AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ตรวจ DNA ตอนท้อง เสี่ยงแท้งจริงหรือ?

คำว่าครอบครัว อาจไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการแต่งงานเสมอไป ในบางครั้งสิ่งสวยงามที่มีชีวิตอาจจะมาในช่วงเวลาที่ไม่ถูกจังหวะเท่าไรนัก เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น การ ตรวจ DNA ก็สามารถนำมาใช้เป็นข้อพิสูจน์ความเป็นพ่อของเด็กในท้องได้ แต่แม่ๆ ทราบไหมคะว่าการ ตรวจ DNA นั้น มีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกหลายด้าน เช่น วินิจฉัยปัญหาสุขภาพอันเกี่ยวเนื่องกับลักษณะทางพันธุกรรม ตรวจหาพาหะโรคทางพันธุกรรมของพ่อแม่ก่อนตัดสินใจมีบุตร ตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด ตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อหาตัวผู้ร้ายที่ก่อคดีอาชญากรรม เป็นต้น การตรวจ DNA มีประโยชน์มากขนาดนี้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า การตรวจ DNA คืออะไร? ทำได้อย่างไร? ตรวจแล้วเสี่ยงแท้งจริงหรือไม่?

ตรวจ DNA ตอนท้อง เสี่ยงแท้งจริงหรือ?

การตรวจ DNA คืออะไร?

คือ การตรวจการเปลี่ยนแปลงของยีน รวมทั้งตรวจจำนวน การเรียงตัว และโครงสร้างของโครโมโซม โดยใช้ตัวอย่างเนื้อเยื่อ เลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลาย DNA (ดีเอ็นเอ) หรือกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic Acid) คือสารพันธุกรรมชนิดหนึ่ง โดยเซลล์เกือบทุกเซลล์ในร่างกายแต่ละคนมี DNA ลักษณะเดียวกันอยู่ในนิวเคลียส รูปร่างเป็นเกลียวคู่คล้ายบันได ภายใน DNA มีสารเคมีที่ประกอบกันเป็นรหัสพันธุกรรม ได้แก่ อะดีนีน (Adenine: A) กัวนีน (Guanine: G) ไซโตซีน (Cytosine: C) และไทมีน (Thymine: T) ซึ่งมีหน้าที่จำลองและถ่ายทอดพันธุกรรม

 

ตรวจ DNA เพื่ออะไร?

การ ตรวจ DNA มีวิธีแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

การตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นพ่อ ทำได้กี่วิธี? อ่านต่อได้ที่นี่

การตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นพ่อ ทำได้กี่วิธี?

ทำได้ 2 วิธี คือ

  1. การตรวจ DNA ทารกระหว่างอยู่ในครรภ์ สามารถยืนยันความเป็นพ่อได้ตั้งแต่เด็กยังไม่คลอด การทดสอบนี้จะเปรียบเทียบแบบแผนสารพันธุกรรมระหว่างทารกในครรภ์กับผู้ที่ถูกกล่าวว่าเป็นพ่อ และแม่ โดยในการตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ทารกในครรภ์นั้น จะต้องปรึกษาสูตินรีแพทย์ก่อน โดยสูตินรีแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากเนื้อเยื่อทารกโดยการ เจาะน้ำคร่ำ หรือตรวจชิ้นเนื้อจากรก รวมทั้งต้องเก็บตัวอย่างเซลล์เยื่อบุกระพุ้งแก้มจากทั้งแม่และผู้ที่อาจเป็นพ่อด้วย เพื่อการวิเคราะห์และสรุปผล
    • การเก็บตัวอย่างจากรก ตรวจชิ้นเนื้อจากรก จะทำได้เมื่อมีอายุครรภ์ 10-13 สัปดาห์ โดยให้สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการสอดท่อเข้าไปในปากมดลูกหรือหน้าท้องให้ผ่านเข้าไปยังเนื้อรก ร่วมกับการอัลตราซาวด์
    • การเก็บตัวอย่างจากน้ำคร่ำ จะทำได้เมื่อมีอายุครรภ์ 14-24 สัปดาห์ โดยให้สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เจาะผ่านทางผนังหน้าท้อง โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ช่วยนำทาง พร้อมกับสอดเข็มขนาดเล็กผ่านหน้าท้องเข้าไปในมดลูก เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำมาตรวจ
  2. การตรวจ DNA หลังคลอด สามารถทำได้ด้วยการเก็บตัวอย่างจากสายสะดือ เซลล์ในกระพุ้งแก้ม หรือเจาะเลือดทารก (สำหรับทารกจะใช้วิธีเจาะเลือดที่ส้นเท้าแทนการเจาะเลือดปกติแบบผู้ใหญ่)

 

ตรวจ DNA ตอนท้อง มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง?

แม้ว่าการตรวจ DNA นั้นมีประโยชน์อยู่มากมาย แต่ก็มีความเสี่ยงจากการตรวจเช่นกัน ทั้งความเสี่ยงจากขั้นตอนการตรวจ และความเสี่ยงหลังจากตรวจ ดังนี้

 

อย่างที่ทราบกันว่าวิทยาการทางการแพทย์สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ได้ในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการรักษาโรค การพิสูจน์หลักฐานต่างๆ ดังนั้นเราควรใช้ประโยชน์เหล่านี้ให้ถูกวิธีและถูกหลักการ แม้ทางการแพทย์จะสามารถตรวจ DNA ได้จากการเจาะน้ำคร่ำหรือตรวจชิ้นเนื้อจากรกก็จริง แต่ในการตรวจก็จะมีความเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้นอยากให้ผู้ที่ต้องการจะตรวจทุกคนร่วมกันตัดสินใจถึงความจำเป็นในการตรวจร่วมกับสูตินรีแพทย์ หรือแพทย์ที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ ด้วยค่ะ ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงาน Amarin Baby & Kids

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.pobpad.com

 

อ่านบทความดีๆ จากเราต่อได้ที่นี่

ไขข้อข้องใจ ที่ตรวจครรภ์ ตรวจอย่างไร-ตอนไหนดี?

ฝากครรภ์พิเศษ กับ ฝากครรภ์ธรรมดา ต่างกันอย่างไร?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids