จะรู้ได้ไงว่าลูกในท้องสมบูรณ์ …การตรวจว่าทารกในครรภ์สมบูรณ์ดีหรือไม่ เริ่มตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มาฝากครรภ์ แพทย์จะตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อดูความพร้อมของสุขภาพแม่ และนัดติดตามดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เป็นระยะๆ
must read : ค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์ ตั้งแต่ฝากครรภ์จนถึงตอนคลอด ต้องจ่ายเท่าไร?
หากตรวจพบว่าเป็นปกติ ทารกก็น่าจะสมบูรณ์ดี แต่อย่างไรก็ตามต้องเน้นย้ำว่า “การตั้งครรภ์เป็นความเสี่ยงของคุณแม่และทารกในครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์และการคลอด” เพราะทางการแพทย์ยังไม่สามารถติดตามดูทารกได้ตลอดเวลา ยังต้องอาศัยความร่วมมือในการนับการดิ้นของทารกในครรภ์ของมารดาเพื่อช่วยบอกความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งความรู้ ความเข้าใจและร่วมมือกันระหว่างแพทย์และครอบครัวก็จะลดปัญหาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้
จะรู้ได้ไงว่าลูกในท้องสมบูรณ์
มีวิธีที่คุณแม่สามารถตรวจสอบด้วยตนเองในขั้นต้นว่า ลูกของคุณแม่สมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตที่ปกติหรือไม่ โดยไม่ยากเลยค่ะ วิธีต่างๆที่จะมาเล่าให้คุณแม่ฟังมีดังนี้ค่ะ
1. ให้คุณแม่ชั่งน้ำหนักตัวของคุณแม่ทุก 1 สัปดาห์
โดยเริ่มเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือน ที่ไม่ให้คุณแม่ชั่งน้ำหนักก่อนหน้านี้ เพราะว่าในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ น้ำหนักของคุณแม่ส่วนใหญ่จะไม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากคุณแม่มักมีอาการแพ้ท้อง ทำให้รับประทานอาหารไม่ได้ หรือรับประทานได้น้อย และบางครั้งอาจรับประทานอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่ ดังนั้นในช่วง 3 เดือนแรกนี้ ถ้าคุณแม่น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการตั้งครรภ์ คุณแม่ยังไม่ต้องวิตกกังวลค่ะ แต่เมื่อหลัง 3 เดือนไปแล้วเป็นช่วงที่ลูกน้อยในครรภ์มีการเจริญเติบโตอย่างมาก และอาการแพ้ท้องของคุณแม่จะหายไป คุณแม่สามารถรับประทานอาหารได้ น้ำหนักตัวของคุณแม่ควรจะเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละประมาณ ครึ่งกิโลกรัม ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่านี้แสดงว่าคุณแม่ รับประทานอาหารไม่เพียงพอแก่ความต้องการของลูกในครรภ์
ซึ่งจะทำให้ลูกเกิดมาน้ำหนักน้อยกว่าปกติได้ ตรงกันข้ามถ้าน้ำหนักตัวของคุณแม่เพิ่มมากกว่า ครึ่งกิโลกรัมใน 1 สัปดาห์ คุณแม่ต้องสังเกตตัวเองว่าคุณแม่มีอาการบวมหรือไม่ หรือคุณแม่มีประวัติกรรมพันธุ์เป็นเบาหวานหรือไม่ อาการบวมอาจจะแสดงว่าคุณแม่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูงที่เกิดจากการตั้ง ครรภ์ ซึ่งจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของตัวคุณแม่เองและลูกในครรภ์ คุณแม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ หรือพยาบาลที่สถานบริการที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ ถ้าคุณแม่ไม่บวม หรือตรวจไม่พบว่าเป็นเบาหวาน อาจเป็นไปได้ว่าถึงคุณแม่รับประทานมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ลูกในครรภ์ของคุณแม่ตัวใหญ่เกินไป เมื่อถึงเวลาคลอดจะคลอดยาก หรือมิเช่นนั้นคุณแม่ก็จะมีน้ำหนักส่วนเกินเหลือมากเกินไปเมื่อหลังคลอด ดังนั้นน้ำหนักที่ขึ้นน้อยหรือมากเกินไป เป็นสิ่งที่แสดงถึงความผิดปกติที่คุณแม่ต้องใส่ใจค่ะ
must read : 9 วิธีลดน้ำหนักหลังคลอด..ให้คุณแม่กลับมาสวยเป๊ะเหมือนเดิม!
