AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

รู้ยัง! นมแม่แยกชั้น แบบนี้ลูกกินได้

นมแม่แยกชั้น แบบนี้แม่จ๋าไม่ต้องตกใจ! ลูกกินได้ปกติ แถมคุณภาพดีไม่มีเปลี่ยน

นมแม่แยกชั้น แบบนี้แม่จ๋าไม่ต้องตกใจ! ลูกกินได้ปกติ แถมคุณภาพดีไม่มีเปลี่ยน

 

 

คุณแม่มือใหม่หลาย ๆ คนเป็นกันไหมคะ เวลาทำสต็อกนมแม่แล้วเจอพอจะเอาออกมาให้ลูกได้ทาน จากนมที่เป็นเนื้อสีเดียวกันกลับกลายเป็นชั้น ๆ เอาเสียนี่! ตอนแรกคิดว่าเสีย เผลอทิ้งไปบ้างก็มี … ช้าก่อนค่ะ! หากคุณแม่ยังไม่รู้แล้วกำลังจะหยิบน้ำนมตัวเองทิ้งอีก! เพราะวันนี้ทีมงาน Amarin Baby and Kids ได้เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากคุณแม่ ๆ ทุกท่านกันค่ะ ซึ่งก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของนมแม่กันก่อนดีกว่านะคะ

ลักษณะของนมแม่

ทราบไหมคะว่า น้ำนมแม่ที่เราเห็นกันเป็นชั้น ๆ นั้นเป็นเรื่องปกติที่ค่ะ ซึ่งน้ำนมแม่ที่เห็นนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะด้วยกันดังนี้ค่ะ

เป็นน้ำนมแรกที่มีลักษณะข้น มีสีเหลืองปนส้ม และมีออกมาประมาณ 2-3 วันแรกหลังคลอดลูก น้ำนมแรกนี้จะเต็มไปด้วยภูมิคุ้มกัน ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้เพื่อช่วยขับถ่ายขี้เทาออกมา และลดอาการตัวเหลืองที่อาจเกิดขึ้นกับลูกหลังคลอด เพื่อให้น้ำนมแม่มีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันแรกควรให้ลูกดูดนมกระตุ้นทุก 2-3 ชั่วโมง

คอลอสตรัม สำคัญอย่างไร?

ความสำคัญของน้ำนม colostrums คือ มีสารภูมิคุ้มกันในปริมาณสูง ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อในทารกแรกเกิด ซึ่งมีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อประมาณร้อยละ 10 ของการคลอด

  • ระยะน้ำนมปรับเปลี่ยน หรือTransitional milk

สีของน้ำนมระยะนี้จะมีสีขาวใสขึ้น ซึ่งเป็นส่วนผสมของหัวน้ำนมกับนมขาวปริมาณมากขึ้น ในระยะ 3-7 วัน หรืออาจยาวไปถึง 10 วันถ้าน้ำนมระบายออกไม่ดี คุณแม่ควรให้ลูกดูดกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 ชั่วโมง

  • ระยะน้ำนมแม่ หรือMature milk 

ประมาณ 7-10 วัน จนถึง 2 สัปดาห์หลังคลอดไปแล้วน้ำนมแม่จะมีสีขาวมากขึ้น  มีไขมันมาก และมีปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นด้วย คุณแม่ควรให้ลูกดูดนมจนเกลี้ยงเต้า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการคัดเต้าจนเต้านมอักเสบ

นมแม่แยกชั้น แบบนี้มีความหมายอย่างไร?

นมแม่แยกชั้น ตามที่เห็นนั้นมีความหมายมากกว่าที่คิดเลยละค่ะ

เวลาที่คุณแม่จะเอามาให้ลูกกินนั้นให้คุณแม่นำขวดน้ำนมมาแกว่งเบา ๆ ในน้ำอุ่น แต่ห้าเขย่าแรงนะคะ เพราะจะทำให้เม็ดเลือดขาวแยก และคุณภาพน้ำนมลดลงตามไปด้วย

นมแม่แยกชั้น แบบนี้ไม่เสียแล้วแบบไหนกันแน่ละที่เสีย … วิธีการสังเกตไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่ให้คุณแม่ชิมน้ำนมด้วยตัวเองว่า มีรสเปรี้ยว ส่วนกลิ่นเหม็นหืนเป็นเรื่องปกติ เกิดจากไขมันถูกย่อยสลายโดยน้ำย่อยไลเปสที่อยู่ในน้ำนม ยิ่งเก็บนานจะยิ่งเหม็นหืนมากนั่นเองค่ะ โดยคุณแม่สามารถลดกลิ่นหืนของน้ำนมได้โดย

1. เวลาเก็บนมใส่ถุง ให้ไล่อากาศออกให้มากที่สุด
2. วางถุงนอนราบ
3. หลังจากปั๊มเสร็จ ให้เอาเข้าตู้เย็นให้เร็วที่สุด
4. เวลาจะใช้ให้ย้ายจากช่องฟรีสลงมาช่องน้ำเย็นตอนกลางคืน ประมาณ 12 ชม.จะละลาย เทใส่ขวดให้กินแบบเย็น ๆ ได้เลย ไม่ได้ทำให้ปวดท้องหรือท้องเสีย แต่ถ้าลืมย้ายแนะนำให้คุณแม่แช่ถุงนมในน้ำอุ่นให้ละลาย แล้วกินแบบเย็นได้เลย เพราะนมยิ่งอุ่น จะยิ่งเหม็นหืน ห้ามแช่ในน้ำร้อนหรือใส่ไมโครเวฟโดยเด็ดขาดค่ะ

แต่ถ้าหากลูกไม่ยอมกินนมที่มีกลิ่นเหม็นหืนให้คุณแม่แก้ไขโดยหลังจากปั๊มนมได้แล้ว ให้นำนมไปต้มให้นานพอที่จะเห็นฟองอากาศปุด ๆ อยู่ด้านข้างหม้อ แล้วดับไฟทันที จะไม่นานจนถึงขั้นเดือดทั้งหม้อ แล้วนำนมไปเข้าตู้เย็นแช่แข็งทันที วิธีนี้จะทำให้น้ำย่อยไขมันทำงานไม่ได้ จึงไม่เกิดกลิ่นเหม็นหืน ถึงแม้ว่าจะเก็บไว้นานเพียงใดก็ตาม คำถาม คือ แล้วการต้มนมแบบนี้จะเสียคุณค่าไหม คำตอบ คือ คุณค่าที่ยังเหลืออยู่และมากมายแน่นอนเมื่อเทียบกับนมผง

ขอบคุณที่มา Breastfeeding Thai

อ่านต่อบทความอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids