขณะคลอด ส่งผลให้ระบบการหายใจและระบบหัวใจล้มเหลวจนอาจเสียชีวิตได้
- หลังคลอดทารกอาจขาดออกซิเจนจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อีกทั้งยังตัวเย็นจากการควบคุมอุณหภูมิร่างกายของตนเองไม่ได้ น้ำตาลในเลือดต่ำ เลือดเป็นกรด ชักเกร็ง มีเลือดออกในสมอง การหายใจล้มเหลว หากไม่เสียชีวิตก็อาจเติบโตมาเป็นเด็กพิการปัญญาอ่อน
วิธีสังเกตอาการ ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
ถ้าเกิดกรณีดังต่อไปนี้ ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่า ทารกในครรภ์อาจเจริญเติบโตช้า
- คุณแม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า (ดูรายละเอียดได้ในปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากแม่)
- น้ำหนักขณะตั้งครรภ์ลดลง หรือไม่ก็ขึ้นน้อยกว่าเดือนละ 1 กิโลกรัม
- รู้สึกว่าท้องตัวเองเล็กกว่าเพื่อนๆ ที่ตั้งครรภ์พร้อมกัน
- การตรวจครรภ์พบขนาดยอดของมดลูกไม่โตขึ้น และไม่เป็นไปตามเกณฑ์ปกติ
- การตรวจโดยเครื่องอัลตราซาวนด์พบเด็กทารกเติบโตช้า มีน้ำหนักน้อยและน้ำหนักเพิ่มขึ้นช้ากว่าทารกที่มีอายุครรภ์เท่ากัน
- การตรวจวัดการสูบฉีดเลือดของทารกในครรภ์ (Doppler Velocimety) พบความผิดปกติ
- รู้สึกได้ว่าลูกดิ้นน้อย
อ่านบทความอื่นที่น่าสนใจ
เครื่อง MRI เอ็มอาร์ไอ สแกนดูทารกในครรภ์แนวใหม่ เห็นชัดเว่อร์!
โลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก ในแม่ตั้งครรภ์
คลอดก่อนกำหนด อันตราย กว่าที่คิด!!!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่