ก่อนหน้านี้ เราเริ่มตื่นตัวกับสาร BPA ที่อยู่ในขวดนมเด็ก ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายกับเด็กทารกที่ได้รับสารนี้เข้าไป แต่สำหรับเด็กที่อยู่ในครรภ์ล่ะ หากแม่ท้องได้รับสาร BPA สารนี้จะถูกส่งต่อเข้าไปยังทารกในครรภ์หรือไม่?
อันตรายจากสาร BPA ในขวดน้ำดื่ม ที่แม่ท้องต้องระวัง
ในขณะที่ตั้งครรภ์ นอกจากการทานอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การดื่มน้ำให้เพียงพอ ก็สำคัญไม่น้อยกว่าการทานอาหาร เพราะน้ำ มีส่วนสำคัญในการป้องกันไม่ให้แม่ท้องเกิดภาวะขาดน้ำ และยังช่วยให้ลูกท้องเจริญเติบโตอีกด้วย แต่ในสมัยนี้ที่แม่ท้องต้องทำงานนอกบ้าน ส่วนใหญ่ก็จะซื้อน้ำดื่มที่วางขายกันในท้องตลาดมาทาน เราได้ยินกันมาว่าขวดหรือบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกบางชนิดนั้น สามารถก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กทารกและเด็กเล็กได้ ทำให้แม่ท้องหลาย ๆ คนเกิดคำถามว่า การดื่มน้ำจากขวดพลาสติกนั้น ปลอดภัยหรือไม่? คำตอบคือ การดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ไม่มีสาร BPA นั้นปลอดภัยค่ะ แม่ท้องสามารถดื่มได้ ไม่ต้องกังวลใด ๆ
สารBPA คืออะไร?
BPA(Bisphenol A) เป็นสารเคมีที่พบในบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ทำมาจากพลาสติก สารนี้นิยมใช้กันทั่วไปเพื่อทำให้ขวดพลาสติก เช่น ขวดนม มีความใส โดยสารเคมีชนิดนี้จะถูกกรองออกและแทรกซึมลงในของเหลวและอาหารที่บรรจุอยู่ภายในได้เมื่อใช้งาน สาร Bisphenol A จำนวนเพียงเล็กน้อย มีผลทำให้ก่อมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การเริ่มเป็นหนุ่มสาวเร็วเกินไป โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไฮเปอร์ (hyperactivity) เป็นต้น โดยบางประเทศ ได้ประกาศให้สาร Bisphenol A เป็นสารเคมีอันตรายต้องห้าม
สารBPA ทำอันตรายกับลูกในท้องได้อย่างไรบ้าง
สารBPA นี้สามารถทำอันตรายกับทั้งแม่ท้องและลูกในท้องค่ะ สารชนิดนี้อาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพของแม่ท้องและลูกในท้อง ดังต่อไปนี้
- BPA เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร
- และยังเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้อีกด้วย
- สารนี้ส่งผลกระทบต่อลูกในท้อง ทำให้ลูกในท้องไม่โต
- เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในแม่ท้อง
- เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการครรภ์เป็นพิษ
- จากการทดลองในสัตว์ สารBPA เป็นสาเหตุให้สูญเสียปลายประสาทกระดูกสันหลังและสมอง ได้ถึง 70-100% เนื่องจากสารนี้เข้าไปกดฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนแอนโดรเจน
- ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ควรดื่มน้ำจากขวดแบบไหนปลอดภัยที่สุด
ควรดื่มน้ำจากขวดแบบไหนปลอดภัยที่สุด
ภาชนะต่าง ๆ ที่ทำจากพลาสติก หากสังเกตดูที่ใต้ภาชนะนั้น ๆ แล้ว เราจะเห็นสัญลักษณ์ตามรูปด้านบน พร้อมตัวเลขกำกับ นั่นเป็นเพราะพลาสติกถูกแบ่งออกเป็น 7 ชนิดด้วยกัน โดยแบ่งตามรูปแบบความแข็งแรงและลักษณะการใช้งาน
พลาสติกที่ควรเลี่ยงเพราะเสี่ยงต่อสารBPA ได้แก่
- PVC หรือ Polyvinyl Chloride พลาสติกพีวีซีมักใช้เป็นท่อประปา เฟอร์นิเจอร์ ขวดน้ำ แผ่นฟิล์มถนอมอาหาร ภาชนะบรรจุน้ำสลัดและน้ำยาซักล้าง
