AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

คนท้องต้องรู้! กินน้ำตาล ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทำอย่างไร?

ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ในขณะตั้งครรภ์ก็สามารถเป็นเบาหวานได้ โดยหากเป็นโรคนี้ จะมีผลกระทบกับทั้งแม่ท้องและลูกในท้อง ดังนั้น แม่ท้องทุกคนจะต้องได้รับการ ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 24-28 ของการตั้งครรภ์

คนท้องต้องรู้! กินน้ำตาล ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทำอย่างไร?

ทำความรู้จักกับเบาหวานขณะตั้งครรภ์

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือภาวะที่แม่ท้องมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ เพราะในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนบางชนิดขึ้น ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับร่างกาย เช่น น้ำหนักเพิ่ม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ นี้ จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน หญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะมีภาวะดื้อต่ออินซูลินได้เล็กน้อยในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์จะสามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอที่แก้ไขปัญหาภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ แต่บางรายไม่สามารถทำได้ จึงทำให้เกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ขึ้น

โดยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ เป็นเบาหวานอยู่แล้วก่อนการตั้งครรภ์ และ เพิ่งเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกระยะการตั้งครรภ์ แต่โดยทั่วไปมักเกิดขึ้นในช่วงเวลาครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพมารดาและทารกในครรภ์ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้

ผลกระทบต่อทารกในครรภ์

ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่สูงระหว่างการตั้งครรภ์จะทำให้เกิดปัญหาต่อทารก เช่น

นอกจากนี้ทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะนี้จะมีโอกาสที่จะมีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนในอนาคต และอาจเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตได้

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถเกิดขึ้นได้กับแม่ท้องเนื่องจากการผลิตฮอร์โมนที่เปลี่ยนไปขณะตั้งครรภ์

ผลกระทบต่อมารดา

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ ทราบได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และ ขั้นตอนการ ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ทราบได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์

อาการของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีอาการเหมือนคนเป็นเบาหวานทั่วไป คือ หิวบ่อย กินเก่ง กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย (อาจลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางคืน) และคุณแม่อาจมีอาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ เมื่อไปฝากครรภ์แพทย์จะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ หากไม่ได้รับการรักษาและควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับปกติ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

ขั้นตอนการ ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์

โดยปกติแล้ว หญิงตั้งครรภ์ทุกคนที่แพทย์วินิจฉัยว่าไม่มีความเสี่ยง จะต้องได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ได้สัปดาห์ที่ 24-28 โดยเบื้องต้น จะได้รับการตรวจด้วยน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม (glucose challenge test) หากผลการทดสอบไม่ผ่าน จะต้องได้รับการทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (oral glucose tolerance test) อีกครั้ง

การทดสอบด้วยน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม (Glucose Challenge Test)

เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นในขั้นตอนแรก คุณแม่ไม่ต้องงดน้ำและอาหารใด ๆ โดยในการทดสอบนี้แพทย์จะให้คุณแม่ดื่มสารละลายน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม และเจาะเลือดหลังรับประทาน 1 ชั่วโมงเพื่อไปตรวจ  โดยหากระดับน้ำตาลที่ตรวจพบสูงตั้งแต่ 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ขึ้นไป จะต้องได้รับการตรวจซ้ำโดยวิธีการทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคสอีกครั้งในวันอื่น แต่ถ้าระดับน้ำตาลที่ตรวจได้มีค่าตั้งแต่ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ขึ้นไป แพทย์อาจวินิจฉัยว่าอาจเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อยู่

การทดสอบความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (oral glucose tolerance test; OGTT)

การทดสอบนี้จะวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากที่มีการอดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ดังนั้นคุณแม่จะได้รับคำแนะนำให้งดอาหารก่อนมาตรวจ เมื่อมาพบแพทย์ จะทำการเจาะเลือดก่อน 1 หลอดแรกเพื่อหาระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร จากนั้นจะให้รับประทานสารละลายน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม และเจาะเลือดซ้ำที่ 1, 2 และ 3 ชั่วโมงหลังรับประทานน้ำตาลเข้มข้นนี้ เพื่อนำผลระดับน้ำตาลในเลือดทั้งหมดมาประกอบการวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่สูงอย่างน้อย 2 ค่าขึ้นไปจากทั้งหมด (ระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร, ระดับน้ำตาลที่ 1 ชั่วโมง, 2 ชั่วโมง, 3 ชั่วโมง) จะถือว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

บางครั้งแพทย์อาจพิจารณาให้ตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคสเลย โดยไม่จำเป็นต้องทดสอบด้วยน้ำตาลกลูโคส 50 กรัมมาก่อนก็ได้

ยาอินซูลิน เป็นอีกทางรักษาหนึ่งที่จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้

การ ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ไม่ได้น่ากลัวหรืออันตรายอย่างที่คิด สิ่งที่คุณแม่ต้องทำคือการดื่มเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวานมาก ๆ และเจาะเลือดเท่านั้น โดยทั่วไปเมื่อทราบผลการ ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แล้ว คุณแม่ที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่า 140 เดซิลิตร ก็จะได้รับคำแนะนำให้ดูแลเรื่องการทานอาหารอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันโรคอื่น ๆ ที่อาจแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้เช่นกัน

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

มันฝรั่งทอด กินมากไปเสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์

คนท้องเลือดจาง ควรกินอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร

เบาหวานก่อนตั้งครรภ์ VS เบาหวานขณะตั้งครรภ์

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : honestdocs, medthai

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids