ทำคลอดทารกท่าก้น หรือที่เรียกกันว่าทารกท่าก้น อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ท้องใกล้คลอด ที่จะมีสัญญาณเตือนบอกให้ทราบได้จากการตรวจสุขภาพครรภ์ก่อนถึงเวลาคลอด ที่คุณหมอจะเป็นคนประเมินสถานการณ์และแจ้งให้รู้ก่อนล่วงหน้า ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลที่น่าสนใจของการคลอดทารกท่ากัน มาฝากกันค่ะ
ทำคลอดทารกท่าก้น ทารกไม่กลับหัว
ผู้เขียนได้มีโอกาสดูคลิปการคลอดลูกที่เพื่อนๆ ส่งมาให้ ซึ่งเป็นการ ทำคลอดทารกท่าก้น ที่ดูแล้วก็น่าหวาดเสียวและลุ้นหนักเหลือเกินว่าทารกน้อยจะคลอดออกมาจากหน้าท้องของคุณแม่ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ ต้องบอกอย่างนี้ก่อนค่ะว่าโดยปกติแล้วการคลอดลูก ต่อให้จะเป็นการเบ่งคลอดธรรมชาติ หรือจะด้วยวิธีผ่าคลอด เรามักจะเห็นกันว่าคุณหมอจะดึงส่วนนำ(ศีรษะเด็ก) ออกมาก่อนจากนั้นก็จะเป็นร่างกายทั้งหมดของทารกจะค่อยๆ เลื่อนตามออกมา และน้อยครั้งมากที่จะเจอกับการคลอดท่าก้น
บทความแนะนำ ค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์ ตั้งแต่ฝากครรภ์จนถึงตอนคลอด ต้องจ่ายเท่าไร?
สำหรับการคลอดทารกท่าก้น นั้นเกิดจากการที่ทารกไม่ได้กลับเอาศีรษะ(ส่วนนำ)เลื่อนลงมาที่อุ้งเชิงกรานของแม่เพื่อรอพร้อมในการคลอด แต่ทารกกลับเคลื่อนตัวนำเอาก้นมาเป็นมาส่วนนำในการจะคลอดออกมาแทน ซึ่งจะเรียกลักษณะการคลอดแบบนี้ว่า “ทารกท่าก้น” (Breech presentation) ซึ่งถือเป็นท่าคลอดที่ผิดปกติ
การคลอดทารกท่าก้น ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการคลอดในทุกขั้นตอน เพราะทารกอาจไม่ปลอดภัยจากการคลอดได้ ซึ่งโดยมากแล้วจะใช้วิธีการผ่าคลอดมากกว่าจะให้คุณแม่เบ่งคลอดทารกท่าก้นออกมาเองค่ะ
อ่านต่อ สาเหตุที่ทำให้ทารกอยู่ในท่าก้น คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เพราะอะไรทารกจึงอยู่ในท่าก้น?
อย่างที่บอกไปค่ะว่าการคลอดที่ปกติของทารกในครรภ์จะต้องเคลื่อนเอาศีรษะ(ส่วนนำ)ลงมาเตรียมพร้อมรออยู่ที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่ ขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ตามนี้ค่ะ
- ช่วงอายุครรภ์ประมาณ 30 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะมีการเริ่มกลับตัวบ้างแล้ว แต่ยังเป็นการกลับตัวอยู่ในลักษณะท่าก้น หรือเป็นท่าที่เอาลำตัวนอนลักษณะขวางอยู่
- เมื่ออายุครรภ์เข้า 32 สัปดาห์ ทารกจะต้องมีการเคลื่อนตัวจากท่าก้น หรือท่านอนขวาง มายังท่ากลับเอาศีรษะมาเป็นส่วนนำอย่างชัดเจน ซึ่งคุณแม่จะทราบได้จากการที่ตรวจอัลตร้าซาวน์ หรือคุณหมอตรวจคลำผ่านบริเวณหน้าท้อง ก็จะรู้ได้ว่าตอนนี้ลูกอยู่ในท่าคลอดลักษณะใดแล้วนั่นเองค่ะ
Good to know… ทารกท่าก้น หมายถึง การที่ส่วนก้นหรือเท้าของทารกเป็นส่วนที่เคลื่อนลงไปใน อุ้งเชิงกราน หากเจ็บครรภ์คลอดจะเป็นส่วนที่คลอด ออกมาก่อน ทารกท่าก้นมี 3 แบบ คือ ท่าขัดสมาธิ (complete) ท่าก้นที่ขาเหยียดตรงขึ้นมาด้านหน้าลำตัว (frank) และท่าที่เท้าหรือหัวเข่าชี้ลง (incomplete) สาเหตุที่เกิดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงประกอบด้วย การตั้งครรภ์แฝด ภาวะน้ำคร่ำมากหรือน้อยเกินไป ภาวะ รกเกาะต่ำ เนื้องอกมดลูก เป็นต้น[1]
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกอยู่ในท่าก้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายเหตุปัจจัย นั่นคือ…
- ทารกที่อายุครรภ์น้อย (ทารกตัวเล็ก) พบว่าทารกอายุครรภ์ก่อน 28 สัปดาห์ มีโอกาสอยู่ในท่าก้น 22% และลดลงเหลือ 7% เมื่ออายุครรภ์ 32 สัปดาห์ และพบเพียง 1-3% ในทารกอายุครรภ์ครบกำหนด
- คุณแม่ตั้งครรภ์มีเนื้องอกมดลูก ทำให้ทารกไม่สามารถหมุนเป็นท่าศีรษะได้ตามปกติ
- รกเกาะบริเวณด้านล่างของมดลูก/ภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta previa) จึงขัดขวางการหมุนตัวของทารก
