AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลูกดิ้น สัญญาณสำคัญที่แม่ท้องต้องรู้

การรู้สึกว่าลูกในท้องดิ้นเป็นครั้งแรก เป็นวินาทีสุดมหัศจรรย์ที่แม่ท้องทุกคนต่างเฝ้ารอ เพราะนั่นหมายถึงว่ามีชีวิตน้อย ๆ อยู่ในท้องของเรา และลูกกำลังบอกเราว่ากำลังมีความสุขดีและจะออกมาลืมตาดูโลกเมื่อพร้อมนะ ลูกดิ้นตอนกี่เดือน คำถามสุดฮิตที่แม่ท้องสงสัย ทำไมแม่ท้องคนอื่นถึงรับรู้ได้แล้วว่าลูกดิ้น ทำไมลูกต้องดิ้น ต้องการจะบอกอะไร ลูกดิ้นเบาหรือลูกไม่ดิ้น น่ากังวลไหม จริง ๆ แล้ว ลูกดิ้นตอนกี่เดือน และแม่ท้องรับรู้ว่า ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำตอบค่ะ

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลูกดิ้น สัญญาณสำคัญที่แม่ท้องต้องรู้

ลูกดิ้นตอนกี่เดือน และมีอาการเป็นอย่างไร?

แล้ว ลูกดิ้นตอนกี่เดือน กันล่ะ? ในความเป็นจริงแล้ว ลูกเริ่มดิ้นตั้งแต่คุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 6-7 สัปดาห์แล้วล่ะค่ะ แต่แม่ท้องจะยังไม่รู้สึกหรือรับรู้ว่าลูกดิ้นหรอกค่ะ นั่นเป็นเพราะขนาดมดลูกยังเล็กอยู่ ปริมาณน้ำคร่ำยังมีน้อย และแรงดิ้นของลูกยังเบาเกินไปจนไม่สามารถส่งผ่านไปยังผนังหน้าท้องให้คุณแม่รู้สึกได้ หรือเพราะลูกยังตัวเล็กอยู่ และในโพรงมดลูกของแม่ก็ยังมีช่องว่างมากพอที่จะให้เขากลับตัวไปมาได้อย่างสบาย ๆ โดยไม่กระทบกับผนังมดลูกก็เป็นไปได้เช่นกัน คุณแม่จึงไม่ได้รับรู้ถึงการดิ้นของลูกในท้องในช่วงนี้

เมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 16-20 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่ามีอะไรมาตอดที่ท้อง แต่การรับรู้ว่าลูกในท้องดิ้นของแม่ท้องแต่ละคน อาจจะไม่ตรงกันนะคะ ในแม่ท้องบางคนอาจจะรับรู้ได้ก่อน 16 สัปดาห์ และแม่ท้องบางคนรับรู้ว่าลูกดิ้นในสัปดาห์ที่ 20 ซึ่งสาเหตุที่แม่ท้องเริ่มรู้สึกว่าลูกดิ้นไม่ตรงกัน เป็นเพราะสาเหตุต่อไปนี้ค่ะ

ปัจจัยที่ทำให้แม่ท้องรับรู้การดิ้นครั้งแรกของลูกเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับ

  1. ท้องแรกหรือท้องหลัง หากเป็นแม่ท้องแรกจะรับรู้การดิ้นครั้งแรกของลูกได้ได้ช้ากว่าท้องหลัง นั่นเป็นเพราะประสบการณ์นั่นเองค่ะ ในแม่ท้องหลัง จะรู้ว่าสัญญาณใดคือลูกดิ้น สัญญาณใดคือการเคลื่อนตัวของลมในท้องเท่านั้น
  2. ตำแหน่งของรก ถ้าตำแหน่งของรกอยู่ด้านหน้าของมดลูก จะทำให้มีชั้นที่กั้นระหว่างท้องของแม่กับลูกในท้องเยอะ จึงต้องใช้เวลามากขึ้นในการรับรู้ว่าลูกดิ้น หรือจนกว่าลูกจะเจริญเติบโตขึ้นแล้วมีแรงดิ้นมากขึ้นนั่นเอง
  3. ปริมาณน้ำคร่ำที่อยู่รอบตัวลูก ถ้าลูกมีปริมาณน้ำคร่ำน้อย แม่ท้องก็จะไม่ค่อยรู้สึกว่าลูกดิ้นมากนัก
  4. ผนังหน้าท้อง สำหรับแม่ท้องที่มีผนังหน้าท้องหนา ก็จะรับรู้การดิ้นครั้งแรกของลูกได้ช้ากว่าแม่ท้องที่ผนังหน้าท้องบาง

