กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์ เป็นเรื่องกวนใจ ที่ส่วนใหญ่คุณแม่ตั้งท้องต้องเจอใช่มั้ยล่ะคะ ซึ่งถ้ารู้จักวิธีการป้องกัน ก็จะเป็นผลดี ไม่เป็นอันตรายมาก แต่ถ้าหากคุณแม่ๆเผลอนิ่งนอนใจ ปล่อยไว้ คิดว่าไม่นานก็หาย บอกเลยว่า คิดผิดมากๆค่ะ เพราะถ้าปล่อยให้อาการหนัก อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงกับตัวคุณแม่ และส่งผลกระทบถึงลูกน้อยในครรภ์ถึงขั้นคลอดก่อนกำหนดได้เลยทีเดียว
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
เป็นอาการที่ส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิง มากกว่า ผู้ชาย และยิ่งคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ด้วย ยิ่งควรใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญที่สตรีมีครรภ์ พบเจอบ่อย ซึ่งภาวะนี้จะเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 6 – 24 สัปดาห์ หากตั้งครรภ์ทารกแฝด ก็ยิ่งมีโอกาสเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้มากกว่าการตั้งครรภ์ทารกคนเดียว ดังนั้น ว่าที่คุณแม่ทั้งหลาย ต้องหมั่นสังเกตอาการของตนเอง และเข้ารับการตรวจกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพราะหากไม่ได้รับการดูแล หรือ รักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์
ทำไม หญิงตั้งครรภ์ ถึงมีความเสี่ยงที่จะสามารถเกิด อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้สูง เพราะว่า ระดับฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์นั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งร่างกายของคุณแม่ที่ตั้งท้อง จะหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ออกมามากขึ้น ทำให้มัดกล้ามเนื้อของท่อไตคลายตัว รวมถึงขนาดของมดลูก ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจนบีบท่อไต นั่นจึงทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะทำงานช้าลงไปด้วย
อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้สตรีมีครรภ์มีอาการ กระเพาะปัสสาวะอักเสบง่าย เพราะกระเพาะปัสสาวะหย่อน จึงทำให้ปัสสาวะไม่ค่อยสุด และอาจมีน้ำปัสสาวะไหลย้อนเข้าท่อไต และไตได้ ส่งผลให้เชื้อโรค และแบคทีเรียค้างอยู่บริเวณกระเพาะปัสสาวะและเข้าสู่ไตทำให้เสี่ยงเกิดภาวะไตติดเชื้อได้ง่าย รวมถึง น้ำปัสสาวะในช่วงตั้งครรภ์มีความเป็นกรดน้อย และอุดมไปด้วยกลูโคส ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโต จึงเกิดการติดเชื้อ และอักเสบตามมาได้ง่าย
>>อ่านต่อหน้า2<<
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์ ร้ายแรงอย่างไร
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
กระเพาะปัสสาวะอักเสบในสตรีมีครรภ์ร้ายแรงอย่างไร
ส่วนใหญ่แล้วคุณแม่ที่ตั้งท้อง จะค่อนข้างสังเกตอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ยาก เนื่องจากอาการบางอย่างของโรคนี้ไม่ต่างจากอาการที่คนท้องทั่วไปเป็นกัน เช่น รู้สึกหน่วงบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ปวดหลัง เป็นต้น ซึงในคุณแม่ตั้งท้องบางราย ไม่มีอาการใด ๆ ที่บ่งบอก ทำให้ไม่รู้ตัว และอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพครรภ์ได้ หากในกรณีที่ไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลร้ายแรง ดังนี้
- ผู้ป่วยอาจเกิดการติดเชื้อที่ไต หรือมีภาวะกรวยไตอักเสบ
เครดิตภาพ www.medthai.com
- คลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าปกติ
- เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด
<< อ่านต่อหน้า 3 >>
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์รักษาได้อย่างไร
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์ รักษาได้อย่างไร
สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการฝากครรภ์ เพื่อตรวจสุขภาพครรภ์ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วย โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างปัสสาวะ และนำไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย หากพบว่ามีกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งวิธีีนี้เป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัยทั้งคุณแม่ และทารกในครรภ์
แต่อย่างไรก็ตาม ตัวคุณแม่ท้องเอง ก็ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของตัวเองร่วมด้วย และหากยังรู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะหรือมีอาการอื่น ๆ ได้แก่ ไข้ขึ้น ปวดท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น หรือมดลูกบีบตัว ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรักษาทันท่วงที และหมั่นพบแพทย์ เพื่อตรวจซ้ำอย่างสม่ำเสมอ กระเพาะปัสสาวะอักเสบในสตรีมีครรภ์ป้องกันได้อย่างไร
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์ป้องกันได้ แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
- พยายามดื่มน้ำเปล่าให้ได้ วันละ 6-8 แก้ว หรือ หมั่นจิบน้ำตลอดวัน
- รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เบต้าแคโรทีน และสังกะสี เพื่อช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ
- เลี่ยงบริโภคอาหารแปรรูป น้ำผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน หรือปรุงแต่งด้วยน้ำตาล
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- ห้ามกลั้นปัสสาวะ และควรปัสสาวะให้สุด
- ทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้ง หลังปัสสาวะเสร็จ
- ไม่ควรใช้สบู่ที่มีค่าความเป็นกรด หรือด่างสูง รวมถึงน้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น และไม่ใช้แป้งทาบริเวณอวัยวะเพศ
- เปลี่ยนกางเกงในทุกวัน และควรเลือกใช้กางเกงในที่ทำจากผ้าฝ้าย
- หลังถ่ายหนัก ควรเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียในอุจจาระเข้าสู่ท่อไต
- ไม่ควรแช่น้ำในอ่างอาบน้ำ นานเกิน 30 นาที หรือมากกว่าวันละ 2 ครั้ง
- ไม่ควรสวมกางเกง หรือกระโปรงที่รัดแน่นจนเกินไป
เชื่อว่า คงไม่มีคุณแม่ๆคนไหนอยากจะให้ลูกน้อบในครรภืเป็นอันตราย ซึ่งดูแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยนะคะ ที่จะหันมาดูแลตัวเองให้มากขึ้น ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเท่านั้น เพื่อสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง ปลอดภัยของคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่าน รวมถึง เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ด้วย ลูกน้อยจะได้เกิดมาอย่างปลอดภัย มีความสุขทั้งครอบครัวนะคะ
ขอบคุณข้อมูล www.pobpad.com
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
ปวดท้องบอกโรค กับ 7 ตำแหน่งทั่วท้องที่ต้องระวัง!
พบกับทารก คลอดก่อนกำหนด น้ำหนัก 400 ก. ต่อสู้ชีวิตจนรอด
รวม 12 อุบัติเหตุที่แม่ท้อง ต้องระวัง!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่