AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

4 ทางเลือกในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบไหนดีที่สุด?

สำหรับคุณแม่ที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ คงจะต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลครรภ์ และบำรุงสุขภาพกันไว้ล่วงหน้าอย่างมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่คุณแม่หลายท่านอาจไม่ได้ใส่ใจ คือวิธีการตรวจคัดกรองความผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ในแบบต่างๆ ที่คุณแม่เกือบทุกท่านอาจจะต้อง เพื่อจะได้รู้ว่าลูกน้อยเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่ และมีความผิดปกติอื่นใดหรือเปล่า แต่ว่าจะ ตรวจดาวน์ซินโดรม แบบไหนดี เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ

การตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ ไตรมาสแรก

ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 10-12 สัปดาห์ ทางการแพทย์จะมีวิธีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของทารกในครรภ์หรือตรวจโครโมโซมเพื่อดูความเสี่ยงที่ลูกน้อยในครรภ์จะเป็นดาวน์ซินโดรมอยู่ 4 แบบคือ

ตรวจดาวน์ซิมโดรม แบบไหนดี

เป็นวิธีการที่คนทั่วไปมักจะไม่ค่อยรู้จัก แต่เป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ วิธีการทำคือใช้การนำท่อส่องกล้องเข้าไปในปากมดลูก และใช้เครื่องมือดึงหรือดูดนำตัวอย่างรกของลูกน้อยในครรภ์ออกมาตรวจที่ห้องปฏิบัติการ การตัดชิ้นเนื้อรกเพื่อนำมาตรวจนี้ให้ผลการตรวจที่แม่นยำมาก สามารถตรวจได้ทุกโครโมโซม  แต่คุณแม่จะเสี่ยงต่อการแท้งได้  จึงต้องทำโดยแพทย์ที่มีความชำนาญในการทำหัตถการนี้อย่างแท้จริง วิธีการนี้จึงมักทำในโรงเรียนแพทย์ที่มีเครื่องมือและบุคลากรที่พร้อม ซึ่งปัจจุบันไม่นิยมการตรวจคัดกรองด้วยวิธีการนี้ จึงจะทำในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นเท่านั้น

วิธีการนี้คือการใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ตรวจวัดความหนาบริเวณต้นคอของลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งเมื่อตรวจแล้วพบว่าลูกน้อยมีความหนาของผนังคอมากกว่าปกติ จะมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่จะมีโครโมโซมผิดปกติ หรืออาจเป็นดาวน์ซินโดรมเพิ่มมากขึ้นด้วย วิธีการตรวจนี้ให้ผลที่ค่อนข้างแม่นยำ และไม่มีความเสี่ยงต่อการแท้งอีกด้วย

วิธีการนี้เป็นการตรวจร่วมกันทั้งการอัลตราซาวนด์วัดความหนาของต้นคอทารก (NT) ร่วมกับ การตรวจสารชีวเคมีและฮอร์โมนในเลือดคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก 2 ชนิด นั่นคือ Pregnancy-associated plasma protein A หรือ PAPP-A  กับ free beta subunit of human gonadotropin หรือ free ß –HCG

ซึ่งการตรวจคัดกรองวิธีนี้ถือว่าได้ผลที่แม่นยำมากยิ่งขึ้นถึงประมาณ 90%และไม่เสี่ยงแท้งอีกด้วย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ>> วิธีตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ แบบใหม่ล่าสุด คลิกหน้า 2

NIPD (Non-invasive prenatal diagnosis)  เป็นนวัตกรรมการตรวจคัดกรองลูกน้อยในครรภ์แบบใหม่ล่าสุด ที่สามารถค้นหาความผิดปกติหรือตรวจโครโมโซมของลูกน้อยในครรภ์ได้จากเลือดคุณแม่โดยไม่มีผลกระทบต่อลูกในครรภ์ หรือไม่มีความเสี่ยงแท้ง  (Non-invasive) ต่างจากการเจาะน้ำคร่ำ ที่มีความเสี่ยง (Invasive)  เพราะลูกน้อยในครรภ์มีโอกาสที่จะแท้งจากหัตถการการเจาะน้ำคร่ำได้

NIPD  มีคุณแม่รู้จักในหลายชื่อ

วิธีการตรวจคัดกรอง NIPD มีที่มาจากแพทย์นักวิจัยชาวฮ่องกง เป็นผู้ค้นพบว่าในเลือดของคุณแม่ตั้งครรภ์นอกจากจะมี DNA ของแม่แล้วยังมี DNA บางส่วนของลูกน้อยในครรภ์อยู่ด้วย โดยปัจจุบันมีหลายบริษัทหรือแล็ปที่ให้บริการในการตรวจ และใช้ชื่อที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัทหรือแบรนด์ อาทิ Nifty, Panorama, Verifi, NIPS, Harmony และอื่นๆ ซึ่งวิธีการตรวจจะคล้ายคลึงกัน คือการเจาะเลือดคุณแม่ ใส่หลอดไว้ประมาณ 10-20 ซีซี เพื่อนำเลือดไปตรวจโครโมโซมลูกน้อยประมาณ 4 คู่  ที่บอกความผิดปกติของลูกน้อย ได้แก่ โครโมโซมคู่ที่ 21(Down Syndrome) โครโมโซมคู่ที่ 18 (Edwards Syndrome) โครโมโซมคู่ที่ 13 (Patau Syndrome)และโครโมโซมเพศ X และ Y ทำให้รู้เพศของลูกน้อยด้วย ผลการตรวจใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเพราะมีขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่ให้ผลแม่นยำถึง 98%

อ่านต่อ>> ตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ ไตรมาสที่สอง คลิกหน้า 3

การตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ ไตรมาสที่สอง (ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ขึ้นไป)

เป็นวิธีการตรวจสารชีวเคมีและฮอร์โมนในเลือดคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่สอง 3 ชนิด ได้แก่ ได้แก่ alpha- fetoprotein (AFP), ฮอร์โมน HCG และ unconjugated estriol (uE) ซึ่ฃได้ผลแม่นยำมากยิ่งขึ้นถึง 80-90% และไม่เสี่ยงแท้ง

คือวิธีการตรวจความเสี่ยงของลูกน้อยจากการเจาะเลือดแม่เพื่อหาสารและฮอร์โมนคล้ายกับการตรวจ Triple Marker แต่วิธีนี้จะเพิ่มการตรวจ  inhibin A เข้ามาเป็นตัวที่ 4 และก็ทำให้ได้ผลตรวจที่แม่นำมากขึ้นเช่นกัน

วิธีการตรวจที่ให้ความแม่นยำมากที่สุด 99% เช่นเดียวกับการตัดชิ้นเนื้อรก เนื่องจากสามารถตรวจได้ทุกโครโมโซมในร่างกายของลูกน้อยทั้งหมด 46 แท่ง 23 คู่ บอกความเสียงของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมได้แม่นยำ บอกเพศได้ถูกต้อง ตลอดจนความผิดปกติอื่นๆ ของลูกน้อยในครรภ์ แต่การเจาะน้ำคร่ำถือเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงต่อการแท้งลูกน้อย ซึ่งหากคุณแม่ที่ตรวจด้วยวิธีการอื่นๆ และมีผลบวกหรือพบความผิดปกติของลูกน้อย แพทย์จึงจะแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยัน หรือวินิจฉัยได้แม่นยำมากขึ้นอีกครั้ง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ >> ตารางเปรียบเทียบ วิธีการตรวจ ความแม่นยำ และความเสี่ยง ที่คุณแม่ควรรู้ คลิกหน้า 4

ตารางสรุป ตรวจดาวน์ซินโดรม แบบไหนดี

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก

ดาวน์ซินโดรม รู้ล่วงหน้า..หยุดความเสี่ยงได้ตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 


บทความโดย รศ.นพ.นพดล สโรบล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นิตยสาร Amarin Baby & Kids ฉบับเดือนธันวาคม 2559 และ มกราคม 2560