ท้องแล้วต้องกินให้เยอะ ๆ ไม่อย่างนั้นลูกจะขาดสารอาหารและไม่โตได้ เป็นความเชื่อที่ผิด โดยเฉพาะการ กินเผื่อลูกในท้อง ในช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
กินเผื่อลูกในท้อง ช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เสี่ยงแท้ง!!
ความเชื่อที่ว่าเมื่อตั้งครรภ์แล้ว แม่ท้องต้องกินให้เยอะ ๆ เพราะไม่ใช่การกินเพื่อคน ๆ เดียวอีกต่อไป แต่ต้อง กินเผื่อลูกในท้อง ด้วยนั้น เป็นความเชื่อที่ผิด และนอกจากจะเป็นสิ่งที่เข้าใจกันผิด ๆ แล้วการกินเผื่อลูกยังก่อให้เกิดอันตรายต่อแม่ท้องและลูกในท้องมากกว่าที่คิดอีกด้วย
จากการสำรวจจาก National Charity Partnership ทีร่วมมือกับ British Heart Foundation (BHF) และ Tesco พบว่า
- 2 ใน 3 ของผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่รู้ว่าควรทานอาหารในปริมาณเท่าใดจึงเหมาะสม
- 1 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ คิดว่าพวกเขาต้องได้รับสารอาหารอย่างน้อย 300 แคลอรี่มากกว่าปกติทุก ๆ วันตลอดการตั้งครรภ์
- 61% ของหญิงตั้งครรภ์ คิดว่าพวกเธอจะต้องทานอาหารมากกว่าเดิมในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของการตั้งครรภ์
- และ 26% ของหญิงตั้งครรภ์ อ้างคำว่า กินเผื่อลูกในท้อง ในการกินอาหารและขนมที่ไม่มีประโยชน์
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สถาบันสุขภาพและความเป็นเลิศด้านการแพทย์แห่งชาติ (NICE) ของสหราชอาณาจักร แนะนำว่าในช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ไม่ต้องการปริมาณแคลอรี่ไปมากกว่าในช่วงก่อนตั้งครรภ์แต่อย่างใด แต่ในช่วง 3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้นวันละ 200 แคลอรี่ ซึ่งปริมาณสารอาหาร 200 แคลอรี่ที่เพิ่มมานั้น เทียบเท่ากับ ขนมปังธัญพืช 2 แผ่นทาหน้าด้วยครีมน้ำมันมะกอก เท่านั้นเอง
ซึ่งองค์กรเหล่านี้ กำลังดำเนินการลบล้างความเชื่อผิด ๆ เรื่องการ กินเผื่อลูกในท้อง และทำให้ผู้หญิงเข้าใจเรื่องสารอาหารที่ควรได้รับมากขึ้น เพราะ “การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณที่เหมาะสมสำคัญต่อทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังคลอด ทำให้การปฏิสนธิเป็นไปตามธรรมชาติ ลดความเสี่ยงอาการแทรกซ้อนช่วงตั้งครรภ์และทำคลอด และช่วยป้องกันปัญหาด้านสุขภาพในระยะยาว”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ แม่ท้องกินเผื่อลูกในท้องมากเกินไป อันตรายขนาดไหน?
แม่ท้องกินเผื่อลูกในท้องมากเกินไป อันตรายขนาดไหน?
การที่แม่ท้องกินอาหารมากเกินไปจนเป็นสาเหตุให้มีน้ำหนักมากกเกินไปในระหว่างารตั้งครรภ์นั้น มีความเสี่ยงและอันตรายต่อทั้งแม่ท้องและลูกในท้องเป็นอย่างมาก โดยข้อเสียของการกินเผื่อลูก มีดังนี้
- เสี่ยงต่อการแท้งบุตร
- เสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- อาจเกิดภาวะความดันโลหิตสูง
- เสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
- อาจคลอดก่อนกำหนด
- เสี่ยงต่อภาวะคลอดยากและตกเลือดหลังคลอด การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
ในระยะยาว อาจทำให้แม่ท้องมีความเสี่ยงต่อโรคต่อไปนี้
- เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
- ภาวะซึมเศร้า เนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาก ส่งผลต่อสภาวะทางจิตใจ
แม่ท้องกินอย่างไรไม่ให้อ้วน?
- เลือกกินอาหารมีประโยชน์ และกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นอาหารประเภทโปรตีนเป็นหลัก เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่ว และกินวิตามินจากพืชผักและผลไม้ ไม่เน้นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และอาหารที่มีน้ำตาลสูง
- กินอาหารย่อยง่ายและมีกากใย เช่น โปรตีนจากเนื้อปลา และวิตามินจากผัก
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียดเพื่อช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น เพราะขณะตั้งครรภ์ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะทำให้ลำไส้บีบตัวช้าลง ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้น้อยลง คุณแม่ตั้งครรภ์จึงมีอาการท้องจะอืดและท้องผูกได้ง่ายกว่าปกติ
- ดื่มนมไขมันต่ำ
- เลี่ยงน้ำอัดลม และอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพทุกชนิด
ต้องอย่าลืมว่าลูกในท้อง เมื่อคลอดออกมาแล้ว จะมีน้ำหนักประมาณ 2.5 – 4 กิโลกรัมเพียงเท่านั้น บวกลบน้ำคร่ำที่อยู่ในท้อง อย่างไรน้ำหนักก็ไม่เกิน 5-6 กิโลกรัม ไม่รวมน้ำหนักของมดลูกและเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้น ดังนั้น แพทย์จึงแนะนำว่าน้ำหนักแม่ท้องควรจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 10-15 กิโลกรัม ดังนั้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากนี้ คือน้ำหนักที่จะเหลืออยู่กับคุณแม่หลังคลอด ให้พวกเราต้องมาลดน้ำหนักหลังคลอดกันอีกนั่นเอง
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
10 อาหารที่คนท้องควรกิน พร้อมเมนูอร่อยสำหรับแม่และลูก
5 อาหารที่คนท้องไม่ควรรับประทาน (เลี่ยง ลด เลิก)
10 สุดยอด “อาหารบำรุงสมอง” ลูกน้อย
คุณแม่ ตั้งครรภ์ อย่างไร ไม่ให้อ้วน
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.rcog.org.uk, โรงพยาบาลพญาไท
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่