AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เย็บผูกปากมดลูก หนึ่งทางเลือกยับยั้งการคลอดก่อนกำหนด

เครดิตภาพ : www.drseemasharma.com

เย็บผูกปากมดลูก คุณแม่หลายๆ คนอาจจะไม่เคยยินคำนี้มาก่อน ฟังแล้วดูน่ากลัวใช่ไหมคะ แต่จริงๆ แล้วไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คุณแม่คิดหรอกนะคะ การเย็บผูกปากมดลูกเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ลูกน้อยของคุณแม่อยู่ในครรภ์อย่างปลอดภัยจนกว่าจะถึงเวลาสมควรที่จะออกมาสู่โลกภายนอก ในบทความนี้ เรามาทำความรู้จักถึงรายละเอียดต่างๆ ของการเย็บผูกปากมดลูกค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง

เย็บผูกปากมดลูกคืออะไร และทำไมต้อง เย็บผูกปากมดลูก

การเย็บปากมดลูกคือการผ่าตัดเย็บปากมดลูกในกรณีคุณแม่ท้องที่มีภาวะปากมดลูกหลวมซึ่งอาจนำสู่การแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ  หากคุณหมอพิจารณาแล้วว่าปากมดลูกของคุณแม่ไม่แข็งแรงและอาจจะเปิดก่อนกำหนดคลอด คุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่รับการเย็บผูกปากมดลูกเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยค่ะ

เมื่อไรจึงต้องเย็บผูกปากมดลูก

เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเย็บผูกปากมดลูกคือช่วงการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12-14 หรือประมาณเดือนที่ 3 อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจจะมีการเย็บผูกปากมดลูกหลังจากระยะเวลานี้ หรือที่เรียกว่าการเย็บผูกปากมดลูกฉุกเฉิน หากเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ปากมดลูก เช่น ปากมดลูกเปิดหรือปากมดลูกสั้นค่ะ

นอกเหนือจากการเย็บผูกปากมดลูก มีวิธีการรักษาอื่นหรือไม่

ถ้าปากมดลูกเปิดในช่วงการตั้งครรภ์ระยะสุดท้าย คุณหมออาจพิจารณาให้คุณแม่นอนพักนิ่งๆ อยู่กับบ้าน หรือบางรายอาจให้นอนพักในโรงพยาบาลเพื่อดูอาการค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ ประโยชน์และความเสี่ยง ในการเย็บผูกปากมดลูก คลิกหน้า 2

ประโยชน์ของการเย็บผูกปากมดลูก

การเย็บผูกปากมดลูกช่วยป้องกันการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนดที่เกิดจากปากมดลูกหลวมและปากมดลูกสั้น คุณแม่จำนวนถึง 85-90%ที่มีปัญหาปากมดลูกหลวมประสบความสำเร็จกับการรักษาด้วยวิธีนี้  แต่ในบางกรณี คุณหมอจะไม่ทำการเย็บผูกปากมดลูกให้ เช่น กรณีที่มีการติดเชื้อ หรือตั้งครรภ์แฝด แม้ว่าคุณแม่จะมีแนวโน้มที่จะคลอดก่อนกำหนดค่ะ

เมื่อไรจึงจะตัดไหมที่เย็บผูกปากมดลูก

โดยปกติแล้ว จะตัดไหมที่เย็บผูกปากมดลูกที่สัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์  แต่อาจจะตัดไหมก่อนได้หากน้ำคร่ำเดินหรือมีอาการบีบรัดตัวของมดลูก ส่วนใหญ่แล้วการตัดไหมจะผ่านไปด้วยดีไม่มีปัญหาอะไร  การตัดไหมนั้นไม่ยุ่งยาก และเจ็บนิดเดียว ความรู้สึกไม่ต่างจากการตรวจภายในและอาจจะมีเลือดออกเล็กน้อยเท่านั้น

ความเสี่ยงของการเย็บผูกปากมดลูก

การเย็บผูกปากมดลูก มีความเสี่ยงน้อยมากและเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากคุณแม่ไม่ได้รับการรักษาอาการปากมดลูกหลวม การเย็บผูกปากมดลูกถือว่าเป็นการรักษาที่ช่วยชีวิตทารกในครรภ์ได้เลยทีเดียวค่ะ

ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการเย็บผูกปากมดลูก ได้แก่

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ อาการแบบไหนคุณแม่ควรรีบไปพบหมอทันที คลิกหน้า 3

สัญญาณที่บอกว่าการเย็บผูกปากมดลูกมีปัญหา

คุณแม่ควรไปพบคุณหมอทันที หากมีอาการผิดปกติ ดังต่อไปนี้ค่ะ

ฉันจำเป็นต้องเย็บผูกปากมดลูกในการตั้งครรภ์คราวหน้าหรือไม่

เนื่องจากคุณแม่ประสบกับภาวะปากมดลูกหลวม ในการตั้งครรภ์คราวหน้าคุณแม่จำเป็นต้องรับการเย็บผูกปากมดลูก โดยคุณหมอจะแนะนำให้คุณแม่เย็บผูกปากมดลูกตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์ระยะแรกค่ะ

นับได้ว่าการเย็บผูกปากมดลูกเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยคุณแม่ลดความเสี่ยงแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ดีเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นแล้ว หากคุณหมอแนะนำว่าคุณแม่ควรรับการรักษาด้วยการเย็บผูกปากมดลูก คุณแม่ก็ไม่ต้องวิตกกังวลไปนะคะ คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะให้คำแนะนำและดูแลคุณแม่ขณะการรักษาผ่าตัดเป็นอย่างดีค่ะ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ คลิก!

ปากมดลูกเปิดเป็นยังไง แม่ท้องรู้ไว้ก่อนเข้าห้องคลอด!

ปากมดลูกสั้น เสี่ยงแท้ง เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids