ปกติแล้วการเย็บแผลผ่าคลอด มักจะใช้ไหมทั้งแบบละลายและไม่ละลายในการเย็บ โดยแผลจะถูกเย็บปิดสนิทอยู่ใต้สะดือยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แต่ในปัจจุบันนี้ มีวิธีการเย็บแผลหลากหลายแบบด้วยกัน รวมถึงการใช้ แม็กเย็บแผล
แม็กเย็บแผล ทางเลือกใหม่สำหรับแม่ผ่าคลอด
โดยทั่วไปแล้ว การผ่าตัดศัลยกรรมจะทำให้เกิดรอยแผลแก่ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด เช่นเดียวกับแม่ท้องส่วนใหญ่ที่ผ่าคลอด โดยมักปรากฏรอยเย็บแผลยาว 4-6 นิ้ว เป็นแนวนอนตามแนวขอบกางเกงชั้นในหรือแนวตั้งใต้สะดือ ซึ่งในปัจจุบัน ได้มีเทคนิคในการเย็บปิดแผลผ่าตัดอยู่หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเย็บด้วยไหมละลาย ไหมดำ การใช้ลวดเย็บ (staples หรือ แม็กเย็บแผล) หรือการใช้กาวผิวหนัง skin glue ซึ่งวัสดุต่าง ๆ ที่ว่ามานี้ ล้วนทำด้วยวัสดุที่มีปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อน้อย โดยมุ่งเน้นไปที่การป้องกันแผลผ่าตัดจากการติดเชื้อ ความถนัดและความสะดวกของแพทย์ในการเย็บแผลเป็นหลัก
การเย็บแผลแบบแม็ก แม้จะดูน่ากลัวในตอนแรก แต่ด้วยวัสดุในการเย็บแผลที่แข็งแรง มีปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อน้อย แต่สามารถเย็บได้เร็ว สะดวกกว่าการเย็บแผลแบบไหม ไม่เจ็บตอนถอด มีความแข็งแรงทนทาน ไม่หลุดง่าย ทำให้แผลสวย ก็ทำให้ทางเลือกในการเย็บแผลนี้ น่าสนใจขึ้นมาไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะคะ มาดูข้อดีข้อเสียของการเย็บแผลแบบต่าง ๆ กันดีกว่าค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ตารางเปรียบเทียบการเย็บแผล แม็กเย็บแผล ไหมเย็บแผล และแบบอื่น ๆ
ตารางเปรียบเทียบการเย็บแผล
วิธีการเย็บแผล | ชนิดของแผล | สามารถเย็บแผลได้ขณะที่มีเลือดไหล | สามารถเย็บแผลบริเวณที่มีผมหรือขน หรือแผลที่มีความชื้น | สามารถเย็บแผลได้ในบริเวณที่มีความตึงผิว เช่น มือ เท้า ข้อต่อ | ความเจ็บ | ความรวดเร็วในการเย็บแผล | ความยาก/ง่ายในการเย็บแผล |
ไหมเย็บแผล | แผลผ่าตัด, ผิวหนังฉีกขาด | ได้ | ได้ | ได้ | +++ | ช้า | +++ |
แม็กเย็บแผล | แผลบริเวณศรีษะ, แผลผ่าตัด, แผลที่มีลักษณะเป็นทางยาว | ได้ | ได้ | ได้ | +++ | เร็ว | ++ |
กาวเย็บแผล | แผลในผู้ป่วยที่มีผิวหนังบอบบาง เช่น ผู้สูงอายุ | ไม่ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ | ไม่เจ็บ/+ | เร็ว | + |
เทปเย็บแผล | แผลฉีกขาด, แผลผ่าตัด, แผลในผู้ป่วยที่มีผิวหนังบอบบาง, แผลในผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมือในการเย็บแผล เช่น เด็กเล็ก | ไม่ได้ | ไม่ได้ | ไม่ได้ | ไม่เจ็บ/+ | เร็ว | + |
การเย็บแผล ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ต่างมุ้งเน้นในการรักษาแผลและการดูแลแผลไม่ให้ติดเชื้อเป็นสำคัญ ดังนั้นแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาถึงวิธีการเย็บแผลที่เหมาะสมกับผู้รับการเย็บแผลที่สุด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ การดูแลแผลผ่าคลอด และการป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าคลอด
การดูแลแผลผ่าคลอด