สำหรับแม่ที่ท้องในช่วงสัปดาห์ที่ 16-20 เราจะยังไม่ทราบชัดเจนว่า การที่ยังไม่รับรู้การดิ้นครั้งแรกของลูกนั้น เป็นเพราะปัจจัยที่เกิดจากแม่หรือลูกกันแน่ จึงไม่ควรฟันธงว่าลูกผิดปกติจึงไม่ดิ้น ด้วยสาเหตุนี้ จึงควรดูก่อนค่ะ ว่าลักษณะการดิ้นของลูกในแต่ละสัปดาห์มีลักษณะใดบ้าง

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ ลูกดิ้นตอนกี่เดือน ลักษณะการดิ้นของลูกแต่ละช่วงวัยเป็นอย่างไรบ้าง

ลักษณะการดิ้นของทารกในครรภ์แต่ละช่วงสัปดาห์

ลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวัน

โดยปกติแล้วลูกจะดิ้นประมาณ 200 ครั้งต่อวัน เมื่แม่ท้องมีอายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ และลูกจะดิ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีการพัฒนาระบบประสาทและกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง จนลูกสามารถดิ้นได้สูงสุดเมื่อแม่ท้องมีอายุครรภ์ประมาณ 30-32 สัปดาห์ ซึ่งอัตราการดิ้นอาจสูงถึง 375-700 ครั้งต่อวัน แต่หลังจากนั้นลูกจะดิ้นน้อยลง เนื่องจากลูกตัวโตขึ้นจนเต็มโพรงมดลูก ทำให้มีพื้นที่ในการดิ้นน้อยลง

6 วิธีดี๊ดีในการนับลูกดิ้น

การจดบันทึกว่าลูกดิ้นไปกี่ครั้งแล้วใน 1 วันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการนับลูกดิ้น แต่ในความเป็นจริง จะให้แม่ท้องมาจดบันทึกตลอดเวลานั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะหากแม่ท้องที่ต้องทำงาน ในช่วงเวลาที่กำลังตั้งใจทำงานอยู่นั้นอาจจะไม่ทันรู้สึกว่าลูกกำลังดิ้นอยู่ ดังนั้นคุณหมอจึงมีหลักในการจดบันทึกลูกดิ้นอยู่ 6 วิธีด้วยกัน ดังนี้

  1. จดบันทึกจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นตลอด 24 ชั่วโมง หรือจดบันทึกจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นในช่วงที่คุณแม่ตื่น คือ ช่วง 9 โมงเช้า จนถึงบ่าย 3 โมงเย็น วิธีนี้ในทางปฏิบัติ คุณแม่มักจะไม่ค่อยสะดวกมากนัก
  2. จดบันทึกจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นหลังแม่ท้องทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่แม่ท้องจะมีน้ำตาลในเลือดสูง จึงทำให้ลูกได้รับพลังงานมากขึ้นและดิ้นบ่อยเป็นพิเศษ โดยภายใน 1 ชั่วโมง หลังมื้ออาหารลูกควรดิ้นไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง เมื่อรวมกัน 3 มื้อใน 1 วัน ลูกจึงควรดิ้นรวมกันต้องมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน หากหลังมื้ออาหารใดมื้ออาหารหนึ่ง ลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ให้นับต่ออีก 1 ชั่วโมง และหากยังน้อยกว่า 3 ครั้งอีก ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน วิธีนี้เป็นวิธีที่คุณหมอนิยมใช้ เพราะช่วงเวลาหลังมื้ออาหาร แม่ท้องจะได้พักผ่อนและผ่อนคลาย ทำให้สะดวกในการสังเกตุลูกดิ้น
  3. ให้นับลูกดิ้นหลังมื้ออาหารเช่นกัน แต่จะต้องดิ้นอย่างน้อย 4 ครั้งต่อมื้อ (ไม่น้อยกว่า 12 ครั้งต่อวัน) หากลูกดิ้นน้อยกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมงหลังมื้ออาหารมื้อใด ให้นับต่อไปจนครบ 6 ชั่วโมง หากยังน้อยกว่า 4 ครั้งใน 6 ชั่วโมงอีก หรือรวมแล้วลูกดิ้นน้อยกว่า 12 ครั้งต่อวัน ให้รีบมาพบแพทย์โดยด่วนเช่นกัน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ ลูกดิ้นตอนกี่เดือน 6 วิธีดี๊ดีในการนับลูกดิ้น