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ >> “5 วิธี ที่คุณหมอใช้ตรวจเช็กสุขภาพลูกน้อยในครรภ์” คลิกหน้า 2
2. คุณแม่ต้องคอยสังเกตขนาดหน้าท้องของคุณแม่ว่าโตขึ้นหรือไม่
วิธีนี้ใช้ร่วมกับวิธีแรก คือ ถ้าน้ำหนักคุณแม่ขึ้นดีตามเกณฑ์คือสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม หน้าท้องของคุณแม่จะโตขึ้น แต่ถ้าน้ำหนักคุณแม่ขึ้นแต่หน้าท้องไม่โตขึ้น ก็เป็นอาการที่บ่งบอกว่าไม่น่าไว้วางใจ คุณแม่จะต้องไปพบคุณหมอ อีกเช่นกัน การสังเกตการโตขึ้นของหน้าท้องอาจสังเกตไม่ได้ชัดเจนนัก ถ้าคุณแม่สังเกตทุกสัปดาห์ เพราะเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ห้าเดือนซึ่งความสูงของหน้าท้องจะ ประมาณระดับสะดือ จากนั้นหน้าท้องจะโตขึ้นประมาณสัปดาห์ละ 1 เซนติเมตร คุณแม่จะสังเกตได้ยาก ดังนั้นการสังเกตความสูงของหน้าท้องคุณแม่อาจใช้วิธีสังเกตทุกเดือน หรือทุก 4 สัปดาห์ หน้าท้องจะโตขึ้นประมาณ 4 เซนติเมตร ซึ่งสามารถสังเกตได้ชัด ถ้าหน้าท้องคุณแม่ไม่เพิ่มขึ้นเลยในช่วง 1 เดือน แสดงว่าต้องมีปัญหาแน่ๆค่ะ ต้องรีบไปหาคุณหมอโดยด่วนนะค่ะ
must read : ขนาดของทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์
3. วิธีการนับลูกดิ้น
วิธีนี้คุณแม่สามารถใช้ตรวจสุขภาพของลูกในครรภ์ได้ดีที่สุดและเป็นวิธีที่ ง่ายและให้ผลค่อนข้างแม่นยำ เมื่อลูกน้อยในครรภ์คุณแม่จะเริ่มดิ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 5 เดือน ในคุณแม่ครรภ์แรก และ 4 เดือนในคุณแม่ครรภ์หลัง คุณแม่ครรภ์หลังจะรับรู้ได้เร็วกว่าเพราะมีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์มาก่อน การดิ้นของลูกในครรภ์ หมายถึงการที่ลูกยังมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี แต่การนับลูกดิ้นควรเริ่มนับเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือนเต็มไปแล้ว การนับก่อนหน้านี้อาจไม่มีประโยชน์ เพราะว่าลูกในครรภ์ยังตัวเล็กมากเกินไป ดิ้นยังไม่แรงเต็มที่ บางครั้งลูกดิ้นแต่คุณแม่ไม่รู้สึกว่าดิ้น ทำให้คุณแม่เกิดความวิตกกังวลและทำให้เกิดความเครียดได้ ดังนั้นคุณแม่ควรเริ่มนับลูกดิ้นเมื่ออายุครรภ์ครบ 6 เดือนเต็มไปแล้ว จะได้ค่าที่แม่นยำและเชื่อถือได้มากกว่า
must read : วิธีการนับลูกดิ้น
เป็นอย่างไรบ้างค่ะวิธีการตรวจสอบภาวะสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ด้วยตัวคุณแม่เอง คงไม่ยากเกินไปที่คุณแม่จะลองนำไปใช้ใช่ไหมค่ะ
ทั้งยังมีนอกจากเรื่องของการดูแลตัวเองจากปัจจัยภายนอกให้ดีและการหมั่นคอยสังเกตตรวจสอบภาวะสุขภาพเพื่อส่งผลดีต่อลูกน้อยในครรภ์แล้ว สิ่งที่จะทำให้คุณแม่รู้ได้ว่าทารกในครรภ์แข็งแรงสมบูรณ์มีสุขภาพดี โดยแพทย์สามารถใช้การตรวจดูได้หลายวิธี ดังนี้
อ่านต่อ >> “5 วิธี ที่คุณหมอใช้ตรวจเช็กสุขภาพลูกน้อยในครรภ์” คลิกหน้า 3
รู้ได้อย่างไรว่าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรง
แพทย์สามารถตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ได้หลายวิธี ได้แก่…
1. การวัดความสูงยอดมดลูก เมื่อมาฝากครรภ์ทุกครั้งเป็นการตรวจการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ทางอ้อม เพราะถ้าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงจะมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดมดลูกสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงระยะตั้งครรภ์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 ถึงสัปดาห์ที่ 34
2. การตรวจการดิ้นของทารกในครรภ์ ซึ่งแม่รับรู้การดิ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ขึ้นไป การที่เด็กดิ้นน้อยลงมักพบร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย ทารกจะดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นประมาณ 12-48 ชั่วโมง ก่อนตาย การที่ทารกดิ้นน้อยลงจึงเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์ โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ ขึ้นไป
must read : เคล็ดลับดี๊ดีกับวิธีทำให้ลูกในท้องดิ้น
3. การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวด์ เป็นการตรวจโครงสร้างและอวัยวะต่างๆ ของทารกในครรภ์ ว่าเจริญเติบโตปกติหรือไม่ และใช้ค้นหาความพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของทารก ปริมาณน้ำคร่ำ ลักษณะของรกและตำแหน่งที่รกเกาะและสายสะดือ
การตรวจสามารถทำได้ 2 ทาง คือ การตรวจผ่านทางช่องคลอด และการตรวจผ่านหน้าท้องมารดา เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก มีทั้งแบบ 2 มิติ 3 มิติ และ 4 มิติ ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถเห็นและตรวจทารกในครรภ์ได้ชัดเจนขึ้น
must read : ค่าใช้จ่ายอัลตร้าซาวด์สี่มิติ 20 โรงพยาบาลดังในกรุงเทพ
4. การนำเซลล์ของทารกในครรภ์มาตรวจหาโครโมโซม หรือดีเอ็นเอ ในรายที่สงสัยว่ามีโรคทางพันธุกรรมชนิดต่างๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น วิธีการในการนำเซลล์ทารกในครรภ์มาตรวจ ได้แก่ การเจาะดูดน้ำคร่ำ การตัดเนื้อรก และการเจาะดูดเลือดทารกโดยตรง
5. การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ โดยอาศัยหลักการว่า ถ้าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงไม่ขาดออกซิเจน เมื่ออายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ ขึ้นไป เมื่อทารกดิ้นจะส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจทารกเร็วขึ้น
ทั้งนี้ทั้งนั้นในเรื่องของความแข็งแรงและร่างกายที่สมบูรณ์ของทารกในครรภ์ ก็มาจากการที่คุณแม่ท้อง รวมถึงคนรอบข้าง ซึ่งมีผลกับพัฒนาการต่างๆของทารกในครรภ์เช่นกัน ซึ่งสิ่งที่จะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ จนอาจทำให้ทารกมีความผิดปกติ ก็เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องควรรู้ ..จะมีอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก ตามไปดูกันค่ะ
อ่านต่อ >> “สิ่งที่กระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์”
คลิกหน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สิ่งที่กระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์
1. โรคของแม่ เช่น โรคเบาหวาน อาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด ตายในครรภ์หรือตายคลอด โรคความดันโลหิตสูง อาจทำให้ทารกเติบโตช้าในครรภ์ โรคหัวใจ อาจทำให้ทารกขาดออกซิเจนและเติบโตช้าในครรภ์ การติดเชื้อหัดเยอรมันในการตั้งครรภ์ระยะแรก อาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด เป็นต้อกระจก หูหนวก และเติบโตช้าในครรภ์ โรคซิฟิลิส อาจทำให้ทารกบวมน้ำ และเสียชีวิตในครรภ์ เป็นต้น การควบคุมหรือรักษาโรคที่แม่เป็นก่อนการตั้งครรภ์ จะช่วยลดความรุนแรงของผลกระทบถึงทารก
2. บุหรี่ จะสูบเองหรือสูดควันบุหรี่ของผู้อื่นระหว่างตั้งครรภ์ จะทำให้แม่ได้รับสารเคมีต่างๆ จากบุหรี่มากกว่า 250 ชนิด สารที่มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์มากที่สุด ได้แก่ คาร์บอนมอนนอกไซด์ และนิโคติน ซึ่งทำให้ทารกเติบโตช้า คลอดก่อนกำหนด ซึ่งมีผลต่อสมอง เกิดภาวะปัญญาอ่อนได้ และบุหรี่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ได้ เช่นรกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด และถุงน้ำคร่ำแตก ทำให้คลอดก่อนกำหนดและทารกเสียชีวิตตามมา
must read : ควันบุหรี่มือสาม ทำร้ายลูกได้ 20 เท่า!!