- ปริมาณน้ำคร่ำมากเกินไป ทำให้ทารกหมุนตัวได้มาก หรือปริมาณน้ำคร่ำน้อยเกินไป ทำให้ทารกหมุนตัวไม่ได้[2]
บทความแนะนำ แม่ท้องต้องตรวจอะไรบ้าง? ตั้งแต่ตั้งครรภ์ถึงการคลอดลูก
และถ้าถามว่าการที่ทารกในครรภ์อยู่ในท่าก้นแสดงถึงอันตรายอะไรที่จะเกิดขึ้นกับตัวทารกได้ด้วยหรือไม่ อย่างที่บอกไปว่าการคลอดท่าก้นไม่ใช่เรื่องปกติ การที่ลูกกลับตัวด้วยการเคลื่อนเอาก้นมาเป็นส่วนนำ อาจเป็นสัญญาณที่บอกให้รู้ว่าลูกอาจมีความผิดปกติจากการที่ศีรษะมีขนาดโตมากกว่าปกติก็ได้ค่ะ นอกจากนี้การทำคลอดทารกท่าก้น อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะคลอดได้นั่นคือการขาดออกซิเจนขณะคลอดของทารก
อ่านต่อ การดูแลสุขภาพหลังคลอด คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การดูแลสุขภาพหลังคลอด
จริงๆ การดูแลสุขภาพควรเริ่มมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพื่อเป็นการเตรียมร่างกายให้แข็งแรงก่อนมีลูก จากนั้นในระหว่างตั้งครรภ์ที่นอกจากจะต้องดูแลร่างกายด้วยอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การไปพบคุณหมอตามนัดเพื่อตรวจสุขภาพครรภ์ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของการคลอดทารกพิการได้
บทความแนะนำ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ละเลยเพียงนิด อันตรายถึงชีวิตได้
ส่วนสุขภาพหลังคลอดก็ยังต้องดูแลฟื้นฟูกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายภายในกลับมาแข็งแรงได้เหมือนเดิมอีกครั้ง ที่คุณแม่ควรต้องดูแลตัวเองดังนี้ค่ะ
- รักษาความสะอาดของแผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัดคลอด
- สังเกตความผิดปกติของน้ำคาวปลา หากพบความผิดปกติของ สี หรือกลิ่น ให้รีบไปพบคุณหมอทันที
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ควรงดอาหาร เครื่องดื่ม ประเภทหมักดอง แอลกอฮอล์ ของหวานๆ มันๆ
- หมั่นออกกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ เป็นต้น
- หาเวลาพักผ่อนนอนหลับเพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้น
- การมีเพศสัมพันธ์ ควรรอให้แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัดหายสนิทดีก่อน ถึงจะปลอดภัยต่อตัวคุณแม่มากกว่า
- ให้ลูกดูดนมแม่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายได้ผลิตน้ำนมแม่ได้ตามปกติ
- ควรต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะการตรวจภายใน เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์
การดูแลสุขภาพหลังคลอดของคุณแม่เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นหากพบความผิดปกติทางสุขภาพไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม ขอให้รีบไปตรวจเช็กที่โรงพยาบาลทันทีค่ะ และสำหรับคุณแม่ที่กังวลว่าลูกในท้องจะอยู่ในท่าเตรียมคลอด ที่เอาก้นเป็นส่วนนำ สามารถให้คุณหมอเช็กได้ในทุกระยะของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์เป็นต้นไป ก็จะทราบได้แล้วว่าทารกในครรภ์อยู่ในท่าลักษณะใด คุณแม่ที่กำลังใกล้คลอดในช่วงนี้ขอให้การคลอดลูกราบรื่นปลอดภัยทุกอย่างนะคะ …ด้วยความห่วงใยและใส่ใจ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
ไข้หลังคลอด สัญญาณร้ายที่ต้องพบแพทย์ทันที!!
ฝังเข็ม อยู่ไฟ ดูแลตัวเองหลังคลอด แผนไทย แผนจีน
อยู่ไฟหลังคลอด เข้ากระโจม ทับหม้อเกลือ วิธีโบราณ ช่วยดูแลสุขภาพคุณแม่หลังคลอดให้ดีขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
[1]สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
[2]รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ประนอม บุพศิริ สูตินรีแพทย์. ทารกท่าก้น เด็กท่าก้น. haamor.com
ภาพและ VDO : Pregnant Life