4. นับลูกดิ้นในช่วงเวลาว่างของคุณแม่ ถ้าใน 1 ชั่วโมงลูกดิ้นเกิน 3 ครั้งถึอว่าปกติดี

5. ใช้เวลา 10-12 ชั่วโมงในการนับว่าลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้งหรือเปล่า หากเกิน 10 ครั้งก็ยังถือว่าปกติดี โดยวิธีการนับแบบนี้ควรนับในช่วงเช้าถึงเย็น

6. นับว่าภายใน 2 ชั่วโมง ลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้งหรือไม่ ถ้าเกินก็ถือว่าปกติ

ลูกดิ้นมาก

หากลูกดิ้นมากมาตั้งแต่แรกแล้ว ไม่ถือว่าผิดปกติหรือเป็นอันตรายค่ะ แต่ถ้าหากลูกในท้องซึ่งปกติแล้วไม่ได้ดิ้นบ่อยขนาดนี้ อยู่ ๆ ก็ดิ้นแรงมากอยู่ช่วงหนึ่งแล้วก็หยุดดิ้นไปเลย ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วนที่สุดเลยนะคะ แต่ลักษณะการดิ้นแบบนี้ ไม่ใช่อยู่ ๆ ก็เป็นขึ้นมานะคะ ปกติแล้วจะมีสาเหตุที่แสดงออกมาก่อนที่ลูกจะดิ้นผิดปกติ เช่น แม่ท้องมีโรคหรือความผิดปกติอื่น ๆ ที่กำลังรักษาอยู่ เป็นต้น

ลูกดิ้นน้อย

เกณฑ์ในการนับว่าลูกดิ้นน้อยลง คือหากยังดิ้นเกิน 10-12 ครั้งต่อวัน ก็ยังถือว่าปกติ หรือสาเหตุที่ลูกดิ้นน้อยลงไม่ได้มีความอันตรายใด ๆ เช่น การดิ้นของลูกในท้องที่อยู่ในช่วง 36-40 สัปดาห์ ซึ่งมีพื้นที่ให้ดิ้นแคบลงจึงดิ้นน้อยลง หรือ ลูกกำลังหลับอยู่ เป็นต้น แต่ถ้าลูกดิ้นน้อยกว่านี้ ให้รีบไปพบคุณหมอทันทีค่ะ ไม่จำเป็นต้องรอให้ลูกหยุดดิ้น เพราะอาจจะสายเกินไปค่ะ

สาเหตุของสัญญาณอันตรายหากลูกดิ้นน้อย(กว่า 10 ครั้งต่อวัน) หรือหยุดดิ้น

อย่างที่กล่าวไว้ว่าการนับลูกดิ้นเป็นส่วนช่วยในการประเมินว่าลูกในท้องยังปกติดีอยู่หรือไม่ หากแม่ท้องพบว่าลูกหยุดดิ้นหรือดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งต่อวัน นั้นถือว่าเป็นสัญญาณที่อันตรายแล้วค่ะ เรามาดูสาเหตุที่ทำให้ลูกหยุดดิ้นหรือดิ้นน้อยลงมากกันดีกว่าค่ะ เพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงตัวการที่อาจจะทำให้ลูกหยุดดิ้นได้ค่ะ

การดิ้นของลูก ไม่เพียงแต่เป็นการทำให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ตื้นเต้นและเชื่อมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวเท่านั้น แต่ประโยชน์ของการดิ้นในทางการแพทย์ นั่นหมายถึงสุขภาพที่แข็งแรงของลูกในท้อง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ทุกคนจึงควรให้ความสำคัญกับการนับลูกดิ้นด้วยนะคะ

 

อ่านบทความที่น่าสนใจต่อได้ที่นี่

คนท้องอารมณ์อ่อนไหว มีผลกับลูกในท้องอย่างไร

น้ำเดิน หรือ น้ำคร่ำแตก อาการเป็นแบบไหน? และควรทำอย่างไร!!

10 วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น ต้องเล่นกับลูกในท้อง

10 อาหารที่คนท้องควรกิน พร้อมเมนูอร่อยสำหรับแม่และลูก

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad, medthai, Mom Junction

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids