4 ทางเลือกในการ ตรวจดาวน์ซินโดรม แบบไหนดี ที่สุด? - amarinbabyandkids
วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

4 ทางเลือกในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบไหนดีที่สุด?

account_circle
event
วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม
วิธีตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม

ดาวน์ซินโดรม

การตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ ไตรมาสที่สอง (ตั้งครรภ์ 15 สัปดาห์ขึ้นไป)

  • การตรวจเลือดคุณแม่ในไตรมาสที่สอง Second Trimester Blood Test หรือTriple Marker (AFP ,Free ß HCG, uE3)

เป็นวิธีการตรวจสารชีวเคมีและฮอร์โมนในเลือดคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่สอง 3 ชนิด ได้แก่ ได้แก่ alpha- fetoprotein (AFP), ฮอร์โมน HCG และ unconjugated estriol (uE) ซึ่ฃได้ผลแม่นยำมากยิ่งขึ้นถึง 80-90% และไม่เสี่ยงแท้ง

  • การตรวจเลือดคุณแม่ในไตรมาสที่สองแบบ Quadruple Test หรือ Second Trimester Quad Test  (AFP ,Free ß HCG, uE3, Inhibin A)

คือวิธีการตรวจความเสี่ยงของลูกน้อยจากการเจาะเลือดแม่เพื่อหาสารและฮอร์โมนคล้ายกับการตรวจ Triple Marker แต่วิธีนี้จะเพิ่มการตรวจ  inhibin A เข้ามาเป็นตัวที่ 4 และก็ทำให้ได้ผลตรวจที่แม่นำมากขึ้นเช่นกัน

  • การเจาะน้ำคร่ำ หรือ Amniocentesis

วิธีการตรวจที่ให้ความแม่นยำมากที่สุด 99% เช่นเดียวกับการตัดชิ้นเนื้อรก เนื่องจากสามารถตรวจได้ทุกโครโมโซมในร่างกายของลูกน้อยทั้งหมด 46 แท่ง 23 คู่ บอกความเสียงของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมได้แม่นยำ บอกเพศได้ถูกต้อง ตลอดจนความผิดปกติอื่นๆ ของลูกน้อยในครรภ์ แต่การเจาะน้ำคร่ำถือเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงต่อการแท้งลูกน้อย ซึ่งหากคุณแม่ที่ตรวจด้วยวิธีการอื่นๆ และมีผลบวกหรือพบความผิดปกติของลูกน้อย แพทย์จึงจะแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยัน หรือวินิจฉัยได้แม่นยำมากขึ้นอีกครั้ง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ >> ตารางเปรียบเทียบ วิธีการตรวจ ความแม่นยำ และความเสี่ยง ที่คุณแม่ควรรู้ คลิกหน้า 4

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up