การดูแลแผลผ่าคลอด หลังคลอดนั้นมีความสำคัญ เพราะอาจจะเกิดการติดเชื้อได้เสมอ ดังนั้น ทีมงานมีวิธีดูแลแผลผ่าคลอด ดังนี้
- ไม่ยกของหนักในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังผ่าคลอด
- หมั่นล้างแผลและทำความสะอาดผิวอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผิวบริเวณเชิงกราน
- ล้างมือก่อนสัมผัสแผลหรือทำแผลทุกครั้ง
- ไม่ดึงปลายไหมเย็บแผลที่โผล่ออกมา ควรแจ้งแพทย์ให้เล็มปลายไหมให้ เพื่อป้องกันไหมเย็บแผลเกี่ยวเสื้อผ้า
- อาบน้ำฝักบัวแทนการแช่น้ำในอ่าง จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้
- อาบน้ำด้วยสบู่ที่มีฤทธิ์อ่อน และไม่ถูสบู่ เจลอาบน้ำ หรือทาแป้งลงบนแผลโดยตรง
- ซับแผลให้แห้งด้วยผ้าขนหนูสะอาดเสมอ
- สวมเสื้อผ้าและกางเกงชั้นในที่หลวม ไม่รัดแน่น เพื่อป้องกันการเสียดสีที่แผล
- ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยากินหรือยาทาสำหรับรักษาแผลผ่าคลอดทุกครั้ง
- หมั่นเช็ดบริเวณผิวหนังที่เป็นรอยพับเหนือแผลผ่าตัดให้แห้งอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้บริเวณดังกล่าวชื้นเหงื่อ
- ควรพบแพทย์ทันทีในกรณีที่พบสัญญาณการเกิดแผลติดเชื้อ เช่น เกิดรอยแดงที่แผล มีไข้ขึ้นสูง เป็นต้น
การป้องกันการติดเชื้อของแผลผ่าคลอด
จากการศึกษาวิจัยพบว่าโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดพบได้ประมาณร้อยละ 0.5-2 ของการผ่าตัดทั้งหมด และอาจก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้มาก บางครั้งอาจเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นคุณแม่จึงควรป้องกันการติดเชื้อตามวิธี ดังนี้
- ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์ รวมทั้งซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลแผลให้เข้าใจ
- หากได้รับยาปฏิชีวนะ ควรรับประทานจนครบกำหนด ไม่หยุดยาหรือลดปริมาณยาเองโดยปราศจากคำแนะนำจากแพทย์
- ทำความสะอาดและเปลี่ยนผ้าพันแผลอย่างสม่ำเสมอ
- ควรซักถามแพทย์เกี่ยวกับคำแนะนำในการอุ้มและให้นมบุตร เพื่อเลี่ยงแผลถูกกดทับขณะอุ้มหรือให้นม
- ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นหรือทาครีมบริเวณแผลผ่าคลอด
- หลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวหนังบริเวณแผลผ่าตัดเสียดสีกัน
- ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายทันที หากรู้สึกไม่สบายหรือมีไข้
- รีบไปพบแพทย์ทันที ในกรณีที่สงสัยว่าแผลติดเชื้อ
แม็กเย็บแผล เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของแม่ที่คลอดโดยการผ่าคลอด เมื่อเห็นถึงข้อดีข้อเสียของการเย็บแผลแบบต่าง ๆ แล้ว ลองนำทางเลือกนี้ ไปปรึกษาคุณหมอถึงความเป็นไปได้ในการเย็บแผลแบบที่ต้องการก่อนคลอดนะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ ได้ที่นี่
ข้อควรระวังและป้องกันของ “แผลผ่าคลอด”
ผ่าคลอด ภาวะแทรกซ้อน เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้!
8 วิธีดูแลรักษาแผลนูนแดง หลังผ่าคลอด ให้สวยเรียบ
ข้อมูลอ้างอิง : www.med.cmu.ac.th, www.bangkokhealth.com, www.pobpad.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่