คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่บางครั้งอาจจะรู้สึกถึงอาการ มดลูกบีบตัวบ่อย และสงสัยว่าผิดปกติหรือไม่ จะเกิดอันตรายต่อลูกน้อยในท้องไหม หรือนี่เป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังจะคลอด เรามาทำความรู้จักกันค่ะว่า มดลูกบีบตัวบ่อย เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ของคุณแม่อย่างไรบ้าง
มดลูกบีบตัว คืออะไร
อาการมดลูกบีบตัว คือ การที่กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวประมาณ 30- 60 วินาที บางครั้งอาจจะถีง 2 นาทีขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ อาการมดลูกบีบตัวมีตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์ระยะแรก เพียงแต่คุณแม่อาจจะไม่ได้สังเกต คุณแม่บางคนอาจจะเพิ่งรู้สึกถึงมดลูกบีบตัวในช่วงตั้งครรภ์ระยะที่สอง
อาการมดลูกบีบตัว เป็นอย่างไร
คุณแม่อาจจะปวดบริเวณตำแหน่งท้องน้อยซึ่งเป็นตำแหน่งที่มดลูกตั้งอยู่ หรือรู้สึกปวดที่บริเวณขาหนีบเป็นพักๆ แล้วก็หาย อาการมดลูกบีบตัวมักจะมาไม่ถี่และไม่สม่ำเสมอ และไม่มีอาการเจ็บปวด เพียงแต่บางครั้งคุณแม่อาจจะรู้สึกไม่ค่อยสบายเนื้อสบายตัวค่ะ
อาการมดลูกบีบตัว อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ แต่คุณแม่มักสังเกตอาการเหล่านี้ได้ง่ายในช่วงกลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายขาดน้ำ กระเพาะปัสสาวะเต็ม หรือมีเพศสัมพันธ์ค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ มดลูกบีบตัว กับ เจ็บท้องคลอด ต่างกันอย่างไร คลิกหน้า 2
อาการมดลูกบีบตัว กับ เจ็บท้องคลอด ต่างกันอย่างไร
ในช่วงระยะใกล้คลอด อาการมดลูกบีบตัวอาจจะมีมากขึ้นและเริ่มมีอาการเจ็บปวดแต่ยังไม่ถี่และไม่สม่ำเสมอและปวดไม่นาน ที่คุณแม่มีอาการเช่นนี้ เพราะปากมดลูกเริ่มอ่อนตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจจะคิดว่าเป็นสัญญาณคลอด แต่อันที่จริงอาจเป็นเพียงอาการเจ็บท้องหลอกค่ะ อาการเจ็บท้องคลอดต้องปวดเป็นระยะสม่ำเสมอ ปวดรุนแรงเพิ่มขึ้นและนานขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
แต่ว่าบางครั้งอาการมดลูกบีบตัว และอาการคลอดก่อนกำหนด มักจะแยกออกจากกันได้ยาก ดังนั้น หากอายุครรภ์ของคุณแม่ยังไม่ถึงสัปดาห์ที่ 37 และคุณแม่รู้สึกถึงสัญญาณ มดลูกบีบตัวบ่อย และสม่ำเสมอ คุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจและควรรีบไปพบคุณหมอนะคะ เพราะนั่นอาจจะเป็นอาการคลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ
จะบรรเทาความเจ็บปวดจากมดลูกบีบตัวอย่างไรได้บ้าง
แม้ว่าอาการมดลูกบีบตัวจะไม่สร้างความเจ็บปวดให้แก่คุณแม่ แต่ก็สร้างความไม่สบายตัวไม่ใช่น้อย คุณแม่อาจจะลองทำตามวิธีต่อไปนี้ เพื่อลดความรู้สึกอึดอัดจากมดลูกบีบตัวดูค่ะ
- เปลี่ยนกิจกรรมหรืออิริยาบถ บางครั้งการเดินก็ช่วยบรรเทาอาการมดลูกบีบตัวได้ แต่บางครั้งการนอนพักกลับช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีกว่า เพราะฉะนั้นคุณแม่อาจจะต้องลองปรับเปลี่ยนท่าทางที่ตนเองสบายดูค่ะ
- ดื่มน้ำมากๆ เนื่องจากบางครั้งอาการมดลูกบีบตัวเกิดจากร่างกายขาดน้ำค่ะ
- หายใจเข้ายาวๆ และลึก แม้ว่าวิธีนี้อาจจะไม่ทำอาการมดลูกบีบตัวหายไป แต่จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นและรับมือกับอาการอึดอัดนี้ได้ค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ อาการมดลูกบีบตัว แบบไหนที่ควรไปพบแพทย์ คลิกหน้า 3
อาการมดลูกบีบตัว แบบไหนที่ควรไปพบแพทย์
หากอายุครรภ์ของคุณแม่ยังไม่ถึง 37 สัปดาห์ และมดลูกบีบตัวเป็นจังหวะ สม่ำเสมอและรู้สึกปวดรุนแรง หรือถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ คุณแม่ควรจะรีบไปพบคุณหมอนะคะ เพราะคุณแม่อาจจะคลอดก่อนกำหนดค่ะ
- ปวดท้องน้อยหรือมีอาการเหมือนปวดประจำเดือน
- มีการบีบตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอ (มากกว่า 6 ครั้งใน 1 ชั่วโมง หรือทุก 10 นาที แม้จะไม่เจ็บปวด ก็ตาม)
- มีเลือดออกทางช่องคลอด
- มีตกขาวเพิ่มขึ้น
- ตกขาวมีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น มีสีเหมือนเลือด เป็นต้น
- รู้สึกมีแรงกดที่บริเวณเชิงกรานหรือท้องน้อย เหมือนว่าทารกพยายามดันหัวออกมา
- ปวดหลังช่วงหลัง โดยเฉพาะถ้าจู่ๆ ปวดตอนที่มีอาการมดลูกบีบตัวสม่ำเสมอ
หากคุณแม่ตั้งครรภ์เกิน 37 สัปดาห์แล้ว ควรรีบไปพบคุณหมออย่างเร่งด่วนถ้ามีอาการมดลูกบีบตัวที่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ นานประมาณ 30-90 วินาที และปวดบ่อยและมากขึ้นๆ เรื่อย เพราะนั่นหมายความว่าคุณแม่กำลังจะคลอดค่ะ
คุณแม่ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที หากมีอาการต่อไปนี้ค่ะ
- น้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตก แม้ว่าจะไม่มีอาการปวดเลยก็ตาม
- เลือดออกทางคลอด (ไม่ใช่เพียงแค่เลือดออกกระปริบกระปรอย)
- มดลูกบีบตัวทุก 5 นาที หรือน้อยกว่านั้น
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
อ่านบทความจบแล้ว หากคุณแม่มีอาการมดลูกบีบตัวที่ดูแล้วไม่มีอะไรผิดปกติ คุณแม่ก็สบายใจได้แล้วนะคะ เพราะ มดลูกบีบตัวบ่อยเป็นเรื่องปกติของการตั้งครรภ์ค่ะ แต่หากคุณแม่มีอาการมดลูกบีบตัวบ่อยผิดปกติที่ตรงกับอาการดังกล่าวข้างต้น คุณแม่อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบคุณหมอนะคะ
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ คลิก
ฝากสเต็มเซลล์ ให้ลูกหลังคลอดดีไหม?
7 สัญญาณ ลูกกลับหัว ที่บอกให้รู้ว่าใกล้คลอดแล้ว!
ที่มา: americanpregnancy.org
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่