3. แอลกอฮอล์ การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขนาดเล็กน้อยในขณะตั้งครรภ์ อาจมีผลเสียต่อทารกในครรภ์ทั้งร่างกายและสติปัญญา โดยการดื่มในช่วงแรกของการตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด โดยเฉพาะความพิการทางสมอง
การดื่มแอลกอฮอล์ ในระยะการตั้งครรภ์ช่วงกลางและระยะท้าย อาจทำให้ทารกเติบโตช้า ปัญญาอ่อน สมองเล็ก รูปร่างสมองผิดปกติ สติปัญญาต่ำ สมาธิสั้น และมีปัญหาทางพฤติกรรมตามมาเมื่อโตขึ้น มารดาที่ติดเหล้าคือดื่มปริมาณมากและดื่มบ่อยมีผลทำให้เกิดการแท้ง ทารกน้ำหนักน้อย และตายคลอดเพิ่มขึ้น
must read : 5 เครื่องดื่มบำรุงครรภ์และเครื่องดื่มต้องห้ามสำหรับคนท้อง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
4. พฤติกรรมของแม่ การดูแลรักษาสุขภาพตัวเองให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และครบ 5 หมู่ การออกกำลังกายที่เหมาะสม การหลีกเลี่ยงการรับประทานยา โดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร การหลีกเลี่ยงสารเสพติดทุกชนิดเช่น โคเคน กัญชา เฮโรอีน ยาบ้า ยาเค ยาอี การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พฤติกรรมของมารดาที่ดี จะส่งผลให้ทารกในครรภ์มีการพัฒนาการที่ปกติ
5. จิตใจของแม่ แม่ที่มีความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า และคลอดก่อนกำหนด
6. พ่อคุณภาพ คือ พ่อที่มีภรรยาเพียงคนเดียว งดเว้นอบายมุขทุกชนิด นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่นำโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาติดภรรยา ดูแลเอาใจใส่ตลอดการตั้งครรภ์ และหลังคลอด ให้กำลังใจและช่วยทำทุกอย่างเพื่อลดความวิตกกังวลของแม่ นอกจากนี้ควรมีส่วนช่วยในการเลี้ยงดูบุตรหลังคลอดด้วย
อย่างไรก็ตามหากในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่รู้สึกถึงอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยในครรภ์ หรืออาการต่างๆ ของคนท้องหายไป ต้องรีบปรึกษาคุณหมอนะคะ เพื่อจะได้แก้ไขหรือรักษาได้ทันท่วงที
อ่านต่อบทความอื่นๆ น่าสนใจ คลิก!
- พัฒนาการ แขน ขา ลูกน้อยในครรภ์
- 12 วิธีเพิ่ม IQ ให้ลูกฉลาดตั้งแต่อยู่ในท้อง
- พัฒนาสมองลูก ให้ฉลาด และอัจฉริยะใน 1,000 วัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.rcpsycht.org , posted1234.blogspot.com