- PS หรือ Polystyrene มักถูกนำมาใช้ผลิตถ้วย ชาม ถาดอาหาร ภาชนะบรรจุอาหารกลับบ้าน
- Other หมายถึงพลาสติกชนิดอื่น ๆ มักเป็นพวก Polycarbonate ซึ่งใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร ทัพเพอร์แวร์ แกลลอนน้ำดื่ม รวมทั้งใช้ในการเคลือบด้านในของกระป๋องบรรจุอาหาร
พลาสติกที่ปลอดภัยไร้สาร BPA ได้แก่
- PET (PETE) หรือ Polyethylene Terephthalate พลาสติก PET เป็นขวดใสใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลมขนาด 2 ลิตร ขวดน้ำมันพืช และกระปุกเนยถั่ว
- HDPE หรือ High Density Polyethylene เป็นขวดสีขาว ทึบแสง หรือสีทึบอื่น ๆ มักใช้บรรจุน้ำดื่ม นม ยาเม็ด ผงซักล้าง น้ำยาล้างห้องน้ำ แป้งฝุ่น
- LDPE หรือ Low Density Polyethylene มักใช้เป็นถุงซักแห้ง ภาชนะเก็บอาหาร สารเคลือบกระป๋อง
- PP หรือ Polypropylene มักใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร อาหารทารก ฝาขวด หลอดดูดน้ำ
ขวดน้ำที่ขายตามท้องตลาดทั่ว ๆ ไป มักจะเป็นขวดพลาสติกประเภท PET ซึ่งขวดประเภทนี้ไม่มีสาร Bisphenol A ปนเปื้อนอยู่เลย แต่ก็ใช่ว่าจะทานน้ำจากขวด PET โดยไม่มีข้อจำกัดนะคะ เพราะการใช้ขวดประเภทนี้อย่างไม่ถูกวิธี ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ขวดน้ำดื่มตากแดด/นำมาใช้ซ้ำ อันตรายไหม? และวิธีป้องกันไม่ให้BPA เข้าสู่ร่างกาย
ขวดน้ำดื่มตากแดด อันตรายไหม?
นำขวด PET มาใช้ซ้ำได้หรือไม่?
ตามที่วัตถุประสงค์ในการใช้งานขวดน้ำชนิดนี้คือ “ใช้ครั้งเดียว” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้เลย ตามที่ผู้เชี่ยวชาญสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทำวิจัยศึกษาวิจัยเรื่องนี้ โดยเรียกเก็บขวด PET จากทั่วประเทศยุโรปมาศึกษา แต่ผลการศึกษาไม่พบว่าขวด PET ที่มีรอยบุบ ร้าว จะมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปนเปื้อนแต่อย่างใด ดังนั้น จึงสามารถนำมาใช้ซ้ำได้ โดยต้องล้างให้สะอาด และทิ้งไว้ให้แห้งก่อนนำมาใช้ใหม่ อย่างไรก็ตาม หากใช้ไปนาน ๆ แล้วต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงของขวด เช่น สีเปลี่ยนไป มีความขุ่นมากขึ้น มีรอยขีดข่วนมาก หรือ เปราะ ปริ แตก ไม่ควรนำมาใช้ซ้ำอีกเพราะพลาสติกที่ใช้ทำขวดเริ่มเสียสภาพ เพราะแบคทีเรียอาจปนเปื้อนตามรอยปริของขวดทำให้เกิดการเจริญเติบโตในขวดน้ำได้
วิธีป้องกันไม่ให้BPA เข้าสู่ร่างกาย
แม่ ๆ คงจะหายกังวลใจกันแล้วว่าการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกใสที่มีขายกันตามท้องตลอดนั้น ไม่ได้มีBPA ปนเปื้อนอยู่ ดังนั้น แม่ ๆ จึงสามารถดื่มน้ำจากขวดได้อย่างสบายใจ แต่หากต้องดื่มน้ำจากภาชนะชนิดอื่น สิ่งที่แม่ท้องควรทำคือ ดูที่ก้นภาชนะว่าทำจากพลาสติกชนิดใด มีป้ายBPA Free หรือไม่ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้แม่ท้องและลูกในท้องปลอดภัยจากสารBPA แล้วค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ ได้ที่นี่
เบคอน อาหารปลิดชีวิตคนจากมะเร็งได้พอ ๆ กับบุหรี่
ประโยชน์ของการดื่มน้ำอุ่น ที่ดีต่อสุขภาพคุณแม่
มะม่วงหาวมะนาวโห่ 1 ใน ผลไม้ที่คนท้องห้ามกิน เสี่ยงแท้งลูก
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.momjunction.com, www.thaihealth.or.th, www.greenshopcafe.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่